21 เม.ย. เวลา 02:01 • ความคิดเห็น

ความต่างระหว่างผู้นำที่อ่านหนังสือกับผู้นำที่ไม่อ่าน

“ Not all readers are leaders, but all leaders are readers” Harry Truman.
บิล เกตส์ เคยพูดถึงเหตุผลว่าทำไมผู้นำที่ดี ไม่ว่าจะนำบริษัทหรือประเทศควรจะอ่านหนังสือให้มาก เพราะการอ่านหนังสือนั้นทำให้การมองปัจจัยต่างๆรอบตัว มีมุมมองที่กว้างขึ้น (expand perspective) และสามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ดีกว่า
3
นอกจากนั้นอ่านหนังสือยังทำให้เกิดการปะติดปะต่อ เชื่อมโยงแพทเทิร์น (pattern recognition) เรื่องที่มีหลักคล้ายๆกันได้ดีขึ้น ทำให้ความรู้และสมองยังคมและทันต่อโลก และท้ายที่สุดนั้นเป็นเรื่องของการฝึกวินัยในตัวเองที่จะต่อสู้กับสิ่งเร้าในโซเชียลแล้วมีสมาธิกับหนังสือได้อีกด้วย
3
ในอดีตนั้น ผู้นำที่เป็น “นักอ่าน” มีหลายครั้งได้ประโยชน์จากหนังสือและนำพาประเทศพ้นภัยมานักต่อนัก วินสตัน เชอรชิลล์อ่านกลยุทธ์สงครามหลายเล่ม
13
ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเขาหลายเรื่องในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้นำสหรัฐอย่างเคเนดี้เคยถึงกับบอกว่าหนังสือเรื่อง the gun of August มีส่วนช่วยอย่างมากที่ทำให้เขาหลีกเลี่ยงสงครามนิวเคลียร์ที่เฉียดฉิวมากๆ ในช่วงวิกฤตคิวบา รูสเวลท์ที่กู้เศรษฐกิจสหรัฐกลับมาจากช่วงตกต่ำครั้งใหญ่ก็อ่านหนังสือวันละเล่ม ลีกวนยูแห่งสิงคโปร์ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นนักอ่านตัวยงเช่นกัน
3
ผู้นำที่อ่านหนังสือกับไม่อ่านหนังสือนั้นต่างกันเยอะมาก ผมลองให้ chat gpt ลองไปกว้านสรุปมาให้ก็ได้ประเด็นที่ต่างกันอยู่มาก ประโยคแรกที่ GPT บอกคือว่าสองแบบนี้ต่างกันเหมือนกลางวันกับกลางคืนเลยนะนั่น ความต่างประการแรกก็คือมุมมองที่กว้างกว่ามากเมื่อเทียบกับผู้นำที่ไม่อ่านซึ่งจะมีแค่ประสบการณ์ตัวเองเป็นหลัก หลายครั้งก็จะแคบเหมือนม้าลำปาง (tunnel vision)
ประการที่สอง ผู้นำที่อ่านหนังสือมักจะมีปัญญา (wisdom) มีหลักการให้ยึดมากกว่าผู้นำที่ไม่อ่าน ซึ่งอาจจะฉลาดแต่หาความลึกได้ยากเวลาที่เจอเรื่องที่ซับซ้อน
2
ประการที่สาม ผู้นำที่อ่านหนังสือจะมีความเข้าอกเข้าใจในผู้อื่นมากกว่า การอ่านพวกชีวประวัติบุคคลก็จะช่วยให้เห็นมุมมองคนอื่นมากขึ้น ผู้นำที่อ่านก็มักจะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าเพราะได้เห็นเคสจากหลากหลายอุตสาหกรรมและมักจะคิดไกล คิดระยะยาวมากกว่าผู้นำที่ไม่อ่านที่จะมองอะไรสั้นๆ
1
ในมุมการเมืองระดับประเทศนั้น ผู้นำที่อ่านหนังสือจะเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์ เห็นความรุ่งเรืองและล้มเหลวของอาณาจักรในอดีตและจะสามารถ “หลบ” ภัยที่จะเกิดได้ดีกว่าผู้นำที่ไม่อ่านที่มักจะสร้างประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิมแล้วแถมคิดไปเองหลงไปเองอีกว่าเป็นไอเดียใหม่ที่ไม่มีใครคิดได้มาก่อน
1
ผู้นำที่อ่านหนังสือก็มักจะเรียนรู้จากนักคิดต่างๆที่มีกลยุทธ์ มีแผนระยะยาว ส่วนผู้นำที่ไม่อ่านก็มักจะตัดสินตามอารมณ์ เอาชนะแค่เฉพาะหน้า ไม่ได้คิดอะไรไกลๆ เท่าไหร่นัก
2
ผู้นำที่อ่านหนังสือมากจะมีลักษณะที่เป็นรัฐบุรุษ (statemanship) ที่มีวิสัยทัศน์ รวมใจคนให้เป็นหนึ่งได้ รู้จักหลักปกครอง ส่วนผู้นำที่ไม่อ่านมักจะพยายามโชว์ออฟ (showmanship) เน้นพีอาร์เป็นหลัก แต่จะแย่ๆมากเรื่องนโยบายสำคัญ ผู้นำที่อ่านมากก็จะมีความลึกซึ้งทางการเมือง รู้ว่านโยบายแต่ละนโยบายนั้นกระทบใคร เข้าใจเรื่องชนชั้นทางสังคมเมื่อเทียบกับผู้นำที่ไม่อ่านที่มักจะคิดอะไรกว้างๆ เห็นคนเหมือนกันหมด ทำเรื่องที่ซับซ้อนไม่ได้เลย
2
ท้ายสุด ผู้นำที่อ่านหนังสือเยอะก็มักจะเข้าใจระบบการทำงานระหว่างประเทศ ความขัดแย้ง วัฒนธรรมที่หลากหลายและได้รับการยอมรับในเวทีโลก ส่วนผู้นำที่ไม่อ่านจะไม่เข้าใจและมักจะมีนโยบายต่างประเทศที่อันตรายและสร้างความขัดแย้งสูงกว่ามาก
5
ผู้นำจีนอย่างสี จิ้น ผิงก็เป็นคนที่อ่านหนังสือมาก ในสุนทรพจน์ของสีหลายครั้งแสดงถึงการเป็นนักอ่าน มีกลิ่นอายของขงจื๊อ คาร์ล มาร์กซ และหนังสือคลาสสิคของจีนอยู่หลายเล่ม ส่วนผู้นำที่ขึ้นชื่อว่าไม่อ่านหนังสือเลยก็มีอย่างมาร์กอสของฟิลิปปินส์หรืออีดี้ อามิน แห่งอูกันดาที่ไม่รู้หนังสือด้วยซ้ำ
และคนสุดท้ายที่ขึ้นชื่อว่าไม่อ่านหนังสือเลย เดาไม่น่ายากถ้าอ่านมาถึงตรงนี้
4
“I’m not a big reader, I’ve never been” Donald Trump interview with Washington Post
4
“ He did’t read. He didn’t really even skim. Some believed that for all practical purposes, he was no more that semi-literate”.
10
Fire and Fury เป็นหนังสือที่ Michael Wolff เขียนถึงโดนัลด์ ทรัมป์
3
โฆษณา