Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รายการ ต้นรู้ โลกรู้ BY : Anurak News
•
ติดตาม
18 เม.ย. เวลา 01:55 • ข่าวรอบโลก
ดิจิทัลวอลเล็ต ไม่มีอีกเเล้ว โครงการไม่ตรงปก ของรัฐบาลเพื่อไทยยุค นายกเศรษฐา ทวีสิน
ความหมายของ ดิจิทัลวอลเล็ต
Digital Wallet หรือ กระเป๋าสตางค์ดิจิทัล หมายถึง ระบบหรือแอปพลิเคชันที่ทำงานบนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อใดๆ โดยทำหน้าที่เสมือนกระเป๋าเงินจริง โดยผู้ใช้สามารถเก็บเงินสดในรูปแบบดิจิทัล รวมถึงข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเดบิต และข้อมูลการชำระเงินอื่นๆ ได้อย่างปลอดภัย ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ
เช่น การชำระค่าสินค้าออนไลน์ การโอนเงินให้กับผู้อื่น และการชำระค่าบริการต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ลดความจำเป็นในการพกกระเป๋าสตางค์จริงโดยจัดเก็บข้อมูลการชำระเงินของผู้บริโภคทั้งหมดอย่างปลอดภัยและกะทัดรัด ที่ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินสะดวกและรวดเร็วขึ้น
โดยเฉพาะในยุคที่การใช้จ่ายแบบไร้เงินสดกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างในทุกวันนี้
กระเป๋าสตางค์ดิจิทัล ใช้ความสามารถไร้สายของอุปกรณ์พกพา เช่น บลูทูธ, WiFi และสัญญาณแม่เหล็ก เพื่อส่งข้อมูลการชำระเงินอย่างปลอดภัยจากอุปกรณ์ของคุณไปยังจุดขายที่ออกแบบมาเพื่ออ่านข้อมูลและเชื่อมต่อผ่านสัญญาณเหล่านี้ โดยปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ใช้โดยอุปกรณ์พกพาและกระเป๋าสตางค์ดิจิทัล
ได้แก่
- QR Code : รหัสตอบสนองด่วนคือบาร์โค้ดเมทริกซ์ที่จัดเก็บข้อมูล คุณใช้กล้องของอุปกรณ์และระบบสแกนของกระเป๋าสตางค์เพื่อเริ่มการชำระเงิน
NFC (การสื่อสารแบบระยะใกล้) : NFC เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้สมาร์ทดีไวซ์สองเครื่องเชื่อมต่อและถ่ายโอนข้อมูลโดยใช้สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้สองอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้กันจึงจะเชื่อมต่อได้
- การส่งสัญญาณแม่เหล็กที่ปลอดภัย (MST) : เทคโนโลยีนี้ใช้สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ Samsung เป็นหลัก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่เครื่องอ่านบัตรแม่เหล็กใช้อ่านบัตรของคุณเมื่อคุณรูดบัตรผ่านช่องที่จุดขาย โทรศัพท์ของคุณจะสร้างฟิลด์เข้ารหัสนี้ที่จุดขายสามารถอ่านได้ Samsung ได้ยกเลิกคุณสมบัติ MST สำหรับโทรศัพท์ Samsung ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป เพื่อมุ่งเน้นไปที่ NFC ซึ่งแพร่หลายมากขึ้น
- ข้อมูลบัตรที่คุณเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์และเลือกใช้ในการทำธุรกรรมจะถูกส่งจากอุปกรณ์ของคุณไปยังเครื่องปลายทางที่เชื่อมต่อกับตัวประมวลผลการชำระเงิน จากนั้น การชำระเงินจะถูกส่งผ่านเครือข่ายบัตรเครดิตและธนาคารเพื่อทำการชำระเงินผ่านตัวประมวลผล เกตเวย์ ผู้รับบัตร หรือบุคคลที่สามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมบัตรเครดิตและบัตรเดบิตนั่นเอง
รัฐบาลนายกเศรษฐานำเสนอเงินตามสิทธิประโยชน์
นายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มว่าการดำเนินนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) รวมทั้งนโยบายต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาศูนย์ข้อมูลภาครัฐ การเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนและการประกอบอาชีพนั้น รัฐบาลให้ความสำคัญและคำนึงถึงการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ จะดำเนินนโยบายการคลัง โดยบริหารค่าใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังของประเทศอย่างเคร่งครัด
เกณฑ์ในการรับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
เดิมทีพรรคเพื่อไทยโฆษณาหาเสียงว่าจะแจกเงินดิจิทัลให้กับประชาชนทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปโดยไม่ต้องลงทะเบียน ซึ่งมีคนได้รับราว 55-56 ล้านคนทั่วประเทศ แต่เมื่อเกิดข้อถกเถียงกันถึงวิธีการแจกจ่ายเงิน ซึ่งท้วงติงถึงการแจกจ่ายเงินแบบหว่านแหไม่เข้าเป้า ก็จำต้องเริ่มคิดระบบลงทะเบียนคัดกรองสิทธิของผู้ที่ได้รับ
ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปที่ประสงค์จะรับเงินดิจิทัลจะต้องลงทะเบียนก่อน และจะไม่ได้รับทุกคน เพราะผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท/ปี (เทียบเป็นเงินเดือนราว 70,000 บาท/เดือน) จะถูกตัดออก ซึ่งรัฐบาลอาจจะตรวจได้เฉพาะผู้ที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่กรมสรรพากรเท่านั้น
นอกจากนี้ ผู้ที่มีเงินฝากในบัญชีเกินกว่า 500,000 บาท จะไม่เข้าข่ายได้รับเงินดิจิทัลเช่นกัน แต่เงินฝากนี้นับเฉพาะบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐ แต่ถ้าหากเก็บออมด้วยวิธีอื่น เช่น กองทุน หุ้น ทอง ก็ยังสามารถขอรับสิทธิได้อยู่
การลงทะเบียนคัดกรองนี้มีลักษณะ ‘ขอไปที’ ไม่น้อย คือมีการคัดกรองเพื่อตอบโจทย์เสียงท้วงติงจากฝ่ายต่างๆ แต่ไม่ได้ตั้งใจจะคัดกรองคนมากนัก โดยเกณฑ์ที่ว่ามานี้ ทำให้กลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับเงินลดลงเป็นประมาณ 50 ล้านคน เสมือนว่าคัดคนรวยสุด 10% ที่ยื่นข้อมูลเข้าระบบออกไปเพียงแค่นั้น
ฝั่งร้านค้าเองก็ถูกคัดกรองด้วยเช่นกัน โดยผู้ที่จะรับเงินจากประชาชนได้จะต้องดูเป็นร้านค้า ‘ขนาดเล็ก’ (ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด) อย่างไรก็ตามร้านเล็กเหล่านี้สามารถนำเงินไปเซื้อของกับใครต่อก็ได้ และผู้ที่จะแปลงเงินดิจิทัลเป็นเงินสดได้นั้นจะต้องเป็นร้านค้าซึ่งอยู่ในระบบภาษี และได้รับเงินดิจิทัลมาจากร้านค้าอื่นอีกทีหนึ่ง
เงื่อนไขผู้ที่จะได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
ได้ 3: ได้ ‘ลมพัดวูบ’ แทนพายุหมุนทางเศรษฐกิจ
นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต แรกเริ่มเดิมทีระบุว่าจะเป็นนโยบาย ‘ปั๊มหัวใจกระตุ้นเศรษฐกิจ’ ต่อมาก็ใช้คำว่า ‘พายุหมุนทางเศรษฐกิจ’ ที่ทำให้เงินหมุนเศรษฐกิจเติบโตกระจายไปในหลายพื้นที่ แต่แทนที่จะได้พายุหมุน สังคมไทยอาจจะได้เพียงลมพัดวูบหนึ่งให้พอรู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้นสั้นๆ เท่านั้น
เดิมทีพรรคเพื่อไทยเคยคาดการณ์ว่าเงินที่ใส่ลงไปนั้นจะหมุนเวียนให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้น 2-3 เท่าของต้นทุน อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากประสบการณ์การใช้เงินโอนทั่วโลกแล้วจะพบว่า การได้ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจสูงกว่าเงินที่เติมลงไปนั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก โดยในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังทรงตัว-ฟื้นตัว มักจะให้ผลลัพธ์ได้ไม่ถึงต้นทุน และหากมองตามเครื่องมือการใช้จ่าย การลงทุนโดยภาครัฐและการบริโภคใช้สอยโดยตรงของรัฐจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่า ขณะที่การโอนเงินให้ประชาชนมักจะได้ผลน้อยที่สุด
สิ่งที่ใช้ไม่ได้ คือ รายละเอียด ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท
สาเหตุของคำว่าพายุหมุนทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยยิ่งมีบริบทที่ไม่เอื้อต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะ
1) ประชาชนอาจไม่ได้ใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น 10,000 บาทเต็มอย่างที่ใส่เงินเข้าไป โดยอาจต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายหรือนำเงินสดไปใช้จ่ายหนี้
(ซึ่งปัจจุบันหนี้ครัวเรือนของไทยมีขนาดใหญ่มากกว่า 90% ของ GDP แล้ว)
ความคาดหวังให้เศรษฐกิจเติบโตนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานว่ามีการใช้จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่การใช้เงินดิจิทัลทดแทนเงินสดเพียงเท่านั้น
2) ต่อให้มีการใช้เงินมากขึ้นก็อาจไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้มากนัก เนื่องด้วยเป็นเศรษฐกิจเปิดที่มีการนำเข้าสินค้ามาก เงินเมื่อหมุนไปสู่การซื้อวัตถุดิบหรือสินค้ามาขายต่อ ก็จะรั่วไหลไปยังต่างประเทศ แทนที่จะเกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ก็อาจจะไปหมุนในประเทศอื่นแทน งานศึกษาในอดีตพบว่ามาตรการเงินโอนของไทยมักจะมีตัวคูณทางการคลังเพียง 0.4 – 0.9 เท่า
สกุลเงินดิจิจทอล
รู้จักกับเงินสกุลดิจิทัล (Getting to Know Cryptocurrency)
ข่าวเทคโนโลยีในต้นปีนี้ คงไม่มีอะไรที่เด่นเกินเรื่องของเงินสกุลดิจิทัล ซึ่งมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก ว่าเงินสกุลดิจิทัลคืออะไร มีเงินสกุลดิจิทัลอะไรบ้าง เงินเหล่านี้น่าเชื่อถือหรือไม่ โลกมีการกำกับดูแลเงินสกุลดิจิทัลหรือไม่อย่างไร และประเทศไทยมีทิศทางอย่างไรต่อเรื่องเงินสกุลดิจิทัล วันนี้เราจึงมาทำความรู้จักกับเงินสกุลดิจิทัลกัน
เงินสกุลดิจิทัล คือ อะไร
ในปัจจุบันยังเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากสาธารณชนโดยส่วนใหญ่เกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัล ทั้งนี้หากจะอธิบายโดยย่อ ระบบเงินสกุลดิจิทัลเริ่มต้นจากการพัฒนาระบบการโอนเงินที่สาธารณะร่วมกันทำงาน โดยไม่ต้องใช้สถาบันการเงินหรือหน่วยงานใดเป็นตัวกลางในการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลการโอนเงิน หากแต่ทุกคนสามารถอาสามีส่วนร่วมโดยการนำคอมพิวเตอร์ของตนเองมาร่วมทำงานในระบบนี้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
โดยเมื่อต้นทางสั่งโอนเงินไปยังปลายทาง คอมพิวเตอร์ของทุกคนในระบบจะเห็นคำสั่งดังกล่าว และช่วยกันตรวจสอบว่าการสั่งโอนดังกล่าวมาจากต้นทางที่แท้จริงหรือไม่ และต้นทางมีเงินเพียงพอหรือไม่ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบจะให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายแข่งกันคำนวณเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และเครื่องใดทำได้ก่อนจะได้รางวัลเป็นเหรียญในสกุลเงินดิจิทัล และข้อมูลที่ตรวจสอบเสร็จแล้ว จะถูกนำไปเก็บไว้ในรายการประวัติธุรกรรมที่เป็นบล็อกเชน (Block Chain)
ซึ่งเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บแบบเรียงลำดับต่อไปเรื่อยๆ ตามลำดับของการเกิดขึ้นของธุรกรรม และข้อมูลประวัติธุรกรรมนี้จะถูกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อาสามาร่วมในเครือข่ายสกุลเงินนี้
จากหลักการเบื้องต้นนี้ จะเห็นได้ว่าระบบเงินสกุลดิจิทัล ใช้พื้นฐานของการจัดเก็บประวัติธุรกรรมแบบบล็อกเชน (Block Chain)
ซึ่งระบบจัดเก็บนี้ เมื่อนำข้อมูลมาเรียงต่อกันตามลำดับธุรกรรมแล้ว จะทำให้เกิดการแก้ไขประวัติย้อนหลังได้ยากมาก เพราะนอกจากต้องแก้ไขข้อมูลในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เก็บข้อมูลให้ตรงกันแล้ว การจะแก้ไขตัวเลขที่เป็นดัชนีในการชี้ลำดับข้อมูลที่เก็บไว้ให้เป็นตัวเลขชุดใหม่ก็ทำได้ยากมากในทางคณิตศาสตร์เช่นกัน ซึ่งในกรณีของบิทคอยน์ ได้เป็นตัวอย่างแรกๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการนำการจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อกเชน (Block Chain) มาประยุกต์ใช้ในวงกว้าง
นอกจากนี้ระบบเงินสกุลดิจิทัลยังให้รางวัลกับผู้เข้าร่วมการตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม เป็นเหรียญของสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งกระบวนการนี้เป็นสิ่งที่เรียกว่าการขุดเหมือง (mining)
ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้มีผู้มาร่วมเชื่อมต่อกับเครือข่ายและนำทรัพยากรทั้งการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ การใช้กระแสไฟฟ้า และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายในการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลธุรกรรม ดังนั้นมูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลในมุมหนึ่งจึงขึ้นกับต้นทุนของทรัพยากรที่จะนำมาร่วมใช้ในการทำงานให้กับเครือข่ายด้วยเช่นกัน
ประโยชน์เเละเงื่อนไขในการใช้หลังรู้จักเงินดิจิทัล
สำหรับที่มาของเงินสกุลดิจิทัลที่เพิ่งจะมาเป็นประเด็นร้อนในช่วงปีที่ผ่านมานั้น สามารถย้อนกลับไปได้เป็นสิบปี โดยในช่วงปี ค.ศ. 1998-2009 ก็เริ่มมีแนวคิดและความพยายามที่จะสร้างเงินสกุลดิจิทัลที่ทำให้ปลอดภัยได้ด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัส ตัวอย่างเช่น B-Money และ Bit Gold
อย่างไรก็ตามเงินสกุลดิจิทัลนี้ ถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี ค.ศ.2008 ถึงต้นปี ค.ศ. 2009 โดยโปรแกรมเมอร์อัจฉริยะ (หรือกลุ่มโปรแกรมเมอร์) ที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto โพสต์บทความชื่อ Bitcoin – A Peer to Peer Electronic Cash System ไปในกลุ่มเมล์ด้านเทคโนโลยีการเข้ารหัส
และชักชวนให้บุคคลทั่วไปนำโปรแกรมภาษา C++ ที่เขาพัฒนาขึ้นไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพื่อร่วมในเครือข่ายของการตรวจสอบและเก็บข้อมูลธุรกรรม โดยผู้เข้าร่วมจะได้เหรียญในสกุลเงินบิตคอยน์เป็นค่าตอบแทน ซึ่งในปีแรกๆ ของการเกิดบิตคอยน์ก็ยังไม่มีใครให้ความสนใจและไม่สามารถกำหนดราคาของเงินสกุลดิจิทัลนี้ได้
และมีเรื่องร่ำลือกันว่าในปี 2010 มีคนขายบิตคอยน์ของตัวเองเป็นครั้งแรก โดยแลก 10,000 เหรียญบิตคอยน์กับพิซซ่า 2 ถาด คำนวณได้คร่าวๆ ว่า 10,000 เหรียญบิตคอยน์ในวันนั้น จะคิดเป็นมูลค่าเงินดอลล่าร์ในวันนี้มากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ
เงินสกุลดิจิทัล มีอะไรบ้าง
ในช่วงเริ่มต้น คนส่วนใหญ่ใช้คำว่าบิตคอยน์กับคำว่าเงินสกุลดิจิทัลเสมือนเป็นคำเดียวกัน แต่ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมาก็มีการสร้างเงินสกุลดิจิทัลด้วยอัลกอริทึ่มอื่นขึ้นมาอีกมากมาย โดยหากเรียงตามมูลค่าตามราคาตลาด
(Market Cap คำนวณจากจำนวนเหรียญคูณด้วยอัตราซื้อขาย) เงินสกุลดิจิทัล 5 อันดับแรกของวันนี้มีตัวอย่างได้แก่ Bitcoin, Ethereum, Ripple, Bitcoin Cash, และ Litecoin แต่ในความเป็นจริงแล้วเงินสกุลดิจิทัลที่มีการสร้างขึ้นมานั้นมีสูงถึงกว่า 1,500 สกุล ซึ่งแต่ละสกุลเงินที่ถูกสร้างขึ้นมีระดับความนิยมและความน่าเชื่อถือแตกต่างกันไป
เรียบเรียงโดย อาจารย์ต้นสัก สนิทนาม
#ดิจิทัล #วอลเล็ต #เพื่อไทย #เงิน10,000 #หมื่นบาท #สกุลเงิน #DigitalWalle
ไทย
ข่าวรอบโลก
เงิน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย