Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รายการ ต้นรู้ โลกรู้ BY : Anurak News
•
ติดตาม
20 เม.ย. เวลา 08:17 • ข่าวรอบโลก
กรณีศึกษา ลุงโทนี่ ใส่ชุดโต๊ปขายหมู ผิดอะไรบ้าง
"กรณีศึกษาจากการถอดบทเรียนกรณี“
#ลุงโทนี่โปรโมตร้านอาหารด้วยชุดอาหรับ + หมูหัน”
มีเรื่องให้เขียนไม่เว้นแต่ละวันเลยครับ
วันนี้ก็มีประเด็น "ลุงโทนี่ (ที่ไม่ใช่โทนี่คนนั้น) อีก
สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
1. มิติของภาษาและเครื่องแต่งกาย 🧕👳♂️
เครื่องแต่งกายที่ชายในภาพสวมใส่ คือ “Thobe” (โต๊บ) หรือ Jalabiya/جلابية ซึ่งเป็นชุดดั้งเดิมของชายมุสลิมในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุฯ กาตาร์ และอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนผ้าคลุมศีรษะที่ใช้เรียกว่า กุฟฟิยะห์/كُوفِيَّة 🧣
📌 ในสายตาชาวมุสลิมนอกภูมิภาคอาหรับ ชุดนี้มี "#น้ำหนักเชิงศักดิ์สิทธิ์" เพราะใช้ในกิจกรรมศาสนา เช่น การละหมาดวันศุกร์ หรือการไปฮัจญ์ ไม่ใช่เครื่องแต่งกายสำหรับความบันเทิงหรือการตลาด (แม้จริงๆแล้วมันจะมีสถานะเพียงเครื่องแต่งกายท้องถิ่นของอาหรับ)
2. มิติวัฒนธรรม 🎭🌏
ประเทศไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลาย การแต่งชุดคล้ายผู้นำศาสนาแล้วถือหมูหันเพื่อโฆษณาสินค้า 🍖 สำหรับมุสลิมไทยมันจึงกลายเป็นการ “#ข้ามเส้นทางวัฒนธรรม” อย่างไม่เหมาะสม
ในขณะที่ ⚠️ หมูในอิสลามไม่ใช่แค่อาหารต้องห้าม (haram) แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งต้องละเว้นโดยสิ้นเชิง เช่นเดียวกับสุรา เพราะฉะนั้นการถือหมูหันคู่กับชุดศาสนา กลายเป็นภาพที่ “#ล้อเลียนเชิงสัญลักษณ์” ซึ่งกระทบใจผู้ศรัทธาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กฎหมายกับประเด็นศาสนา ผ่าน รัฐธรรมนูญ
3. มิติของศาสนา 📿📖
ในอัลกุรอาน ซูเราะห์ อัล-บะเกาะเราะห์ (2:173) ระบุไว้ชัดเจนว่า:
❝ ห้ามพวกเจ้าบริโภคเนื้อสัตว์ที่ตายเอง เลือด และเนื้อหมู ❞
🚫 หมูถือเป็นสิ่งต้องห้ามในหลักศาสนาอิสลามอย่างสิ้นเชิง เพราะฉะนั้น
📸 ภาพของชายที่แต่งกายคล้ายอิหม่ามถือหมูหันไว้ในมือ จึงถูกมองเป็นการลบหลู่ศรัทธาอย่างชัดเจน
📍ซึ่งจากการคาดการณ์ของผม ผู้เกี่ยวข้องอาจมองว่ากรณีนี้อาจเข้าข่ายการ “ดูหมิ่นศาสนา” ตาม มาตรา 206 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งคุ้มครองศาสนาทุกศาสนาในประเทศไทย
4. แล้วเราควรทำอย่างไรกับเรื่องนี้? 🤝🕊️
ในฐานะสังคมหลากหลาย เราควรเน้นการ เรียนรู้วัฒนธรรมข้ามศาสนา (Interfaith Literacy) เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดและการล้อเลียนที่อาจบานปลายเป็นความขัดแย้ง
สำหรับลุงโทนี่ .....💬 แม้ผู้กระทำจะอ้างว่าไม่มีเจตนา #แต่ผลกระทบที่เกิดกับผู้ศรัทธาคือ ความรู้สึกถูกลดทอนศักดิ์ศรีทางศาสนา ซึ่งไม่ควรมองข้าม ... #ผมจึงแนะนำให้ ลุงโทนี่ออกมาขออภัยและประกาศจะระมัดระวังให้มากขึ้น... (เห็นว่าลุงออกมาแล้ว)
สำหรับมุสลิมไทย......🙏 การตอบโต้ด้วยเหตุผล ความรู้ และการอธิบายอย่างสงบ ย่อมมีพลังมากกว่าการใช้ความรุนแรงหรือถ้อยคำหยาบคาย เพราะการใช้อารมณ์กลับอาจทำให้ผู้ล้อเลียนรู้สึกได้ใจ
คำที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญ
สำหรับรัฐ.......📚 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรใช้โอกาสนี้ในการสร้างบทเรียนสาธารณะ ส่งเสริมความเข้าใจศาสนาในสื่อ เพื่อให้ความหลากหลายทางความเชื่ออยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุขในสังคมไทย
ความไวเชิงวัฒนธรรม
✨ นี่คืออีกหนึ่งบทเรียนสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่า…
📌 ในสังคมที่หลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมเช่นประเทศไทย การกระทำใด ๆ ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง 🧨 ความรู้สึกถูกดูหมิ่น 😔 หรือการปลุกกระแสเกลียดชังระหว่างศรัทธา 👎 ควรถูกหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง
🕌💢 ไม่ใช่แค่การล้อเลียนหรือดูแคลนศาสนาอื่น ที่พี่น้องมุสลิมควรรู้สึกเจ็บปวด แต่ในขณะเดียวกัน 🫱🫲 มุสลิมเองก็มีหน้าที่ต้องเคารพและไม่ล้อเลียนศรัทธาของผู้อื่นด้วยเช่นกัน
📣 เพราะการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่เรื่องของ “กฎหมาย” หรือ “ศีลธรรม” เท่านั้น แต่คือการ ให้เกียรติกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ 🤝 และสมาชิกที่เท่าเทียมกันของสังคมเดียวกัน 🏡🌏
เเนวทางการตอบคำถาม รศ.ดร.ชัยวัฒน์ มีสัณฐาน
สำหรับคำถามที่เพื่อนในเฟสถามไว้คือ
❓คำถาม (รอบ 1)
1. มีคัมภีร์อิสลาม ไม่ว่าชั้น อัลกุรอ่าน 🕋 ฮะดิษ หรือชั้นอรรถกถา ใดบ้างที่ห้ามหรือกำหนดว่า ชุดโต๊บ ต่างศาสนิกชนห้ามใส่ ❌ หรือมีอุละมาฮ์ท่านใดบ้างออกคำวินิจฉัยห้ามคนต่างศาสนาใส่ชุดพวกนี้
2. มุสลิมไม่เท่ากับอิสลาม❌ ความเข้าใจผิดในเรื่องชุดของอาหรับ ของมุสลิมนอกอาหรับ เป็นเรื่องที่มุสลิมนอกอาหรับต้องทำความเข้าใจเอง ทำไมไม่หวนกลับใช้ หลักคิดในยุครุ่งเรืองของจักรวรรดิมุสลิม "ความรู้เป็นดุจรัศมีแสงแห่งอัลเลาะห์" กลับไปบีบบังคับคนต่างศาสนาต่างวัฒนธรรม 😠ให้ยอมรับความเข้าใจผิดๆของมุสลิมเอง มันเหมาะสมแล้วหรือ
อ่านแว๊ปแรกทุกท่านอาจจะตึงๆ....แต่ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่า ทั้งสองคำถามข้อนี้สะท้อนความซับซ้อนของประเด็น “ศาสนา – วัฒนธรรม – อัตลักษณ์” ได้อย่างลึกซึ้งมากๆครับ.....ผมขออนุญาตด้วยหลักความรู้ทางศาสนาอิสลาม (อันน้อยนิดของผม) + กับความเข้าใจด้านสังคมวิทยา เพื่อเปิดพื้นที่แห่งการสนทนา ไม่ใช่ความขัดแย้ง ดังนี้ครับ
ผมขออนุญาตตอบเป็นประเด็นๆดังนี้ครับ
คำถามที่ 1: มีหลักฐานจากอัลกุรอาน ฮะดิษ หรืออุละมาฮ์ ที่ห้ามต่างศาสนิกชนสวมใส่ชุด “โต๊บ” หรือไม่?
📌 คำตอบ: ในคัมภีร์อัลกุรอานและหะดีษ ไม่มีข้อความใดที่ระบุอย่างชัดเจนว่า “ห้ามต่างศาสนิกชนสวมใส่ชุดโต๊บ” หรือชุดแบบอาหรับโดยเฉพาะ ชุด “โต๊บ” (thobe)
ความเเวดไวทางวัฒนธรรมด้านการศึกษา
เป็นเพียงเครื่องแต่งกายที่ มุสลิมในตะวันออกกลางนิยมสวมใส่ และไม่ได้มีสถานะเป็น “สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา” เหมือนจีวรของพระสงฆ์ในพุทธศาสนา
ในแง่ฟิกฮ์ (หลักการศาสนา)ชุดใดก็ตามสามารถใส่ได้ ตราบใดที่ไม่ขัดกับหลักการแต่งกาย เช่น ความสุภาพ ความมิดชิด (โดยเฉพาะเพศหญิง) และไม่มีความหมายทางลบ (เช่น สื่อถึงบาป หรือความเยาะเย้ย)
อย่างไรก็ตาม ในบางบริบท อุละมาอ์ (นักวิชาการศาสนา) อาจ “แนะนำให้หลีกเลี่ยง” การแต่งกายเลียนแบบศาสนาอื่น หากมี “เจตนาเลียนแบบเชิงศรัทธา” (tashabbuh fi al-‘aqidah) แต่การใส่ชุดคล้ายมุสลิมในบริบทวัฒนธรรม (เช่น ใช้ในหนัง ละคร หรือโฆษณา) ไม่ถือเป็นบาปในตัวมันเอง เว้นแต่จะมีเจตนาล้อเลียนหรือดูหมิ่น
📌 ดังนั้น คำตอบสำหรับคำถามข้อนี้คือ “ไม่มีหลักฐานชัดเจนที่ห้ามต่างศาสนิกชนใส่ชุดโต๊บ” แต่สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับประเด็นนี้คือ คือ #เจตนาของผู้สวมใส่ และ #ความรู้สึกของผู้ที่ถูกสื่อถึงนั่นเอง
คำถามที่ 2: ชุดอาหรับเป็นแค่ “วัฒนธรรมท้องถิ่น” แล้วมุสลิมนอกอาหรับทำไมจึงอ่อนไหวกับสิ่งที่ไม่ใช่หลักศาสนา?
📌 คำตอบ: คุณพูดถูกครับในเชิงแนวคิดว่า “มุสลิมไม่เท่ากับอิสลาม” และชุดอาหรับก็ไม่ได้เป็นข้อบังคับทางศาสนา ดังนั้นหลักอิสลามไม่ได้ยึดติดกับวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งโดยเฉพาะแต่ในแง่ สังคมวิทยาและอัตลักษณ์ทางศาสนา
เราต้องเข้าใจว่า…
1. “ศาสนา” สำหรับหลายคน ไม่ได้จำกัดอยู่แค่คำสอนในคัมภีร์ แต่รวมถึง สิ่งที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ เช่น ชุดโต๊บ มัสยิด การละหมาด หรือแม้แต่เสียงอะซาน ทั้งหมดล้วนมี “อารมณ์ร่วม” (collective sentiment) ซึ่งกลายเป็น “เขตแดนทางจิตวิญญาณ” ของชุมชนศรัทธา
2. เมื่อมีคนต่างศาสนาใส่ชุดโต๊บถือหมูหัน แม้จะไม่มีเจตนา แต่มันกลายเป็นการ “แตะต้องอัตลักษณ์เชิงศักดิ์สิทธิ์” และสร้างความเจ็บปวดให้กับคนที่รู้สึกว่า “เขาถูกล้อเลียนในสิ่งที่เขาเคารพ”
ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่เพราะ “มุสลิมอ่อนไหว” แต่เพราะ “คนทุกศาสนาอ่อนไหวในสิ่งที่เขาให้ค่า” 🙏
#เอาเข้าจริงถ้าย้อนไปในยุครุ่งเรืองของจักรวรรดิมุสลิม ที่ยก “ความรู้คือแสงแห่งอัลลอฮ์” เป็นหลักกลาง มุสลิมก็เคารพศาสตร์และวัฒนธรรมของผู้อื่นอย่างแท้จริง เช่น การแปลตำรากรีก เปอร์เซีย ฮินดู ฯลฯ เป็นภาษาอาหรับเพื่อพัฒนาวิทยาการ
📌 เพราะฉะนั้น ความรู้ในอิสลามไม่ได้ขัดกับเสรีภาพหรือความหลากหลาย แต่ต้องควบคู่กับ อิคลาส (ความบริสุทธิ์ใจ) และ อะดาบ (มารยาท)
สำหรับผมมขมขอสรุปแบบนี้ครับว่า......ความเข้าใจผิด ไม่ควรถูกตอบโต้ด้วยการกดดัน แต่ควรถูกอธิบายด้วยปัญญาและเมตตา 🤲🕊️ความหลากหลายคือทรัพย์สินของสังคม 🌏 แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของ ความเคารพซึ่งกันและกัน
หากใครทำไปด้วยความไม่รู้ → ก็แค่อธิบาย
หากใครทำไปด้วยเจตนาร้าย → ก็อธิบาย แต่ถ้าเหลือบ่ากว่าแรงก็ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ทั้งนี้ผมขอยืนยันว่า...ทุกฝ่าย ควรหลีกเลี่ยงการตอบโต้ด้วยความเกลียดชังหรือถ้อยคำรุนแรง เพราะจะยิ่งผลักให้สังคมห่างไกลจากความเข้าใจ
❓คำถาม (รอบ 2)
แล้วคุณจะแยก Arabization และแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองอื่นๆ กับ อิสลามออกจากกันอย่างไร
นี่เป็นประเด็นหัวใจที่จีนเลย รัฐจีนไม่มีปัญหากับอิสลามอัตลักษณ์จีน แต่มีปัญหามากกับกระบวนการทำให้เป็นอาหรับผ่านศาสนาอิสลามบางสำนักคิด
อันที่จริงผมอยากให้คุณอธิบายจากรากอิสลามหรือวัฒนธรรมมุสลิมเอง ไม่ใช่เอาฝรั่งมาครอบไว้
ตามหลักศาสนาอิสลามเอง ตราบใดที่รัฐชาติใดๆยังอนุเคราะห์กิจกรรมทางศาสนาอย่างเสรี ไมไ่ด้กดขี่ข่มเหงทางศาสนาใดๆ ไม่มีข้อวินิจฉัยสั่งให้อพยพออกจากดินแดนนั้น นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ รัฐไทยหรือสยามต้องส่งสาสน์ไปถึงเคาะห์ลีฟะที่อิสตันบุล เพื่อยืนยันหลักศาสนูปถัมภก ว่ามุสลิมในไทย มีเสรีภาพทางศาสนา ซึ่งมันเพียงพอแล้ว เงื่อนไขหลักๆมีแค่นี้เอง แล้วแสดงถึงวุฒิภาวะของชาวมุสลิมด้วย อ่อนไหวไม่อ่อนไหวในความรู้สึก นี่มันบอกถึงวุฒิภาวะที่อ่อนด้อยลง
คำตอบ......
ผมขอตอบเป็นประเด็นๆ ตามนี้นะครับ 1. ต้องแยก “ศาสนาอิสลาม” ออกจาก “วัฒนธรรมอาหรับ” อย่างชัดเจน
อิสลาม เป็นศาสนาโลก (universal religion) ที่ ถูกประทานในภาษาอาหรับ ไม่ใช่ “ศาสนาอาหรับ” และคัมภีร์อัลกุรอานระบุว่า อัลลอฮ์ส่งศาสนทูตมายัง ทุกประชาชาติ เพื่อชี้แนะแนวทางสู่ความดีงาม (ดู Surah Al-Fatir 35:24)
แต่หลังจากศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา การขยายตัวของรัฐอิสลามนำเอา วัฒนธรรมของชาวอาหรับ ไปผสมกับหลักศาสนา เกิดการ ตีความศาสนาผ่านบริบทของชาวอาหรับ เช่น การแต่งกาย การพูดภาษาอาหรับในทุกโอกาส หรือการให้ค่ากับบาง “สำนักคิด” ที่เกิดในดินแดนอาหรับ
📌 ตรงนี้เองที่ต้อง “แยกให้ออก” ระหว่างสิ่งที่เป็นหลักการศาสนา (deen) กับสิ่งที่เป็น วัฒนธรรม (urf) เช่น:
• ละหมาด = หลักการศาสนา
• สวมโต๊บ ขาวๆ = วัฒนธรรมอาหรับที่กลายเป็นภาพแทนศาสนา
2. แนวคิด Arabization ต่างจากอิสลาม เพราะมีเป้าหมายทางการเมือง
Arabization ในบางกรณี ไม่ใช่แค่การนิยมวัฒนธรรม แต่กลายเป็น เครื่องมือทางอุดมการณ์ เช่น
• การผลักดันวาทกรรม “รัฐอิสลาม” ที่ต้องพูดอาหรับ/แต่งแบบอาหรับ
• การปฏิเสธวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น มลายู จีน หรือเปอร์เซีย ว่า “ไม่บริสุทธิ์”
แต่ความจริงแล้ว อิสลามในยุคอาณาจักรต่าง ๆ เช่น อุมัยยะห์ในอันดาลูเซีย หรือ อับบาซียะห์ในแบกแดด ต่าง ยอมรับวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น ชุดคลุมเปอร์เซีย ภาษาละติน หรือวิทยาการกรีก
⚖️ตราบใดที่วัฒนธรรมนั้นไม่ขัดต่อหลักศาสนา (เช่น การเคารพบรรพบุรุษ การพูดภาษาท้องถิ่น การรักษาประเพณีพื้นถิ่น) → ไม่ถือว่าผิดศาสนาเลย
3. กรณีจีน... จีนไม่ได้ต่อต้านอิสลาม แต่ต่อต้านการเมืองศาสนา
✅ จีน “อนุญาต” ให้มุสลิมจีนดำเนินกิจกรรมศาสนา เช่น การละหมาด การถือศีลอด หรือการเดินทางไปฮัจญ์ (ในบางช่วง)
แต่ “มีปัญหา” กับการ ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือระบอบอิสลามนิยมแบบต่างชาติ เช่น ซาลาฟีหัวรุนแรง หรือ แนวคิดรัฐอิสลาม
📌 กล่าวคือ รัฐจีนยอมรับ “อิสลามจีน” แต่ไม่ยอมรับ “อิสลามที่ไม่ใช่จีน” เพราะมองว่าความศรัทธาควรกลมกลืนกับอัตลักษณ์แห่งรัฐ ไม่ใช่ละทิ้งรัฐชาติเพื่ออุดมการณ์ต่างชาติครับ
4. กรณีสยาม: ยืนยันเสรีภาพศาสนาโดยไม่ละทิ้งอัตลักษณ์รัฐชาติ
ในประวัติศาสตร์ รัฐสยาม เคยส่งสาส์นถึง เคาะลีฟะห์แห่งออตโตมัน 🕌 เพื่อยืนยันว่า “มุสลิมในสยามมีเสรีภาพในการประกอบศาสนกิจ”
นี่สะท้อนว่า การอยู่ร่วมกันอย่างเคารพ ไม่ต้อง Arabize หรือสถาปนารัฐศาสนา
📌 ชาวมุสลิมไทยจึง มีศักดิ์ศรีในความเป็นพลเมืองไทย และสามารถรักษาศรัทธาโดยไม่ต้องลอกเลียนวัฒนธรรมอาหรับทุกแง่มุม
และ
5. วุฒิภาวะทางศาสนา = เข้าใจ “สาระ” ไม่ใช่ “เปลือก”
📌 ความอ่อนไหวทางศรัทธาเป็นสิ่งเข้าใจได้
แต่ การใช้ความรู้และความเข้าใจศาสนาอย่างลึกซึ้ง คือสิ่งที่สะท้อน วุฒิภาวะทางศาสนา ที่แท้จริง
💬 #การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือกดดันผู้อื่นหรือเรียกร้องให้คนต่างศาสนาเข้าใจ สิ่งที่มุสลิมเองยังสับสน อาจสะท้อนว่าเราเองยังไม่แยกแยะ “หลัก” กับ “วัฒนธรรม” ได้ดีพอ
.
🌟 ศาสนาอิสลามสอนให้นอบน้อมต่ออัลลอฮ์ ไม่ใช่เพื่อกลืนวัฒนธรรมใคร แต่เพื่อยกระดับมนุษย์สู่คุณงามความดีในทุกสังคม
✊ และความศรัทธาที่แท้จริง… ไม่กลัวต่อความแตกต่าง
เรียบเรียงโดย อาจารย์ต้นสัก สนิทนาม
#ลุงโทนี่ #อินฟลูอินเซอร์ #ขายหมูหัน #ศาสนา #อิสลาม #ชุดโต๊ป
ข่าวรอบโลก
อิสลาม
อินฟลูเอนเซอร์
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย