22 เม.ย. เวลา 04:29 • ประวัติศาสตร์

🎥ประวัติ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จ.ภูเก็ต NBT Phuket

By.🧍ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
สถานีโทรทัศน์ของศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 4 สุราษฎร์ธานี
รัศมีการแพร่ภาพ เขตบริการ และโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์
🎥🎥🎥🎥🎥🎥
ข้อมูล เมื่อเดือน สิงหาคม 2527
ณรงค์ ชื่นนิรันดร์ รวบรวม
เมื่อปี พ.ศ.2498 กรมประชาสัมพันธ์ได้ดำเนินการจัดตั้งสำนักงานประชาสัมพันธ์ขึ้นเป็นแห่งแรกในส่วนภูมิภาค ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้ชื่อว่า “สำนักงานประชาสัมพันธ์ภาคใต้” ทั้งนี้ โดยรัฐบาลในยุคนั้นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ และเพื่อต้องการให้ประชาชนชาวภาคใต้ ได้รับทราบถึงนโยบายผลงานของรัฐสู่ประชาชน ตลอดรวมทั้งข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง ในคราวเดียวกัน
ต่อมาในปี พ.ศ.2503 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น “สำนักประชาสัมพันธ์เขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี” และในปีพ.ศ.2504 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานและจัดระบบงานเป็นกองเรียกว่า“กองประชาสัมพันธ์เขตสุราษฎร์ธานี” สังกัดส่วนวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์
ต่อมาในปีพ.ศ.2518 ได้มีพระราชบัญญัติแบ่งส่วนราชการ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2518 ยุบกองประชาสัมพันธ์เขตสุราษฎร์ธานี เป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสถานีวิทยุกระจายเสียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นตรงต่อ ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 3 ที่มีที่ทำการอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
เนื่องจาก การขยายงานทั้งทางด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ได้ดำเนินไปอย่างกว้าขวาง ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้ มีลักษณะเป็นแผ่นดินแหลมยาวยื่นออกไป มีทะเลขนาบสองข้าง และมีภูเขาสลับซับซ้อนเป็นการยากยิ่งต่อการประสานงานติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมทางบก ทางเรือ ทางอากาศ หรือทางด้านการสื่อสาร
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ กรมประชาสัมพันธ์ โดยอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์จึงได้มีคำสั่งที่ 274/2520 ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2520 ให้พื้นที่ใน 7 จังหวัดส่วนเหนือของภาคใต้คือ จังหวัดชุมพร ระนอง ภูเก็ต พังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ และ นครศรธรรมราช อยู่ในความรับผิดชอบของนายสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้อำนวยการศูนย์
ในตำแหน่งผู้ช่วยผ้อำนวยการศูนย์รับผิดชอบในนโยบายหลักคือ ด้านการบังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ปฏิบัติหน้าที่ในด้านการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสาร ผลงานของรัฐสู่ประชาชน และจากประชาชนสู่รัฐ ด้วยการให้ความรู้ในด้านการศึกษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความรู้ในการดำรงชีพ และความบันเทิงแก่ประชาชนในเขต 7 จังหวัด โดยได้กำหนดให้มีการเรียกชื่อเป็นการภายในและทางราชการว่า ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 3 สุราษฎร์ธานี มีที่ทำการอยู่ที่ถนนดอนนก อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ภาคใต้เป็นภาคที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดีกว่าภาคอื่น ๆ อำนาจในการซื้อของประชาชนต่อรายหัวก็มีมากกว่าภาคอื่น ๆ เช่นเดียวกัน เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของภาคใต้แตกต่างกว่าภาคอื่น ๆ ของประเทศ ดังได้กล่าวมาแล้ว
ดังนั้น จึงเป็นอุปสรรคอย่างสำคัญยิ่งในการดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์ โดยการใช้สื่อทั้งทางด้านวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2526 ทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ จัดแบ่งงานของกรมประชาสัมพันธ์เฉพาะทางภาคใต้ออกเป็นสองส่วน คือ ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 3 สงขลา (ตั้งอยู่หาดใหญ่) ซึ่งมีภารกิจควบคุมบังคับบัญชาหน่วยงานต่าง ๆ ของวิยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ในเขตพื้นที่ภาคใต้ส่วนล่าง
และศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 4 สุราษฎร์ธานี มีภารกิจดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ปฏิบัติภารจิตวิทยาให้ความรู้ ความบันเทิง ควบคุมบังคับบัญชาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ในเขตพื้นที่ภาคใต้ส่วนบน
ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 4 ตั้งอยู่ที่ถนนดอนนก ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีฐานะเทียบเท่ากอง สังกัดราชการส่วนกลางกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ส่วนบน 7 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง กระบี่ พังงา นครศรธรรมราช และจังหวัดภูเก็ต
นอกจากจะมีภารกิจรับผิดชอบงานด้านการประชาสัมพันธ์ของรัฐแล้ว ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 4 ยังมีเครื่องมือสื่อสารทั้งวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อกระจายข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง ไปยังมวลชนต่าง ๆ อีกด้วย
สำหรับวิทยุกระจายเสียงในปัจจุบันนี้ ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 4 มีสถานีอยู่ในสังกัด 11 สถานี เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงในระบบ AM 8 สถานี คือ ชุมพร ระนอง กระบี่ พังงา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต และที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มีสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบ FM 3 สถานี คือ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และ ภูเก็ต
ทางด้านสถานีโทรทัศน์แต่เดิมมี 2 สถานี คือ ที่จังหวีดสุราษฎร์ธานี และที่ จังหวัดสงขลา
แต่ด้วยเหตุที่สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นอุปสรรค ต่อการขยายเขตบริการให้ไปได้กว้างไกล กรมประชาสัมพันธ์จึงได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ขึ้นอีก 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ จังหวัดชุมพร ทั้งนี้ก็โดยจุดประสงค์ที่จะให้การแพร่ข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิงได้กว้างไกลเข้าถึงมวลชนได้มากขึ้นกว่าเดิม
ซึ่งในปัจจุบันนี้แทบจะกล่าวได้ว่า เขตบริการของสถานีโทรทัศน์ของศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 4 สุราษฎร์ธานี สามารถขยายเขตบริการครอบคลุมพื้นที่เกือบจะทั้งหมด ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนและในบางส่วนของพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง เช่นจังหวัดตรัง เป็นต้น
เพื่อความเข้าใจของท่านเกี่ยวกับกิจการของสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สุราษฎร์ธานี จึงใคร่ขอกล่าวถึงประวัติความเป็นมา ตลอดจนการปรับปรุงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพอเป็นสังเขป ดังนี้
สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สุราษฎร์ธานี เริ่มดำเนินการแพร่ภาพภายหลังการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2511 เป็นระบบขาว ดำ 525 เส้น ในช่อง 9 มีกำลังส่งเพียง 500 วัตต์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2519
ได้ดำเนินการปรับปรุงขยายกำลังส่งโดยทำการย้ายเครื่องส่งขึ้นไปติดตั้งบนเขาท่าเพชร ซึ่งห่างจากตังเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ติดตั้งเครื่องเพิ่มกำลังส่ง โดยป้อนสัญญาณภาพและเสียงจากห้องส่งที่ถนนดอนนก ไปยังเขาท่าเพชรด้วยระบบไมโครเวฟ เพื่อให้การแพร่ภาพไปได้ไกลขึ้น
จึงได้ดำเนินการสร้างสถานีถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ที่เขาม่วง ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เพื่อรับสัญญาณจากช่อง 7 สุราษฎร์ธานี แพร่ภาพในเขตพื้นที่อำเภอหลังสวน และอำเภอเมืองชุมพร ในช่อง 10
อย่างไรก็ดีแม้นว่าจะได้มีการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ถ่ายทอดดังกล่าวแล้ว ก็ไม่อาจจะขยายเขบริการครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดชุมพรได้ ทั้งหมด อีกทั้งการแพร่ภาพก็ยังเป็นระบบขาวดำ 525 เส้น จึงไม่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมเท่าที่ควรดังนั้น ในปี พ.ศ.2519 จึงเปลี่ยนจากระบบขาวดำ 525 เส้น มาเป็น ระบบสี 625 เส้น
ในปี พ.ศ.2527 ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต 4 ได้รับงบประมาณในการดำเนินงานปรับปรุงเครื่องส่งในวงเงิน 11,485,000 บาท จึงได้ดำเนินการเรียกประกวดราคาซื้อเครื่องส่ง ซึ่ง บริษัท ล๊อกเลย์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นบริษัทที่ประกวดราคาได้ เครื่องส่งดังกล่าวนี้เป็นเครื่องส่งสีระบบ CCIR 625 เส้น ผลิตโดย บริษัท แฮร์ริส สหรัฐอเมริกา มีขนาดกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ เริ่มดำเนินการติดตั้งเมื่อวันที่ 12 มีนาคม แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม และ ได้เริ่มดำเนินการแกอากาศแพร่ภาพในเดือนเดียวกัน
ก่อนการเปลี่ยนเครื่องส่งใหม่ เขตบริการครอบคลุมพื้นที่ในเขตเกือบจะทุกอำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่สามารถรับชมได้อย่างชัดเจน สำหรับในด้านเหนือของจังหวัดสุราษฎร์ธานี สามารถรับชมได้ในเขตพื้นที่อำเภอหลังสวน อำเสวี และบางส่วนของอำเภอเมือง ทางด้านทิศใต้สามารถรับชมได้เขตอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภออื่น ๆ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เช่น อำเภอขนอม อำเภอสิชล และอำเภอท่าศาลา เป็นต้น
ภายหลังการเปลี่ยนเครื่องส่ง ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ได้ออกอากาศขอให้ผู้ชมได้แจ้งผลการรับชมมายังสถานีและจากผลของการตรวจของช่างเทคนิค เอง ผลปรากฏว่าสามารถขยายเขตบริการไปได้ไกลกว่าเดิมเป็นอันมาก กล่าวคือ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้ง 17 อำเภอ สามารถรับชมได้อย่างชัดเจน ส่วนจังหวัดอื่น ๆ พอแยกสรุปได้ดังนี้
จังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถรับชมได้ชัดเจนที่อำเภอฉวาง อำเภอทุ่งสง อำเภอพิปูน อำเภอนาบอน อำเภอขนอม อำเภอท่าศาลา และบางส่วนของอำเภอเมือง
จังหวัดชุมพร ที่อำเภอเมือง อำเภอหลังสวน อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอพะโต๊ะ อำเภอปะทิว สามารถรับชมได้ชัดเจนดี
🎬🎥🎬🎥🎬🎥
หมายเหตุ
รวบรวมโดย..ณรงค์ ชื่นนิรันดร์..จากเอกสารบรรยายสรุป..ขนาดกระดาษ A5 เมื่อสิงหาคม 2527
โฆษณา