Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เอ็กซ์ตร้า นายอรรณพ ศิริศรี
•
ติดตาม
20 เม.ย. เวลา 03:44 • การศึกษา
ความทุกข์ เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ตามหลักพุทธศาสนา
.
สวัสดีครับ กระผม คุณครูเอ็กซ์ตร้า
.
กราบสวัสดี ผู้เจริญในธรรม ในศีล สมาธิ ปัญญา ทุกท่าน ครับ
.
ความทุกข์ ความไม่สบายใจ ความไม่สมหวัง
อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ครับ
.
1. ความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน)
.
"การยึดติด" ในความต้องการของ "ตัวเอง"
เช่น อยากได้สิ่งใด แล้วไม่เป็นดั่งหวัง
.
การยึดติดใน ความคิด ความเชื่อ
หรือ "อัตตา" ของตัวเอง ว่า "ต้องเป็นอย่างนี้เท่านั้น"
.
2. ความไม่เข้าใจ ธรรมชาติของชีวิต (อวิชชา)
.
"ไม่ยอมรับ" ว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง (อนิจจัง)
ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
.
คาดหวังว่าสิ่งดี ๆ จะคงอยู่กับเราตลอดไป
หรือ คิดว่า "ความทุกข์" จะไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง
.
3. ตัณหา (ความอยากไม่มีที่สิ้นสุด)
.
อยากได้ในสิ่งที่ไม่มี (โลภะ)
.
อยากทำลายสิ่งที่ขัดใจ (โทสะ)
.
หลงคิดว่าสิ่งต่าง ๆ ต้องเป็นไปตาม ที่ตัวเองคิด (โมหะ)
.
4. การปฏิเสธความจริง
.
"ไม่ยอมรับ" ความจริงของชีวิต เช่น
การสูญเสีย ความเจ็บป่วย ความผิดหวัง
.
โทษสิ่งภายนอก แทนที่จะปรับ mindset ของตัวเอง
.
5. การเปรียบเทียบ และ ความคิดลบ
.
นำตัวเอง ไปเปรียบเทียบกับคนอื่น แล้วรู้สึกขาด
.
จมอยู่กับอดีต หรือ กังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
.
นั้นก็คือ ปัจจัยที่อาจทำให้ "เรา" เกิด ความทุกข์ 5 ข้อครับ
.
ต่อมา เราจะเจาะลึกกลไกการเกิด "ความทุกข์" แบบละเอียด กันนะครับ
.
เพื่อให้ทุกท่าน เห็นกระบวนการว่า "ความทุกข์"
มันเกิดขึ้นใน "จิตใจ" ของเราได้อย่างไร ? ครับ
.
1. ปัจจัยเริ่มต้น "สิ่งที่มากระทบ"
(อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
.
ไม่ใช่ทุกสิ่ง ที่เข้ามากระทบเรา จะทำให้เราเกิด "ความทุกข์" นะครับ
.
แต่เป็น "สิ่งที่เราให้ความสำคัญ" ต่างหาก
ที่ทำให้เราเกิด "ความทุกข์" ครับ
.
เช่น คนพูดจาไม่ดีใส่เรา ด่าเรา ถ้าเราให้ความสำคัญ "เราทุกข์" ครับ
.
สิ่งของเสียหาย เงินหาย รถหาย
ถ้าเราให้ความสำคัญ "เราทุกข์" ครับ
.
ความคาดหวังที่ผิดหวัง เช่น แฟน คนรัก สามี-ภรรยา
ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง บอกเลิก
.
แฟนบอกเลิก เท่ากับ "สิ่งที่มากระทบ" บวก
เราให้ค่ากับความสัมพันธ์นี้ เท่ากับ "การให้ความสำคัญ"
.
ผลสรุป คือ ถ้าเราให้ความสำคัญ "เราทุกข์" ครับ
.
2. ขั้นสร้างภาพ "ความคิดปรุงแต่ง" (สังขาร)
.
"จิต" จะเริ่มสร้างเรื่องราวต่อยอด จากสิ่งที่มากระทบ
โดยอาศัย "ความทรงจำ" และ "ความเชื่อ" ของเรา ครับ
.
เช่น คิดว่า ฉันต้องไม่ดีแน่ ๆ ฉันเลยถูกสามีทิ้ง
เท่ากับ ปรุงแต่งจากความเชื่อเดิม
.
ทั้งที่ความเป็นจริง อาจจะยังไม่ถูกทิ้ง หรือ ถูกทิ้ง
ก็จะมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย
"แต่คิดปรุงว่า ฉันไม่ดีไปแล้ว"
.
นึกถึงอนาคตว่า หลังจากที่ฉันถูกสามีทิ้ง
"ฉันจะเหงาไปตลอด"
เท่ากับ คิดล่วงหน้าแบบไม่มีมูลความจริง ครับ
.
ทั้งที่ความเป็นจริง ในอนาคต อาจจะเจอเหตุการณ์ใดก็ได้
เพราะทุกอย่าง แปลงเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง)
.
3. ขั้นทุกข์แท้จริง "การยึดติด" (อุปาทาน)
.
"ความทุกข์" ระเบิดออกมา เมื่อเรา "เชื่อความคิดตัวเอง"
แล้วยึดมั่นว่า มันเป็น "ความจริง" เพียงหนึ่งเดียว ครับ
.
เชื่อว่าสิ่งที่เราคิด คือ "ความจริง" ทั้งที่อาจจะไม่จริง
.
เช่น ยึดติดคิดว่า "ฉันเป็นคนไม่น่ารัก"
เท่ากับ สร้างอัตตาตัวตนใหม่ จาก "ความทุกข์"
.
ทั้งที่ความเป็นจริง ความสวย ความน่ารัก มาจากหลายปัจจัย ครับ
.
4. วงจรต่อเนื่อง "การเติมเชื้อความทุกข์"
.
ทุกท่านทราบหรือไม่ ครับว่า "ความทุกข์"
มันสามารถ ลุกลามได้เหมือนไฟไหม้กองฟาง เลยนะครับ
.
เมื่อเรา
- คิดวน คิดซ้ำ เรื่องเดิมโดยไม่หาทางแก้ไข
- ปฏิเสธ ไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น
- แสวงหาตัวการ โทษคนอื่น แม้กระทั่งโทษตัวเอง ก็เป็นทุกข์ นะครับ
.
ที่นี้ หากกระผม จะถามต่อว่า
.
ทำไม ? บางคนถึง มีความทุกข์
ทำไม ? บางคนถึง ไม่มีความทุกข์
แม้จะเป็นเหตุการณ์จาก เรื่องเดียวกัน ?
.
คำตอบก็คือ เพราะกระบวนการนี้ ถูกกรองด้วย
วิธีคิด ประสบการณ์ มิติทางจิตใจ ครับ
.
ถ้าจะสรุปให้สั้น ๆ ก็คือ
แต่ละคน บุญวาสนา เวรกรรม เกิดมาไม่เหมือนกันครับ
.
จึงทำให้ความรู้ บุญบารมี ต่างกัน
.
กระผมอยากให้ "คุณ" ทำความเข้าใจอย่างนี้ก่อน นะครับว่า
.
ทุกครั้งที่เราเกิด "ความทุกข์"
เราไม่ใช่ ผู้รับผลของ "ความทุกข์" ครับ
.
แต่เราคือ "ผู้เรียนรู้"
ที่เลือกจะละ จะสละ จะขัดเกลาจิตใจของเรา
ให้พ้นออกจาก "ความทุกข์" ทั้งปวง ได้ครับ
.
หาก คูรัก สามี-ภรรยา เลิกกัน
.
ผู้เข้าใจธรรมะ
อาจเห็นการเลิกกันเป็น "เรื่องธรรมชาติ"
เสียใจครับ แต่ยอมรับว่า "ความสัมพันธ์" ไม่เที่ยง
.
ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าใจธรรมะ
ก็อาจจะเจ็บปวดมากมาย ในผลของ "ความสัมพันธ์"
ซึ่งต้องให้เวลาเยียวยาจิตใจ ครับ
.
"ความทุกข์" ถ้าสังเกตให้ดี อาจไม่ใช่สิ่งที่ "เกิดขึ้นกับเรา" นะครับ
.
แต่เป็นสิ่งที่ "เราเกิดขึ้นให้มัน"
เราเกิดขึ้นกับ "ความทุกข์" ครับ
ผ่านการปรุงแต่งของ "จิต" ตัวเอง
.
ทุกครั้งที่ "คุณ" ยอมรับ "ความทุกข์"
.
"สมอง" จะสร้าง ทางเดินประสาทใหม่ (Neural Pathway) ที่แข็งแรงขึ้น
.
เช่น ยิ่งคิดว่า "ฉันเป็นคนขี้แพ้"
สมองยิ่งเชื่อมโยง "ความล้มเหลว" กับ อัตตาตัวตน
.
จนกลายเป็น "identity" (ตัวตนใหม่)
ฉันคือ ผู้แพ้ตัวจริง ตามความเชื่อคุ้นชิน ของคุณครับ
.
นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไม ? "ความทุกข์"
ถึง "รู้สึกว่าจริง" ทั้งที่มันเป็นแค่ภาพลวงตา ครับ
.
แต่กลับกันนะครับ หากท่านใดที่สะสม "ความสุข" บ่อย ๆ เรื่อย ๆ
.
ความคุ้นชินของ "ความสุข" ก็จะส่งผลให้ "คุณ"
มีความสุข มากกว่า "ความทุกข์" เช่นกันครับ
.
สรุปสั้น ๆ ก็คือ "สมอง" ของเรา จะสะสมความคุ้นชิน ครับ
.
ใครมีสิ่งไหนใน "จิตใจ"
(ความทุกข์/ความสุข/ความสงบ/สมาธิ/สติ/ปัญญา)
.
ก็จะแสดงสิ่งนั้นออกมาครับ ไม่สามารถปกปิดได้
.
สรุป ครับ
.
"ความทุกข์" คือ บทเรียนที่ผู้สร้าง
มอบมาให้เรา ไว้เรียนวิชา "ฝึกจิตใจ" ครับ
.
เมื่อเราเข้าใจมันอย่างแท้จริง
"ความทุกข์" จะเปรียบเสมือน "ครู" ไม่ใช่ศัตรู นะครับ
.
เป็น "ครู" ผู้สอนให้เราเข้มแข็ง มีปัญญา มีประสบการณ์
.
คุณจำ "ความทุกข์" ที่ถูกเพื่อนล้อตอนเด็ก
ความทุกข์ ที่ถูกพ่อ แม่ตี ตอนเด็ก
.
ความทุกข์ ที่ผิดหวังร้องไห้ ขี้มูกโป่ง
กับความรัก ครั้งแรกในวัยหนุ่ม-สาว ได้มั้ยครับ
.
ไม่ว่าเราจะผิดหวัง ร้องไห้เสียใจ มี "ความทุกข์" มามากเท่าไหร่
.
แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราก็ผ่านมันมาได้ทุกครั้ง
.
นั้นมันก็แสดงว่า "ความทุกข์" ไม่ได้ทำร้ายเรา นะครับ
.
แต่ "ความทุกข์" เป็น "ครู"
สอนให้เราเข้มแข็งมากขึ้น มีประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น
.
กี่ครั้งแล้ว ที่ไม่มีเงิน คิดว่าไม่มีคนช่วยเหลือ
.
ห่วงลูก ห่วงหลาน ไม่มีเงินซื้อข้าวกิน
แต่ทุกครั้ง ก็ผ่านมันมาได้
.
ไม่แน่นะครับ คนรอบตัว "คุณ"
ครอบครัวของ "คุณ"
คนรักของ "คุณ"
ลูก หลานของ "คุณ"
.
เขาอาจไม่ได้ต้องการสิ่งใดจาก "คุณ" เลยก็ได้ครับ
.
"คุณ" จำความรู้สึก
ตอนพา ลูก-หลาน ไปเดินเล่น สนามเด็กเล่น ได้หรือไม่ ครับ
.
"คุณ" จำความรู้สึก
ตอนพา คุณพ่อ คุณแม่ ปู่ ยา ตา ยาย
ไปกินของอร่อย ๆ ได้หรือไม่ ครับ
.
หาก "คุณ" จำความรู้สึกเหล่านั้นได้
.
"คุณ" จะรู้ว่าช่วงเวลาดี ๆ เหล่านั้น
"คุณ" ไม่ได้ต้องการสิ่งใดเลย ครับ
.
"คุณ" แค่อยากเห็น ลูก-หลาน
วิ่งเล่นที่สนามเด็กเล่น ด้วยรอยยิ้ม สนุกสนาน เสียงหัวเราะ
.
"คุณ" แค่อยากเห็น คุณพ่อ คุณแม่ ปู่ ยา ตา ยาย
ได้กินของอร่อย ๆ พูดบ่นกับอาหารว่า แพงเกินไป
.
และ ช่วงเวลานั้น แหละครับ
เรียกว่า ช่วงเวลาแห่ง "ความสุข" ครับ
.
ไม่ว่า คนรัก , สามี-ภรรยา , ลูก-หลาน , คุณพ่อ คุณแม่ ปู่ ยา ตา ยาย , ญาติพี่น้อง
.
บุคคลเหล่านี้ ก็เป็นบุคคลที่กำเนิด เกิดมาจาก ความอยาก (ตัณหา) ด้วยกันทั้งนั้น
.
ทุกคน อยากได้ อยากมี อยากเป็น ทุกคนครับ
.
แต่คนไหน ที่จะเข้าใจเหตุแห่ง "ความทุกข์" ได้ก่อน
.
ก็จะได้มีโอกาส ใช้ชีวิตกับคนที่เรารัก
ผ่านมุมมอง "แว่นตาแห่งความสุข" ได้ก่อน มีเท่านี้เองครับ
.
และ เมื่อมี "ความสุขสงบ" แล้ว
.
เราก็จะได้ฝึกฝน ปฏิบัติตน ให้พ้นจาก "ความทุกข์" ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
.
จนถึงเป้าหมายสูงสุดในทาง "พุทธศาสนา"
คือ "นิพพาน" ในชาติใดชาติหนึ่ง แน่นอนครับ
.
สุดท้ายในตอนนี้ ครับ ขอให้ผู้เจริญในธรรม ทุกท่าน
.
จงเป็นผู้เจริญในศีล สมาธิ ปัญญา ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
.
จนนำไปสู่ความหลุดพ้น จากความทุกข์ทั้งปวง ทุกคน ทุกท่าน ด้วยเทอญ สาธุ 🙏🙏🙏
.
สวัสดีครับ
.
#ธรรมะ , #ศาสนาพุทธ , #พุทธศาสนา , #ความทุกข์
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย