Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
A Broad vot
•
ติดตาม
3 ชั่วโมงที่แล้ว • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ภาพที่สวยเว่อร์
'K2-18b' ดาวเคราะห์นอกระบบที่โด่งดังตอนนี้ 🪐แต่รู้ไหมทั้งหมดคือ จินตนาการ
มีแค่ดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุริยะจักรวาลของ
ระบบดาว *HR 8799* ที่กล้องโทรทัศน์อวกาศ
ถ่ายมาได้ แล้วก็เป็นเจมส์ เว็บบ์อีกนั่นแหละ
ถึงจะผ่านกระบวนการปรับแต่ง เพื่อเพิ่มความคมชัด แยกแสงดาวเคราะห์ออกจากแสงของดาวฤกษ์แม่ ให้เห็นรายละเอียดได้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้ภาพ
ที่เราเห็น “ดูดีขึ้น” กว่าภาพดิบที่กล้องจับได้จริง
(ภาพที่ ถ่ายจากเจมส์เว็บบ์ 🔭📡
ออกมาสวยแบบนั้นเลยหรือ ❓❓)
https://www.facebook.com/share/p/1AMW5MWmn9/
แล้วศิลปินวาดจักรวาล พาเราไปสู่โลกแปลกใหม่ ดาวเคราะห์นอกระบบกัน อย่างไร ⁉️
หากเคยนึกเล่นๆ ว่า “ดาวเคราะห์นอกระบบ” หน้าตาจะเป็นยังไงกันแน่ บ้างจินตนาการถึง
ดาวลูกไฟสีม่วง มีวงแหวนคริสตัลและทะเลสีมรกต
ที่ลอยอยู่ในจักรวาลไร้ขอบเขต
แต่เดี๋ยวก่อน นี่ไม่ใช่ฉากจากหนังไซไฟ
นี่คือสิ่งที่ศิลปินวาดขึ้นจากข้อมูลจริง
ศิลปินผู้วาดภาพ 🪄 🖼️
ดาวเคราะห์นอกระบบ 🪐🌔🌕
ไม่ได้วาดแบบ “มโนล้วน” แต่อาศัยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาเป็นพื้นฐานก่อนจะเติม “เวทมนตร์แห่งจินตนาการ” เข้าไป ต้องศึกษามวล รัศมี และองค์ประกอบทางเคมีของดาว เฝ้าดูว่าดาวนั้นอยู่ห่างจากดาวแม่แค่ไหน (เพราะระยะห่างแปลว่าอุณหภูมิจะร้อนจี๋หรือหนาวยะเยือก) รวมถึงเช็กว่าสเปกตรัมของดาวเคราะห์มีมีเทนหรือไอน้ำบ้างไหม เพื่อใช้เลือกสีและออกแบบบรรยากาศให้ดูเหมือนจริงที่สุด
(อินโฟกราฟิกสุดอลังฯ ผลงานอันน่าทึ่ง 🪨🪨
สวนสัตว์ดาวเคราะห์ โลกหินและน้ำแข็ง 🌏🌕🪐)
https://www.facebook.com/share/p/165fAhWTkr
🌔 หากดาวเคราะห์มี ก๊าซมีเทนเยอะ ก็อาจถูกแต่งเติมให้เป็นดาวเคราะห์สีเขียวมรกตที่มีหมอกลอยฟุ้ง หรือถ้าอยู่ใกล้ดาวฤกษ์จนผิวเกือบละลาย ก็อาจเห็นพื้นผิวแดงเพลิงแบบลาวาปะทุ! แต่ถ้าข้อมูลยังมีน้อย ศิลปินก็เปิดโหมด “เติมฝัน” อย่างเต็มที่ เพิ่มภูเขาแก้ว ทะเลมีเทน หรือแม้กระทั่งต้นไม้ต่างดาวที่
ส่องแสงในความมืด เพื่อสร้างภาพให้ดูอลังการ
และน่าหลงใหล
หนึ่งในระบบที่ทำให้นักดาราศาสตร์และศิลปินใจเต้นแรงที่สุดคือ "" ระบบ HR 8799"" ชื่ออาจฟังดูเหมือนรหัส Wi-Fi แต่จริงๆ แล้วนี่คือระบบดาวที่มีดาวเคราะห์ถึง 4 ดวง ซึ่งมนุษย์ถ่ายภาพจริงได้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากสุดๆ ในวงการดาราศาสตร์ เพราะดาวเคราะห์ส่วนใหญ่มักถูกค้นผ่านวิธีทางอ้อม ไม่ค่อยได้เห็นหน้าชัดๆ แบบนี้
(ภาพจริง ที่ถ่ายดาวเคราะห์นอกระบบ
ได้เป็นครั้งแรก ของมนุษย์ 🌑🔭)
https://www.facebook.com/share/p/12J2JEpesh9/
🌔 ดาวเคราะห์ในระบบนี้มีชื่อเรียบง่ายว่า HR 8799 b, c, d และ e คือเหล่าซูเปอร์จูปิเตอร์ มีมวลใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีถึง 4-10 เท่า และโคจรรอบดาวแม่ในระยะห่างระดับ “ซูเปอร์ไกล” ตั้งแต่ 14.5 ไปจนถึง 68 AU (1 AU = ระยะจากโลกถึงดวงอาทิตย์) และด้วยความที่ระบบนี้ยังมีอายุน้อยแค่ประมาณ 30 ล้านปี ดาวเคราะห์ทั้ง 4 ยังคงร้อนระอุจากการก่อตัว ทำให้มองเห็นได้ง่ายในช่วงแสงอินฟราเรด
และเมื่อกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์
หันมามองระบบนี้ ก็สามารถตรวจสอบองค์ประกอบในชั้นบรรยากาศของแต่ละดาวได้ เช่น การมีอยู่
ของมีเทน คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือแม้แต่เมฆฝุ่น
แถมระบบ HR 8799 ยังมีแผ่นฝุ่นขนาดใหญ่
คล้ายแถบไคเปอร์อีกด้วย
แต่ในขณะที่ HR 8799
โชว์หน้าตาออกสื่อ ดาวเคราะห์นอกระบบอีกมากมายยังซ่อนตัวอยู่ภายใต้แสงจ้าของดาวแม่
และหนึ่งในนั้นคือ ‼️K2-18b‼️
ดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามในขณะนี้จากการที่ JWST ตรวจพบ “โมเลกุลอินทรีย์” ในชั้นบรรยากาศ เช่น มีเทนและไอน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามที่เรารู้จัก
(หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับชีวิตนอกโลก 🌌🌠
ที่ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์เว็บบ์ 🔭 🧬🌱🍃)
https://www.facebook.com/share/p/1BVackvfo7/
คำถามคือ⁉️⁉️⁉️ ▪️▪️◾
ถ้าเรารู้ว่ามี *มีเทน* ในอากาศของ K2-18b
แล้ว ทำไมเรายังไม่เห็นภาพจริงของดาวดวงนี้
คำตอบนั้นอยู่ที่▪️▪️◾
เทคนิคที่ใช้ต่างกันโดยสิ้นเชิง JWST ตรวจจับ
องค์ประกอบของ K2-18b ผ่านวิธีทางอ้อมที่เรียกว่า **transit spectroscopy** โดยวิเคราะห์แสงดาวฤกษ์เมื่อดาวเคราะห์โคจรพาดผ่านหน้าดาวแม่ แสงบางส่วนจะกรองผ่านชั้นบรรยากาศ ทำให้เรามองเห็นลายเซ็นของโมเลกุลต่างๆ ได้ แต่กระบวนการนี้ 'ไม่ใช่การถ่ายภาพ' จึงไม่สามารถบอกหน้าตาของดาวเคราะห์ได้โดยตรง
ในทางกลับกัน การถ่ายภาพโดยตรงจำเป็นต้องแยกแสงอ่อนจางของดาวเคราะห์ออกจากแสงจ้าของดาวฤกษ์ ซึ่งยากมากสำหรับดาวเคราะห์ที่โคจรใกล้ดาวแม่เหมือน K2-18b และอยู่ไกลจากโลกถึงกว่า 120 ปีแสง ด้วยขนาดที่เล็กกว่า HR 8799 b,c,d,e และอยู่ชิดกับดาวแม่ในระดับ 0.15 AU กล้องจึงยังไม่สามารถแยกภาพให้เห็นได้ชัดเจนพอ
ดังนั้น▪️▪️◾ ภาพของ K2-18b ที่เราเห็นอยู่
ทุกวันนี้ล้วนแล้วแต่เป็น “ภาพจำลองโดยศิลปิน”
ที่อิงจากข้อมูลสเปกตรัมและฟิสิกส์เท่าที่เรารู้ ยังไม่มีภาพถ่ายจริงปรากฏให้เห็นเหมือน *HR 8799*
แต่ถึงแม้เราจะยังไม่เห็นด้วยตาเปล่า เราก็ได้ “สัมผัส” โลกเหล่านั้นผ่านแสงที่เดินทางข้ามอวกาศนับร้อยปีแสง และจินตนาการที่ศิลปินช่วยถักทอขึ้นจากข้อมูลดิบทางวิทยาศาสตร์
➖➖➖➖➖➖➖➖➖228/2025➖➖➖➖
หรือ⁉️ เราทุกคนติดอยู่ในสวนสัตว์ 🪐☀️
ปรากฎการณ์*แฟร์มี* ▪️▪️◾ทุกคนอยู่ที่ไหน❓
https://www.facebook.com/share/p/156fTUSYR1
ลองจินตนาการ 🌏🛂 ✈️
ถ้าโลกของเรากลายเป็น K2-18b ขนาดยักษ์!
https://www.facebook.com/share/p/1Bhr5Uatim/
ภารกิจสุดยิ่งใหญ่ ตามล่าหาโลกที่อยู่อาศัยได้
ใบที่ 2 🌐🌏 ** Earth 2.0** 📡🇨🇳
https://www.facebook.com/share/p/1E9qaRzaMz/
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย