20 เม.ย. เวลา 06:14 • ไลฟ์สไตล์
เราขออนุญาตไม่เห็นด้วยกับพี่โน้ส เพราะไม่ใช่เฉพาะเด็กสมัยนี้ที่สามารถหาความรู้ได้เอง เด็กสมัยโบราณก็หาความรู้ได้เอง แต่โดยผ่านประสบการณ์ตรงลองผิดลองถูก ผ่านการอ่านตำรับตำราโบร่ำโบราณ ที่ราชการกำหนดให้เป็นหนังสือเรียนสำหรับการศึกษาภาคบังคับก็เท่านั้นเอง ข้อดีก็คือ เด็กสมัยโบราณรู้จักการคัดลายมือภาษาไทย และการคัดลายมือภาษาอังกฤษ เด็กญี่ปุ่นเอง ก็ยังคงได้รับการฝึกการเขียนอักษรด้วยพู่กัน
ความต่างระหว่างเด็กสมัยก่อน กับเด็กสมัยนี้ก็คือ เด็กสมัยนี้เติบโดมาพร้อมกับข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงได้อย่างง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัส เว็บไซต์ค้นหาอย่าง Google ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 1998 โดย 2 นักศึกษาจากสแตนฟอร์ด อย่าง Larry Page และ Sergey Brin ทำให้เพวกเราและพวกเขาตกเป็นทาสมาเกือบ 27 ปีแล้ว คุณจะต้องมีอีเมล์แอดเดรส "Gmail" กันแทบทุกคน ไม่มีไม่ได้
เด็กสมัยนี้ จึงถูกปั่นหัว ยุยงได้ง่ายกว่าเด็กสมัยก่อน เพราะพวกเขาเชื่อทุกอย่างบนโลกออนไลน์ และใจร้อนเกินกว่าจะเปิดหนังสือค้นคว้าหาข้อเท็จจริงจากหลายๆแหล่ง สมัยเราเรียนมหาวิทยาลัย หนังสือศศ.จุลภาคและมหภาค เราถูกอาจารย์สั่งสอนให้อ่านหลายเล่มเพื่อสอบทานว่า ทฤษฎีต่างๆ ที่อาจารย์ชาวไทย นำตำราต่างประเทศมาแปลเป็นตำราตนเองนั้น มันสอดคล้องกับต้นฉบับหรือไม่ นี่คือตัวอย่างการ "ค้นคว้า" ของแทร่!
อุปนิสัยที่ได้รับการสั่งสมมา ทำให้เราเป็นคนรักการอ่านมาก จนเราสามารถจะบอกได้เลยว่า เวาที่เราอ่านอะไรก็ตาม เรามักจะทราบได้เลยว่า มีการคัดลอกมาจากหนังสืออะไร และตัวอย่างที่เราเจอ คือหนังสือประวิติศาสตร์จีน ที่ดร.ท่านหนึ่ง เขียนให้คนไทยอ่านจนโด่งดัง ด้วยเหตุที่ท่านอ้างว่า ตนจบจากมหาวิทยาในจีน ถูกนศ. ปริญญาเอก ฟ้องเรียกค่าเสียหาย เพราะไปคัดลอกผลงานของเธอมาทั้งดุ้น จนดร.ท่านนี้ ต้องขอโทษผ่านสื่อโซเชี่ยมีเดียต่างๆ เลยทีเดียวค่ะ
เราอาจตอบไม่ตรงคำถาม
แต่จากการสังเกตหลานๆ ทุกคน
เราคิดว่าพวกเขาเต็มไปด้วยอัตตาไม่ต่างจากพวกเรา
ดังนั้น การสั่งสอนพวกเขาก็เพียงท้าทายสติปัญญาพวกเขา
เพราะอุปนิสัยชอบเอาชนะนั่นเองค่ะ
โฆษณา