24 เม.ย. เวลา 02:58 • การเมือง

“สงครามการค้า” จะกลายเป็น “สงครามร้อน” ได้หรือไม่ ส่องบทเรียนในอดีต

ความสัมพันธ์ทางการทหาร “จีน” กับ “รัสเซีย” มากน้อยขนาดไหน
สงครามภาษีศุลกากรที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของประธานาธิบดีทรัมป์กับจีนอาจกลายเป็นสงครามร้อนระอุที่ระเบิดลงบนแผ่นดินอเมริกาและจีนได้หรือไม่? ตัวชี้วัดที่เป็นเชิงบวกก็คือ ในอดีตสงครามภาษีศุลกากรหรือสงครามเศรษฐกิจส่วนใหญ่ไม่ได้กลายเป็นสงครามร้อนระอุ ส่วนข่าวร้ายก็คือแต่มีบางสงครามการค้าในอดีตที่กลายเป็นสงครามร้อนระอุไปแล้ว
ตามที่ Max Boot คอลัมน์นิสต์ของวอชิงตันโพสต์ได้เขียนบทความเผยแพร่เมื่อไม่นานนี้ ประเด็นนี้ได้รับการรีวิวอย่างละเอียดในหนังสือชื่อ Destined for War: Can the U.S. and China Escape Thucydides’s Trap? เขียนโดย “เกรแฮม อลิสัน” ตีพิมพ์เมื่อ 8 ปีที่แล้ว หรือในปี 2017 ซึ่งเป็นช่วงที่ประธานาธิบดีทรัมป์เข้าทำเนียบขาวเป็นครั้งแรก - เกรแฮม อลิสัน เป็นศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ที่ฮาร์วาร์ด และ เป็นนักวิจารณ์การเมืองที่โดดเด่น
ขอสรุปสั้นๆ เลยตามนี้
  • ในบรรดากรณีศึกษาของอลิสัน มีกรณีที่คล้ายกันที่น่าวิตกกังวลที่สุดคือ “การเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น ครั้งสมัยสงครามโลก” ที่เริ่มต้นด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่กำหนดเป้าหมายการนำเข้าเศษโลหะและเชื้อเพลิงเครื่องบินไปยังญี่ปุ่น
  • จากนั้นสถานการณ์ก็ลุกลามบานปลายไปถึงระดับขีดจำกัดของวัตถุดิบต่างๆ เช่น เหล็ก ทองเหลือง ทองแดง และสุดท้ายคือน้ำมัน และตามที่หนังสือของอลิสันเขียนไว้ว่า “การคว่ำบาตรน้ำมันที่คุกคามจะบีบคั้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นต้องเสี่ยงอันตรายด้วยการโจมตีกองเรือสหรัฐฯ ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์”
อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่า บริบทที่ใช้ในสมัยสงครามโลกกับสมัยปัจจุบันมีความแตกต่างกัน ในด้านของภูมิรัฐศาสตร์โลกที่เปลี่ยนไป ด้านเทคโนโลยี ด้านการขนส่ง เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นอาจจะไม่เป็นจริงเกิดขึ้นในตอนนี้ก็เป็นได้
เครดิตภาพ: Get Educated
  • “ความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างจีนและรัสเซียมีความลึกซึ้งเพียงใด” บทความโดย Brian Hart, Bonny Lin, Matthew P. Funaiole, Samantha Lu, Hannah Price, Nicholas Kaufman และ Gavril Torrijos, ChinaPower Project, CSIS, เผยแพร่เมื่อเมษายน 2025
  • ตามที่กลุ่มนักเขียนของ CSIS ระบุไว้ การขายอาวุธของรัสเซียมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงกองทัพจีนให้ทันสมัย โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษปี 1990 และต้นทศวรรษปี 2000 เมื่ออาวุธนำเข้าของจีนมากกว่า 80% มาจากรัสเซีย
  • กลุ่มนักเขียนของ CSIS สังเกตว่าความสัมพันธ์ทางทหารมีความตึงเครียดเกิดขึ้น เนื่องจากการขโมยไอเดียและการวิศวกรรมย้อนกลับของเทคโนโลยีด้านกลาโหมของรัสเซียซ้ำแล้วซ้ำเล่าของจีน โดยบริษัทการป้องกันประเทศของรัสเซีย Rostec กล่าวหาจีนว่า มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเกินกว่า 500 คดีระหว่างปี 2002 ถึง 2019
  • ในช่วงหลังมานี้ อันเนื่องมาจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกและสงครามในยูเครน รัสเซียจึงต้องพึ่งพาจีนมากขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนขององค์ประกอบด้านการกลาโหมที่สำคัญ โดยผู้เชี่ยวชาญของ CSIS สังเกตว่าการพึ่งพาที่มากขึ้นนี้อาจช่วยเพิ่มอิทธิพลของปักกิ่งในการได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ละเอียดอ่อนของรัสเซีย
  • การซ้อมรบร่วมระหว่างรัสเซียและจีนเพิ่มขึ้นทั้งในด้านความถี่และขอบเขตนับตั้งแต่ปี 2003 โดยทำหน้าที่เป็นเสาหลักสำคัญของความร่วมมือระหว่างจีนและรัสเซีย และช่วยให้จีนได้รับประสบการณ์ด้านปฏิบัติการและรับมือภัยคุกคามด้วยการยับยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก ตามที่ผู้เขียน CSIS ระบุ
  • ขณะที่ศักยภาพทางทหารของจีนเติบโตขึ้น นักวิเคราะห์ของ CSIS เน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้นำในการซ้อมรบร่วม เช่น การซ้อมรบ Zapad/Interaction ในปี 2021 ซึ่งจีนเป็นผู้นำการปฏิบัติการ ซึ่งเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนบทบาทที่อาจเกิดขึ้นกับจีนในฐานะหุ้นส่วนเก่าแก่ในการร่วมมือในอนาคต
เรียบเรียงโดย Right Style
24th Apr 2025
  • อ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Collective Evolution>
โฆษณา