Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
23 เม.ย. เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
พามารู้จัก "ชันโรง" เกษตรกรนักผสมเกสรในผืนป่า
ผึ้งชันโรง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Stingless bees ที่แปลเป็นภาษาไทยตรงตัวว่า ผึ้งที่ไร้เหล็กใน ผึ้งชนิดนี้จึงเป็นผึ้งที่ไม่สามารถใช้เหล็กในเพื่อป้องกันตัวเองหรือ “ต่อย” ได้
แต่ในบางชนิดจะมีกรามที่แข็งแรงและสามารถกัดให้เจ็บปวดได้ บางสายพันธุ์มีต่อมกรามขนาดใหญ่สำหรับหลั่งสารป้องกันตัวที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ปล่อยกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ หรือใช้วัสดุเหนียวเพื่อทำให้ศัตรูเคลื่อนไหวไม่ได้
ชันโรง พบได้ในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนส่วนใหญ่ของโลก เช่น แอฟริกาเขตร้อน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย และอเมริกาเขตร้อน มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ โดยเป็นแมลงผสมเกสรที่สำคัญและช่วยรักษาระบบนิเวศให้สมบูรณ์
พฤติกรรมการสร้างรังของชันโรงแต่ละสายพันธุ์จะมีความแตกต่างกันบ้าง โดยจะสร้างรังในหลายพื้นที่ เช่น ในลำต้นไม้ที่กลวง หรือสร้างรังภายนอกลำต้นไม้ ในดิน หรือแม้แต่ผนังอาคารบ้านเรือน ความสามารถในการปรับตัวนี้แสดงให้เห็นถึงความทนทานและความสามารถในการอยู่ร่วมกับกิจกรรมของมนุษย์
ข้อมูล : สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ที่มา : อุทยานแห่งชาติคลองลาน - Khlong Lan National Park จังหวัดกำแพงเพชร สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)
#ชันโรง #อุทยานแห่งชาต่คลองลาน #กำแพงเพชร #กรมอุทยานแห่งชาติ
บันทึก
7
4
7
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย