23 เม.ย. เวลา 10:24 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

จิตเราอาจเป็นกลไกควอนตั้ม เอ้า ! นี่มัน Doctor Strange ป่ะเนี่ย

ที่มา : FB Theory of everything
นักวิจัยจากโครงการ Blue Brain Project นำโดย Henry Markram ได้ใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์ขั้นสูงในการศึกษารูปแบบการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท พวกเขาค้นพบว่า กลุ่มของเซลล์ประสาทสามารถรวมตัวกันเป็นโครงสร้างทางเรขาคณิตที่ซับซ้อน ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้มีอยู่ในมิติต่าง ๆ ตั้งแต่ 1 มิติ ไปจนถึง 11 มิติ
"มิติ" ที่พูดถึงนี้ ไม่ได้หมายถึงพื้นที่ทางกายภาพ แต่หมายถึงระดับความซับซ้อนในการเชื่อมโยงกันของเซลล์ประสาทนั่นเอง
เวลาที่สมองประมวลผลข้อมูล — มันจะสร้างโครงสร้างที่มีมิติสูงเหล่านี้ขึ้นมา และเมื่อกระบวนการคิดเสร็จสิ้น โครงสร้างเหล่านั้นก็จะ “พังทลาย” หรือสลายไป
แล้วอะไรคือ “โครงสร้างที่มีมิติสูง” ในสมอง?
ก่อนอื่นต้องบอกว่า "มิติ" ที่พูดถึง ไม่ได้หมายถึงมิติกายภาพแบบกว้าง ยาว สูง
แต่มันคือ ระดับของความซับซ้อนในการเชื่อมต่อกัน ของเซลล์ประสาทจำนวนมาก
ที่โยงหลายกลุ่ม หลายเส้น หลายชั้นของเซลล์ประสาทเข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน
แล้วทำไมมันถึง “พังทลาย” หลังจากประมวลผล?
คิดง่ายๆ คือการคิด = การสร้างเลโก้ พอคิดจบ สมองก็รื้อเลโก้ชิ้นนั้นเก็บไว้ หรือใช้ชิ้นส่วนไปต่อรูปแบบอื่นต่อ
มาต่อกันที่การวิจัยนี้
การค้นพบนี้เผยให้เห็นว่า ความสามารถของสมองในการจัดระเบียบและประมวลผลข้อมูล นั้นซับซ้อนกว่าที่เราเคยเข้าใจไว้มาก และอาจช่วยอธิบายถึงฟังก์ชันทางปัญญาที่ลึกซึ้ง เช่น ความจำ การตระหนักรู้ ไปจนถึงสภาวะของ “จิตสำนึก” ได้
สมองเราไม่ใช่แค่แผงวงจร
แต่มันคือ จักรวาลจำลอง ที่มี กฎฟิสิกส์ภายในตัวมันเอง
น่าคิด !
ถ้าสมองมนุษย์ รับรู้ได้ทุกมิติในควอนตัม — บอกได้เลยว่า โลกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป!
โฆษณา