26 เม.ย. เวลา 15:33 • สุขภาพ

90% ของผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคอาหารเป็นพิษ

มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Escherichia coli, Salmonella และ Campylobacter
.
แต่โชคดีที่แบคทีเรียเหล่านี้พบได้ค่อนข้างน้อยใน “ฟองน้ำล้างจาน”
.
อย่างไรก็ดี มีการค้นพบว่า “ฟองน้ำล้างจาน” ที่เป็นแหล่งสะสมของเศษอาหาร และความชื้น มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
.
เป็นที่ทราบกันดี ว่าแบคทีเรียสามารถมีชีวิตอยู่ได้ แม้ในสภาวะที่ยากลำบาก เช่น ใต้เปลือกโลก ช่องระบายความร้อนใต้มหาสมุทร หรือแม้แต่ในน้ำแข็งขั้วโลก
.
แต่ถ้าถามว่า แบคทีเรียอยากอาศัยอยู่ที่ไหนมากที่สุด คำตอบก็คือ “ฟองน้ำล้างจาน”
.
เพราะ “ฟองน้ำล้างจาน” เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แบคทีเรียที่สมบูรณ์แบบ เพราะมันอบอุ่น ชื้นแฉะ และเต็มไปด้วยเศษอาหารที่เป็นแหล่งอาหาร
.
เนื่องจาก “ฟองน้ำล้างจาน” เต็มไปด้วยช่องว่าง และโพรงขนาดเล็ก จึงเป็นแหล่งกำเนิด และเป็นแหล่งที่อยู่สำหรับแบคทีเรีย
.
มีการศึกษาพบว่า “ฟองน้ำล้างจาน” มีแบคทีเรียมากถึง 362 สายพันธุ์ และ มีความหนาแน่นของแบคทีเรียสูงถึง 54,000 ล้านตัวต่อตารางเซนติเมตร
.
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่พบว่า โครงสร้างของ “ฟองน้ำล้างจาน” มีช่องว่างหลากหลายขนาด ซึ่งเหมาะสมสำหรับการเติบโตของแบคทีเรีย
.
อย่างไรก็ตาม แม้ “ฟองน้ำล้างจาน” จะเป็นที่อยู่ที่ยอดเยี่ยมสำหรับแบคทีเรีย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราโดยตรง
.
โดยทั่วไป มีแบคทีเรียอยู่บนผิวหนังของเรา ในน้ำ ในดิน และในอากาศ แน่นอนว่า แบคทีเรียบางชนิดก่อโรค แต่หลายชนิดก็มีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศ และต่อร่างกายมนุษย์
.
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะไม่สามารถระบุสายพันธุ์ของแบคทีเรียแต่ละชนิดใน “ฟองน้ำล้างจาน” ได้อย่างแน่ชัด
.
แต่ 5 ใน 10 สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดมีความใกล้เคียงกับแบคทีเรียที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้
.
ความเชื่อที่ว่า การใช้ความร้อนสามารถกำจัดแบคทีเรียได้ เป็นความคิดที่ผิด ไม่ว่าจะนำฟองน้ำเข้าไมโครเวฟ หรือลวกน้ำร้อนผสมน้ำสบู่
.
เพราะแม้จะสามารถกำจัดแบคทีเรียบางชนิดได้ แต่สำหรับแบคทีเรียที่ทนความร้อนจะรอดชีวิต และขยายจำนวนเพิ่มขึ้นแทน
.
ล่าสุด มีเปรียบเทียบปริมาณแบคทีเรียใน “ฟองน้ำล้างจาน” กับ “แปรงล้างจาน” ทั้งสองอุปกรณ์มีแบคทีเรียที่ไม่ก่อโรคชนิดเดียวกัน คือ Acinetobacter, Chryseobacterium, Enhydrobacter, Enterobacteriaceae และ Pseudomonas
.
อย่างไรก็ตาม “แปรงล้างจาน” มีปริมาณแบคทีเรียน้อยกว่า “ฟองน้ำล้างจาน” เป็นอย่างมาก
มีการทดลองเติมเชื้อโรค Salmonella ลงไปใน “ฟองน้ำล้างจาน” Salmonella สามารถเติบโตและแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
.
แต่เมื่อเติม Salmonella ลงไปใน “แปรงล้างจาน” Salmonella กลับตาย เหตุผลก็คือ “แปรงล้างจาน” แห้งเร็วกว่า ทำให้ Salmonella ตายไปเอง
.
ขณะที่ “ฟองน้ำล้างจาน” จะยังคงมีความชื้นอยู่
.
นักวิจัยแนะนำว่า หนทางที่ดีที่สุดก็คือ ควรเปลี่ยน “ฟองน้ำล้างจาน” ทุกสัปดาห์
.
อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีที่สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของฟองน้ำได้หลายวิธี
.
เช่นนำ “ฟองน้ำล้างจาน” เข้าเครื่องล้างจาน หรือนำ “ฟองน้ำล้างจาน” เข้าเตาอบไมโครเวฟเป็นเวลา 1 นาที จนกว่าจะเห็นไอน้ำลอยออกมา 2 วิธีนี้สามารถกำจัดแบคทีเรียได้
.
การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การนำ “ฟองน้ำล้างจาน” เข้าเครื่องล้างจาน หรือเตาอบไมโครเวฟ สามารถลดจำนวนแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการแช่ฟองน้ำในสารฟอกขาว
.
อีกวิธีหนึ่งคือการต้มฟองน้ำในน้ำเดือด หรือใช้สารฆ่าเชื้อ ก็สามารถกำจัดแบคทีเรียส่วนใหญ่ได้เช่นกัน แม้ว่าจะยังมีบางชนิดที่สามารถรอดชีวิตได้ โดยเฉพาะแบคทีเรียที่สร้าง Biofilm ซึ่งเป็นสารป้องกันรอบตัวเอง
.
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพในการลดเชื้อก่อโรคที่อาจเป็นอันตราย เช่น Salmonella
.
คำแนะนำทิ้งท้ายก็คือ ไม่ควรวาง “ฟองน้ำล้างจาน” ทิ้งไว้ในอ่างล้างจาน ควรปล่อยให้ฟองน้ำแห้งระหว่างการใช้งาน โดยบีบน้ำออกให้มากที่สุด และกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่
.
อย่างไรก็ดี แม่บ้านหลายคนอาจเลือกที่จะเปลี่ยนไปใช้เครื่องมืออื่นในการทำความสะอาดจานแทน
.
นักวิจัยแนะนำให้ใช้ “แปรงล้างจาน” เพราะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า “ฟองน้ำล้างจาน” เพราะ “แปรงล้างจาน” แห้งเร็วกว่า และทำความสะอาดง่ายกว่า
.
“แปรงล้างจาน” จึงมีแบคทีเรียสะสมน้อยกว่า “ฟองน้ำล้างจาน” นั่นเอง
เรื่อง : ดร.จักรกฤษณ์ สิริริน
.
.
Knowledge Sharing Space | www.salika.co
.
#ฟองน้ำล้างจาน #สุขอนามัยที่ดี #เชื้อแบคทีเรีย #แปรงล้างจาน #salikaco
โดย : salikaco
โฆษณา