19 เม.ย. เวลา 04:41 • การศึกษา

เข้าใจ "ความคิดฟุ้งซ่าน" ตามหลักวิทยาศาสตร์ และ หลักพุทธศาสนา

.
สวัสดีครับ กระผม คุณครูเอ็กซ์ตร้า
.
กราบสวัสดี ผู้เจริญในธรรม ในศีล สมาธิ ปัญญา ทุกท่าน ครับ
.
"ความคิด" เกิดจากการทำงาน ของเซลล์ประสาทในสมอง
.
ที่สื่อสารกัน ผ่านคลื่นสัญญาณไฟฟ้า และ สารเคมี ครับ
.
"สมอง" ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ความคิดเชิงซ้อน เช่น
.
- สมองส่วน การตัดสินใจ (prefrontal cortex)
- สมองส่วน ความจำ ( hippocampus)
- สมองส่วน อารมณ์ (amygdala)
.
ส่วนสมองด้าน "จิตสำนึก" (Consciousness) ทุกท่านทราบ หรือไม่ครับว่า
.
วิทยาศาสตร์ ยังไม่สามาถอธิบายได้ชัดเจนว่า
ความคิดเชิง "จิตสำนึก" เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ครับ
.
ส่วน "ความคิดฟุ้งซ่าน"
Rumination/Mind Wandering (การครุ่นคิด/การเร่ร่อนของจิตใจ)
.
คือ ภาวะที่สมองสร้าง "ความคิด" ต่อเนื่องแบบไม่หยุดนิ่ง
.
มักเป็นความคิดเรื่องลบ หรือ เรื่องไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ครับ
.
Default Mode Network หรือ (DMN)
.
DMN คือ เครือข่ายสมองที่ทำงานเมื่อเรา "คิดเรื่อยเปื่อย"
หรือ จมอยู่กับอดีต จมอยู่กับอนาคต ครับ
.
มีสิ่งหนึ่งที่ "คุณ" ต้องรู้
เกี่ยวกับกระบวนการ คิดบวก , คิดลบ ก่อนนะครับ
.
นั้นก็คือ "สมอง" ของเรา จะสะสมความคุ้นชิน ครับ
.
หากท่านใด "คิดลบ" บ่อย ๆ ความคิดฟุ้งซ่าน
ที่จะผุดขึ้นมา ก็มักจะเป็น ความคิดฟุ้งซ่านในทางลบ
.
หากท่านใด "คิดบวก" บ่อย ๆ ความคิดฟุ้งซ่าน
ที่จะผุดขึ้นมา ก็มักจะเป็น ความคิดฟุ้งซ่านในทางบวก ครับ
.
แต่ไม่ว่า "ความคิดฟุ้งซ่าน" ของ "คุณ"
จะผุดความคิดบวก หรือ ผุดความคิดลบ
.
ก็ยังไม่ได้เข้าหลักการของทาง "พุทธศาสนา"
.
เพราะหลักการของ "พุทธศาสนา"
คือ เน้นการให้ "ตนเอง" อยู่กับปัจจุบัน ครับ
.
"ความคิด" เราไม่สามารถ "หยุด" ได้โดยสมบูรณ์
.
เพราะ "สมอง" ของเราทำงานอยู่ตลอดเวลา
แม้ในขณะที่เรานอนหลับ ครับ
.
ที่นี้มาดู "ความคิดฟุ้งซ่าน"
ตามหลักพุทธศาสนา กันบ้าง นะครับ
.
"วิตก" (ความคิดแรกเริ่ม) , "วิจาร" (การคิดซ้ำ ๆ)
.
เมื่อ "จิต" ขาดสติ จะเกิดการคิดวน เป็นลูกโซ่ ครับ
เช่น กังวลเรื่องงานซ้ำ ๆ โกรธ คิดมากเรื่องเก่า ๆ
.
"ความคิดฟุ้งซ่าน"
มักผูกติดกับอารมณ์ ชอบ หรือ ไม่ชอบ ของเราเอง ครับ
สาเหตุเกิดจาก "อุปาทาน" (การยึดมั่นถือมั่น)
.
ตัวอย่าง จากพระไตรปิฎก เล่มที่ 15
.
เปรียบเหมือน "ลิง" ที่โลดเต้นไปตามกิ่งไม้
.
"พระพุทธเจ้า" ทรงเปรียบเทียบ "จิต" ที่ฟุ้งซ่าน
.
เปรียบเสมือน "ลิง"
ที่กระโดดจากความคิดหนึ่ง ไปอีกความคิดหนึ่ง
.
ถ้าจะอธิบายให้สั้น ๆ เอาให้ชัด ๆ ก็คือ
.
"ความคิดฟุ้งซ่าน" ในทาง "พุทธศาสนา" คือ
.
อาการปรุงแต่งของ "จิต" ที่ "ขาดสติ" ครับ
.
ทางออก คือ รู้เท่าทันด้วย "สติ" บวก ปล่อยวางด้วย "ปัญญา"
.
"พระพุทธเจ้า" ตรัสรู้ว่า "ความคิด" ทุกชนิดล้วนไม่เที่ยง
มันมาแล้วก็ไป เหมือนคลื่นในมหาสมุทร
.
ปัญหา คือ เรามักหลงคิดว่า ความคิด คือ ตัวเรา
.
แต่ถ้าเราหยุดถามตนเองว่า ใคร คือ คนคิด ?
.
เราจะพบความจริงว่า "ความคิด" แค่ ผ่านเข้ามา
.
แต่ไม่มีเจ้าของ เดียวมันก็ไป ครับ
.
นี่คือจุดเริ่มต้นของความเป็น "อิสระทางความคิด" ครับ
.
ที่นี้ครับ เมื่อเรารู้แล้วว่า ความคิดฟุ่งซ่านต่าง ๆ
เมื่อเข้ามาในหัวเรา แล้วมันก็ต้องผ่านออกไป
.
เราจะทำอย่างไร ? เมื่อมี "ความคิดฟุ้งซ่าน" ผุดขึ้นมา
.
เรามาดูวิธีกำจัด "ความคิดฟุ้งซ่าน"
ตามหลักวิทยาศาสตร์ กันก่อนนะครับ
.
1. การฝึกสมาธิ การอยู่กับปัจจุบัน ฟังเสียงรอบตัว ดูวัตถุใกล้ตัว ครับ
.
วิธีนี้จะช่วยลดกิจกรรม
ส่วนของสมอง DMN สมองส่วนคิดเรื่อยเปื่อย ได้ ครับ
.
ผ่านการปรับคลื่นสมองเป็นคลื่น Alpha คลื่นแห่งความสงบ
และ คลื่น Theta คลื่นแห่งความผ่อนคลาย ครับ
.
2. Grounding Technique ใช้ประสาทสัมผัส
เช่น การจับวัตถุเย็น - ร้อน เพื่อดึง "จิต" กลับมาสู่ปัจจุบัน
.
การรับ การกระตุ้นสมองส่วน "รับความรู้สึก"
จะเป็นการแข่งขันกัน กับสมองส่วนพื้นที่ "ความคิดฟุ้งซ่าน" ครับ
.
3. ออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น วิ่ง
ช่วยลดกิจกรรมในสมองส่วน amygdala
สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "ความวิตกกังวล"
.
ช่วยกระตุ้นสาร (BDNF) Brain-Derived Neurotrophic Factor ทำหน้าที่ช่วยสร้างเซลล์ใหม่ในสมอง
.
ช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง และ ช่วยลดความเครียด ครับ
.
4. การเขียน "ความคิด" ลงในกระดาษ
.
การเขียนช่วย "ย้าย" ความคิดจากสมองไปสู่ภายนอก (Externalize)
.
ลดการครุ่นคิดซ้ำ ๆ (Rumination) ได้ครับ
.
สรุป วิธีหยุด "ความคิดฟุ้งซ่าน"
แบบมีหลักฐาน ตามหลักวิทยาศาสตร์ ครับ
.
1. ฝึกสติ , สมาธิ เพื่อลดกิจกรรมสมองส่วน DMN ส่วนคิดเรื่อยเปื่อย
.
2. ใช้ประสาทสัมผัส เช่น จับของร้อน , ของเย็น
กระตุ้น Sensory Cortex สมองส่วนรับความรู้สึก
เพื่อดึงความสนใจ กลับมาปัจจุบัน
.
3. ออกกำลังกาย ปรับสารเคมีสมอง ลดความวิตกกังวล สร้างเซลล์ใหม่ในสมอง
.
4. เขียนความคิดลงกระดาษ ลดการครุ่นคิดซ้ำ ๆ (Rumination)
.
และนั้นก็คือ 4 ข้อเบื้องต้น
ในการกำจัด "ความคิดฟุ้งซ่าน" ตามหลักวิทยาศาสตร์ ครับ
.
ต่อมา ครับ
เรามาดูวิธีกำจัดความ "ความคิดฟุ้งซ่าน"
ตามหลักพุทธศาสนา กันบ้างครับ
.
ในทาง "พุทธศาสนา" การหยุดความคิด หรือ การควบคุมความคิด
.
เป็นหัวใจสำคัญของการฝึกสมาธิ และ วิปัสสนา
.
เพื่อให้จิตสงบ และ เกิดปัญญา ครับ
.
โดยมีหลักปฏิบัติตาม
"สมถะ" (สมาธิ) และ "วิปัสสนา" (การเห็นเกิด-ดับ) ดังนี้ครับ
.
1. พุทธศาสนามองว่า "ความคิด" เป็นเพียง "สังขาร" (สิ่งปรุงแต่งทางใจ)
.
ที่เกิดขึ้น- ตั้งอยู่ - แล้วก็ดับไป ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
.
ไม่ใช่การบังคับให้ "ความคิด" หยุดสนิท นะครับ
เพราะเราบังคับ "ความคิด" ให้หยุดไม่ได้ ครับ
.
แต่เป็นการ รู้เท่าทัน และ ไม่ยึดติด กับความคิด (อุเบกขา)
.
2. ฝึกสมาธิ (สมถะ)
โดยการกำหนดลมหายใจ "อานาปานสติ"
.
จดจ่อที่ลมหายใจ เข้า-ออก
เมื่อความคิดเกิดขึ้น "ให้รู้ตัว" แล้วกลับมาที่ลมหายใจ
.
หาก "จิต" ที่มีความคิดฟุ้งซ่านมาก
ให้ใช้วิธี "พุทธานุสสติ"
.
คือการ ท่องคำบริกรรม "พุทโธ" ซ้ำ ๆ ครับ
เพื่อให้ "จิต" มีจุดโฟกัส
.
3. วิปัสสนา (การเห็นเกิด-ดับ) ตามดู "ความคิด" แบบไม่ตัดสิน
.
เมื่อ "ความคิด" เกิดขึ้น ให้สังเกตมัน
.
เหมือน "ดูเมฆลอยผ่านท้องฟ้า" ไม่ผลักไส หรือ ตามติด ครับ
.
"พระพุทธเจ้า" ตรัสว่า เมื่อไม่มีเครื่องปรุง (อายตนะภายนอก)
"จิต" ก็จะหยุด "ฟ้อนรำ"
.
เปรียบเหมือนแสงประทีป ที่ดับเพราะน้ำมันหมด
"ความคิด" จะ "สงบ" เมื่อไม่เติมเชื้อ (ตัณหา) ครับ
.
มหาสติปัฏฐานสูตร
การฝึก "สติ" ด้วยการสังเกตลมหายใจ ความคิด โดยไม่ยึดมั่น
.
วิมุตติมรรค
แนะนำให้พิจารณา "ความคิด" เป็นเพียง "รูป-นาม" ที่อาศัยเหตุปัจจัย เกิดขึ้น
.
สรุป วิธีหยุด "ความคิดฟุ้งซ่าน" ตามหลักพุทธศาสนา ครับ
.
1. รู้ตัว เมื่อความคิดเกิด
.
2. ไม่ตาม หรือ ปฏิเสธ แค่สังเกตเฉย ๆ
.
3. กลับมาที่ฐาน เช่น ลมหายใจ
.
4. เห็นความไม่เที่ยง ของความคิด
.
สรุป ภาพรวมทั้งหมดในตอนนี้ ครับ
.
ไม่ว่า "คุณ" จะเชื่อในวิทยาศาสตร์ หรือ พุทธศาสนา ครับ
.
สิ่งที่ทั้ง 2 ศาสตร์นี้สอนตรงกัน ก็คือ
.
เราควบคุมความคิดได้ โดยไม่ต้องไปบังคับความคิด ครับ
.
บางวัน แค่รู้ตัวเองว่า เรากำลังคิดมาก ก็ถือว่าชนะแล้ว ครับ
.
ค่อย ๆ ฝึกไปทีละนิด นะครับ โดยให้ระลึกไว้เสมอว่า
การฝึก "สมถะวิปัสสนา" (สมาธิ การเห็นเกิด-ดับ) นั้น
.
มันคือ การสะสมทีละเล็ก ทีละน้อย
สะสมกันไปยาว ๆ เรื่อย ๆ แบบทางสายกลาง ครับ
.
ความสงบที่แท้จริง เริ่มต้นที่การ "ยอมรับ" ว่า
"ความคิดไม่ใช่ศัตรู" ของเราครับ
.
แต่เป็นเครื่องเตือนใจ ให้เรากลับมาอยู่กับ "ปัจจุบัน"
.
วิทยาศาสตร์ ใช้เทคนิคปรับสมอง จับความรู้สึก ร้อน , เย็น
.
พุทธศาสนา ใช้ "ปัญญา" เข้าใจความคิด
.
จุดร่วมกันของทั้ง 2 ศาสตร์นี้ ก็คือ
.
"อย่าไปต่อสู้กับความคิด ครับ แต่จงอยู่กับมันอย่างรู้สึกตัว"
.
การเริ่มต้นที่ง่ายสุด ก็คือ
ทดลองหาที่นั่งสงบ ๆ
อยู่ที่เงียบ ๆ คนเดียว เพียงวันละ 5 นาที
.
นั่งหลับตา สังเกตดูลมหายใจ เข้า-ออก
เพียงแค่นี้ ก็เริ่มเห็นช่องทางแห่งชัยชนะ แล้วครับ
.
"พระพุทธเจ้า" ตรัสรู้ว่า "ความคิดฟุ้งซ่าน" เป็นเพียง "สังขาร" (สิ่งปรุงแต่งทางใจ)
.
มันมา แล้วมันก็ไป ครับ
ปัญหา คือ เรามักหลงว่า "ความคิด คือ ตัวเรา"
.
แต่เมื่อเรา "ฝึกสติ" จะเห็นความจริงว่า
เราไม่ใช่ความคิด เราเป็นเพียง "ผู้รู้"
ที่ดูความคิดเหล่านั้นผ่านไป
.
3 ประโยคสั้น ๆ สำหรับการฝึกกำจัด "ความคิดฟุ้งซ่าน" ครับ
.
1. รู้สึกตัว
2. ไม่ยึดติด
3. กลับมาที่ลมหายใจ
.
"จิต" ที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขที่ยิ่งใหญ่มาให้ "คุณ" ครับ
.
สุดท้ายในตอนนี้ ครับ ขอให้ผู้เจริญในธรรม ทุกท่าน
.
จงเป็นผู้เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
.
จนนำไปสู่ความหลุดพ้น จากความทุกข์ทั้งปวง ทุกคน ทุกท่าน ด้วยเทอญ สาธุ 🙏🙏🙏
.
สวัสดีครับ
.
#ธรรมะ , #ศาสนาพุทธ , #พุทธศาสนา , #ความคิด , #ความคิดฟุ้งซ่าน
โฆษณา