Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTV Wealth
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 05:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ
พิษทรัมป์ สินค้าไทย! โคม่า ส่งออกมูลค่าสูญสะสม 8 แสนล้าน ใน 5 ปี
เปิดชื่อสินค้าที่กำลังจะโดนมรสุมทางเศรษฐกิจจากขึ้นภาษีตอบโต้เต็มรูปแบบ ของ ปธน.ทรัมป์ ครบ 90 วัน ไทยเจออัตราภาษีที่ 36% ถ้าเป็นแบบนี้ไปอีก 5 ปี มูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ จะค่อยๆ ลดลงสะสม 8 แสนล้านบาท
แม้ทรัมป์จะประกาศเลื่อนการขึ้นภาษีตอบโต้เต็มรูปแบบออกไปอีก 90 วัน แต่ก็จะไม่ช่วยให้ธุรกิจไทยรอดพ้นจากมรสุมทางเศรษฐกิจที่กำลังจะตามมา แต่ในช่วง 90 วันนี้ ที่การเก็บภาษีตอบโต้อยู่ที่ 10% เป็นเพียงการช่วยลดแรงกระแทกในระยะสั้นต่อภาคธุรกิจไทยได้บางส่วน ท้ายที่สุดแล้ว ภาคธุรกิจไทยก็จะยังคงต้องเผชิญกับผลกระทบที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากกฎกติกาการค้าโลกที่จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป
นโยบายภาษีตอบโต้ทรัมป์ส่งผลกระทบต่อธุรกิจไทยอย่างไร
โดยไม่ว่าผลการเจรจาจะออกมาในรูปแบบใด ธุรกิจไทยก็จะยังคงได้รับผลกระทบทั้งทางตรง ผ่านการส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ และทางอ้อม เช่น ควาต้องการสินค้าจากประเทศคู่ค้าต่างๆ จากไทยชะลอลง เช่น จีน แต่สินค้าจีนกลับมีแนวโน้มทะลักเข้ามาในไทยและตลาดโลกมากขึ้น เป็นต้น และสิ่งที่ต้องจับตาใกล้ชิด คือ การย้ายฐานการผลิตหรือชะลอการลงทุนในไทย ที่อาจส่งผลต่อภาคการส่งออกและผลิตของไทยได้
Money Trick จะพามาแยกรายธุรกิจว่า กลุ่มไหนได้รับผลกระทบมากที่สุด ไป น้อยที่สุด มากที่สุด ประมาณ 14 สินค้า คือ
ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบในระดับสูง คือ กลุ่มธุรกิจที่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ เป็นสัดส่วนสูง และมีโอกาสสูญเสียส่วนแบ่งตลาดจากการที่ไทยถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าคู่แข่งค่อนข้างมาก อีกทั้ง สหรัฐฯ ก็สามารถหาสินค้าทดแทนจากแหล่งอื่น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ ขณะที่กลุ่มธุรกิจของไทยที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานการผลิตจีนเพื่อการส่งออกไปสหรัฐฯ ก็จะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการชะลอตัวของการส่งออกของจีน เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก ยางพาราและไม้ยางพารา
นอกจากนี้ ธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกค่อนข้างมากจะเผชิญกับความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น อีกทั้ง ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบสูงยังเป็นกลุ่มที่จะเผชิญกับปัญหาสินค้าจีนทะลักเข้ามารุนแรงมากขึ้นจากปัญหา Overcapacity ของจีนที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ กลุ่มสินค้าเหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ เป็นต้น
ขณะที่กลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง เช่น กลุ่มสินค้าเกษตรอื่น ๆ ผักผลไม้สดและแปรรูป เนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป ยานยนต์ ถุงมือยาง เม็ดพลาสติก เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับมือกับสงครามการค้าที่มีแนวโน้มจะยืดเยื้อออกไป
แล้วผู้ประกอบการจะมีกลยุทธ์รับมืออย่างไร SCB EIC แนะนำกลยุทธ์ 4P รับมือแรงกดดันจากนโยบายของ Trump 2.0
Product : พัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์/แตกต่าง/สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า
Place : กระจายตลาด
Preparedness : บริหารความเสี่ยงในทุกมิติทั้ง Supply chain และ Balance sheet
Productivity : การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/wealth/economic/246834
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV Wealth :
https://www.facebook.com/PPTVWealth/
YouTube Wealth :
www.youtube.com/@PPTVWealth
สงครามการค้า
ภาษี
ส่งออก
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย