Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SCB Thailand
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
27 เม.ย. เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สหรัฐฯ ตั้งภาษีโซลาร์เซลล์ไทยสูงสุด 972% กดดันส่งออกหดตัวใกล้ศูนย์ภายในปี 2026
วันที่ 21 เมษายน 2025 สหรัฐฯ ประกาศอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (AD)
และการอุดหนุน (CVD) ขั้นสุดท้ายต่อแผงโซลาร์เซลล์และชิ้นส่วนจากไทย การส่งออกแผงโซลาร์เซลล์และชิ้นส่วนของไทยไปสหรัฐฯ ที่เติบโตกว่า 47 เท่าในช่วงปี 2015 – 2023 เป็นผลพวงมาจากการย้ายฐานการผลิตของผู้ประกอบการจีนมายังไทย ส่งผลให้สหรัฐฯ ตั้งข้อสังเกตว่าจีนใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อหลบเลี่ยงภาษีในการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และนำมาสู่การไต่สวนข้อร้องเรียนการทุ่มตลาดและการอุดหนุนของไทยมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2024
7
จนกระทั่งในช่วง ตุลาคม - พฤศจิกายน 2024 ได้มีการประกาศอัตราภาษี AD/CVD ขั้นต้น ก่อนที่จะประกาศภาษี AD/CVD ขั้นสุดท้ายในวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา โดยภาษี AD/CVD ขั้นสุดท้ายที่ไทยถูกเรียกเก็บมีอัตรารวมสูงถึง 375.19% – 972.23% ซึ่งสูงกว่าอัตราภาษีที่ประกาศขั้นต้นอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น บริษัทซันไชน์ อิเลคทริคอล และไท่ฮั้ว นิว เอ็นเนอร์ยี ถูกเรียกเก็บภาษีขั้นสุดท้ายในอัตราสูงสุดถึง 972.23% จากขั้นต้นที่ถูกเรียกเก็บที่ 189.20%
2
ขณะที่บริษัทอื่น ๆ ของไทยถูกเรียกเก็บในอัตรา 375.19% จากขั้นต้นที่ถูกเรียกเก็บที่ 80.72% ซึ่งการถูกเรียกเก็บ AD/CVD จากสหรัฐฯ ในอัตราที่สูงดังกล่าวจะกระทบต่ออุตสาหกรรมส่งออกโซลาร์เซลล์ของไทยอย่างรุนแรง เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกแผงโซลาร์เซลล์และชิ้นส่วนที่สำคัญของไทย โดยไทยพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ ราว 90% ของมูลค่าการส่งออกแผงโซลาร์เซลล์และชิ้นส่วนทั้งหมด
2
SCB EIC ประเมินการส่งออกแผงโซลาร์เซลล์และชิ้นส่วนจากไทยไปสหรัฐฯ มีแนวโน้มหดตัวใกล้ศูนย์ในช่วงปี 2026 จากปัจจัยสำคัญ 2 ด้าน คือ
1) ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคา เมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตในเอเชียที่ไม่ได้ถูกเก็บภาษีจากการที่ไม่โดนข้อกล่าวหาว่ามีการอุดหนุนการผลิตและประกอบชิ้นส่วนจากจีนเพื่อส่งออก เช่น ลาว, อินโดนีเซีย, อินเดีย และเกาหลีใต้ รวมถึงเสียเปรียบด้านอัตราภาษีเมื่อเทียบกับมาเลเซียและเวียดนาม ซึ่งถูกเก็บภาษีขั้นต่ำเพียง 14.64% และ 120.69% ขณะที่ไทยอยู่ที่ 375.19% แม้แต่บริษัททั่วไปยังต้องเผชิญภาษีสูงกว่ามาเลเซียถึงกว่า 10 เท่า
2
2) ผลกระทบจากภาษีขั้นต้นได้เริ่มส่งผลอย่างชัดเจนแล้ว โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2024 ที่เริ่มบังคับใช้ภาษี AD/CVD ไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ อย่างรุนแรง จาก 28% ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2024 เหลือเพียง 6% ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2025 ขณะที่คู่แข่งอย่างอินโดนีเซียขยับขึ้นจาก 2% เป็น 16% ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทยในไตรมาสแรกของปี 2025 หดตัว 52%YOY เหลือเพียง 12,623 ล้านบาท ซึ่งอัตราภาษีขั้นสุดท้ายที่สูงกว่าขั้นต้นมาก จะทำให้การส่งออกไปสหรัฐฯ มีแนวโน้มหายไปเกือบทั้งหมดภายในปี 2026
SCB EIC มองว่าผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์และชิ้นส่วนสามารถดำเนินการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ผ่าน 3 แนวทาง ดังนี้
1. การเข้าไปเป็น Supplier สินค้าขั้นกลาง ให้กับโรงงานผลิตโซลาร์เซลล์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบเรื่องสงครามการค้าของสหรัฐฯ ต่ำ เช่น การผลิตชิ้นส่วนกลางน้ำส่งให้โรงงานในอินเดียเพื่อประกอบเป็นแผงโซลาร์เซลล์ เป็นต้น
2. เร่งขยายตลาดการส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่มีศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่โดดเด่น เช่น อินเดียประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง กลุ่มทวีปยุโรปและออสเตรเลีย
3. ขยายรายได้ไปในธุรกิจผลิตพลังงานสะอาดทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยอาศัยความได้เปรียบเชิงต้นทุนและประสบการณ์ในกลุ่มธุรกิจพลังงานสะอาดเพื่อขยายรายได้
1
ภาครัฐควรเร่งปรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับบริบทการค้าโลก
ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรเร่งปรับแนวทางการส่งเสริมการลงทุน ให้สอดคล้องกับบริบทการค้าระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการคัดกรองและตรวจสอบโรงงานที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยให้ดำเนินการตามกฎระเบียบส่งเสริมการลงทุนของไทย กฎระเบียบการค้าของโลกและประเทศคู่ค้า
1
รวมถึงการติดตามโครงการที่อาจถูกมองว่าเป็น “ฐานการผลิตทางอ้อม” ของประเทศคู่ขัดแย้ง เช่น จีน เพื่อให้สามารถตรวจสอบการผลิตสินค้าให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนของไทยและกฎระเบียบการค้าของประเทศคู่ขัดแย้ง ซึ่งจะช่วยป้องกันการนำไปสู่การตกเป็นเป้าของมาตรการกีดกันทางการค้าในอนาคต
2
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับออนไลน์ได้ที่…
อ่านเพิ่มเติม
scbeic.com
Flash / สหรัฐฯ ตั้งภาษีโซลาร์เซลล์ไทยสูงสุด 972% กดดันส่งออกหดตัวใกล้ศูนย์ภายในปี 2026 | SCBEIC
มาตรการภาษีตอบโต้ทุ่มตลาด (AD) และการอุดหนุน (CVD) ของสหรัฐฯ ถือเป็นหนึ่งในกำแพงการค้าที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายปี
ท่านผู้นำเสนอบทวิเคราะห์
จิรวุฒิ อิ่มรัตน์, นักวิเคราะห์อาวุโส, ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)
ดร.เกียรติศักดิ์ คำสี, นักวิเคราะห์อาวุโส, ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)
20 บันทึก
40
7
54
20
40
7
54
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย