25 เม.ย. เวลา 10:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

กูรูส่องโอกาส กนง. หั่นดอกเบี้ย 30 เม.ย. นี้ หลังสงครามการค้าฉุด GDP

โบกรประเมินการประชุม กนง. วันที่ 30 เม.ย.68 นี้ มีโอกาสเห็นการปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% เหลือ 1.75% หลังเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง ชี้กระทบ NIM-สินเชื่อ กลุ่มแบงก์แน่
นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด (Liberator) เปิดเผยว่า จากกรณีที่หลายหน่วยงานออกมาปรับคาดการณ์ตัวเลข GDP ประเทศไทยลง เพื่อสอดรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน เพราะต้องยอมรับว่าตัวแปลสำคัญที่สุดในเวลานี้คือนโยบายภาษีตอบโตของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ การประมาณการ GDP ประเทศไทยในปี 2568 ลดลงมาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 1-2% หลังจากที่ไทยถูกปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากการสหรัฐฯ สูงถึง 36% จากเดิมที่คาด GDP ไว้ที่เฉลี่ย 2.5-3% หรือลดลงมากว่า 1% โดยหากว่าผลของการเจรจาเป็นไปในทิศทางที่ดี ตัวเลข GDP ปีนี้อาจอยู่ที่กรอบบน 2% กว่าๆ
ในทางกลับกัน หากว่าการเจรจาต่อรองของรัฐบาลไทยและสหรัฐฯ ไม่เป็นผลสำเร็จ ก็คาดว่า GDP ปีนี้จะปรับตัวลดลงมาที่กรอบล่างคือ 1% กว่าๆ แต่อย่างไรก็ดี ก็ต้องรอดูว่าเงื่อนไขในการเจรจาครั้งนี้จะมีสินค้าประเภทใดบ้างที่ได้รับผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบ รวมถึงผลกระทบกับประเทศจีนร่วมด้วย
เราทำการค้าการขายกับทั้งประเทศจีนและสหรัฐฯ เราพึ่งพิงกับทั้ง 2 ตลาดค่อนข้างมาก ดังนั้นเงื่อนไขที่เสนอต่อสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ก็ต้องดูว่าจะมีผลกระทบต่อจีนร่วมด้วยหรือไม่ การวางตัวเป็นกลางจะทำอย่างไรให้ยังคงอยู่ต่อไปได้ ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีข้อสรุป เพราะการเลื่อนเจรจาของรัฐบาลไทยก็ยังไม่ได้ข้อสรุปรายละเอียดและกรอบเวลาที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ด้วยความแน่นอนของเศรษฐกิจและการค้า ส่งผลให้โอกาสที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีโอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยคาดว่าในวันที่ 30 เม.ย.68 มีโอกาสเห็นการลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง ที่ 0.25% ลงมาเหลือ 1.75%
เนื่องจากคาดว่าในช่วงไตรมาส 2/68 จะเริ่มเห็นผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ต่อไทยอย่างชัดเจน รวมถึงความรุนแรงของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่มีผลต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงนานประเทศที่ถูกขึ้นภาษีในรอบนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
1
แน่นอนว่าการลดดอกเบี้ยลงย่อมไม่เป็นผลดีต่อหุ้นธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว เพราะจะทำให้รายได้ส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ลดลง ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการลดดอกเบี้ยในรอบก่อนลงเหลือ 2.0% งบแบงก์ในไตรมาส 1/68 ได้รับผลกระทบไปราวครึ่งไตรมาส
แต่ในไตรมาส 2/68 จะได้รับผลกระทบแบบเต็มไตรมาส ยังไม่รวมการลดดอกเบี้ยรอบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น และหากว่าในรอบนี้ กนง. ลดดอกเบี้ยอีกครั้งคาดว่าจะกระทบต่ออัตราการเติบโตของสินเชื่อร่วมด้วย เพราะให้คำนวนสินเชื่อจะอิงกับตัวเลขของ GDP
  • ติดตามสงคราการค้าสหรัฐฯ
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ให้ความคิดเห็นว่า ท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะแนวโน้มการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน และการที่สหรัฐฯ โดนโต้ตอบจากคู่ค้า รวมถึงความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง
คาดสหรัฐฯ จะเริ่มปรับขึ้นภาษีนำเข้าในช่วงไตรมาส 2/68 เป็นต้นไป กดดัน GDP โลกปี 68 โตต่ำกว่า 3% ในมุมของนโยบายการเงินสหรัฐฯ แม้ FED ส่งสัญญาณ Hawkish เพิ่มขึ้น แต่ในปีนี้ตลาดมองมีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 3 - 4 ครั้ง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอลง
เศรษฐกิจไทยปี 68 ประเมินเบื้องต้นอาจกดดันให้ GDP ประเทศไทยชะลอลง คาดว่าตัวเลขมีโอกาสต่ำกว่า 2.0% จากหลายปัจจัยกดดันทั้งการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นในตลาดสินค้าโลก ซึ่งจะกระทบ ต่อภาคส่งออกไทยโดยตรง และการลงทุนทางตรงของต่างชาติที่มีความไม่แน่นอนสูง กดดันให้มูลค่าทั้ง FDI และ BOI มี มีแนวโน้มลดลง
ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว น่าจะเห็นมาตรการที่จะเข้าประคับประคองทั้งนโยบายการคลังที่มีโอกาสเห็นการปรับเพิ่มกรอบวินัยการคลัง จากหนี้สาธารณะ 70% ของ GDP ให้สูงขึ้น และนโยบายการเงิน ซึ่งน่าจะเห็น กนง. ปรับลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้ง เหลือ 1.75% ในการประชุมรอบ 30 เม.ย.68
ต้องติดตามประเด็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่อาจลุกลามไปนอกเหนือจากภาษีทางด้านการค้า ความเสี่ยงหนี้สาธารณะชนเพดานของ สหรัฐฯ รวมทั้งแผนปรับลดภาษีของสหรัฐฯ ว่าจะเป็นไปในทิศทางอย่างไรต่อไป เพราะอาจสะท้อนถึงโอกาสชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก การค้า ซึ่งจะมีผลกระทบถึงไทยด้วย
  • สินเชื่อแบงก์เสี่ยงชะละตัว
นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ลดลงของหลายหน่วยงานในช่วงที่ผ่านมา ลงมาที่ระดับ 1.4-2%
ทำให้ทางฝ่ายมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ในรอบนี้ กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยลง 1 ครั้ง ในวันที่ 30 เม.ย.68 นี้ หรืออย่างช้าที่สุดอาจเห็นในช่วงเดือน พ.ค.68 อย่างไรก็ดี หากว่าการเจรจาเรื่องภาษีการค้าของไทยกับสหรัฐ เป็นไปในทิศทางที่ดี และลงมาเหลือ 10-15% ก็คาดว่าเฉลี่ย GDP ของไทยก็จะอยู่ที่ประมาณ 2-2.4%
แต่หากว่าสหรัฐฯ ยังไม่ถูกใจต่อข้อเสนอหรือเงื่อนไขที่ไทยเจรจาด้วย และยังคงเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้ากับไทยที่ระดับ 36-37% นั้น ก็คาดว่าเฉลี่ย GDP ไทยจะลงมาอยู่ที่ระดับราว 1.4% หรือต่ำกว่านั้น จะเห็นได้ว่าตัวเลข GDP ลดลงมากว่า 1% จากเป้าหมายเดิมที่วางไว้ราว 2.8-3% จากปีก่อน
ในแง่ของอัตราเงินเฟ้อไทยเรานั้นไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไหร่ เพราะปัจจุบันกก็ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่แบงก์ชาติวางเอาไว้ 1-3% ทำให้มีรูมในการเหวี่ยงของดอกเบี้ยได้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือตัวเลขเศรษฐกิจ การเจรจาจะออกมาเป็นอย่างไร เพราะจะมีผลต่อ Downside GPD ตั้งแต่ไตรรมาส 2-3/68 เป็นต้นไป การลดดอกเบี้ยมีผลต่อหุ้นกลุ่มแบงก์แน่ ทั้งในแง่ส่วนต่างดอกเบี้ย รวมถึงอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่จะชะละลงด้วย
โฆษณา