26 เม.ย. เวลา 18:40 • ปรัชญา
สิ่งที่พระพุทธเจ้าเน้นสอนมีเพียง “ทุกข์” และ “ การดับทุกข์” โดยมีจุดหมายสูงสุดคือการบรรลุธรรม หรือ “นิพพาน” คือพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จบ
.
พุทธมหายาน นิกายเซน หรือนิกายอื่นๆ แม้จะมีวิธีการหรือการปฏิบัติที่แตกต่างจากเถรวาท แต่แก่นหรือหลักธรรมที่เน้นสอนไม่ได้แตกต่างกัน
.
“อริยสัจ 4 “ หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ยังคงถูกถ่ายทอดในพุทธทุกนิกาย
.
“ไตรสิกขา” หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ยังคงเป็นเครื่องมือที่จะนำพาผู้ปฏิบัติไปยังจุดหมายเช่นเดียวกันไม่ว่านิกายไหน
.
เพียงแต่นิกายเซนจะเน้นไปที่ “จิต”
.
เซนบอกว่า ทุกอย่างเกิดจากจิตจึงต้องเริ่มต้นด้วยการฝึกจิต
.
“จิต” คือพาหนะที่พาเราไปไหนต่อไหน
การกุมชะตาตนเองจึงเกิดจากจิตของเรา
.
“ เบรค” จึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุด
ต้องติดเบรกให้จิต นั่นคือ “การบำเพ็ญสมาธิ”
.
“ปัญญา”เกิดจากจิตที่นิ่ง
.
“จิตที่นิ่ง” ทำให้เรามองเห็นภาพชัดและกว้างสามารถพิจารณาเรื่องราวต่างๆได้ลึกซึ้งทำให้มองเห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนและสามารถเปลี่ยนตะกอนที่เคยมีในจิตให้ใสขึ้น เมื่อมีความคิดที่บริสุทธิ์เป็นกุศล
.
เซนยังบอกอีกว่า
“นรก” คือจิตที่อยู่ในโลภะ โทสะ โมหะ
“สวรรค์ “ คือการที่เราเปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนความคิดจากอกุศลไปเป็นกุศล
.
สิ่งสำคัญคือ “ ปัจจุบันขณะ”
ถ้าทุกขณะจิตมีแต่ความสงบ ความสุขไม่ได้อยู่ที่ไหนไกลเลยแต่อยู่กับเราตลอดเวลา
.
ความสุขเกิดจาก”จิต”
ไม่ได้เกิดจากสิ่งภายนอกที่เรามองหา
.
นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จักความสุขที่แท้จริง ในแบบของเซน
.
สิ่งสำคัญคือ ปัจจุบันขณะเรารู้ทันไหม
.
 
เซนจึงให้ความสำคัญกับการดำรงอยู่อย่างมีสติ อย่างรู้เท่าทันในแต่ละห้วงลมหายใจของปัจจุบันขณะ
.
การอยู่กับปัจจุบันขณะในแต่ละห้วงลมหายใจจึงเป็นกุญแจแห่งการรู้แจ้งและการพ้นทุกข์ในแบบของเซน
.
การสวดมนต์จึงเป็นอุบายให้จิตจดจ่ออยู่กับปัจจุบันขณะ
.
ดังนั้น จึงมองว่าทั้งหลายทั้งปวงขึ้นอยู่กับจริตของคนแต่ละคนมากกว่า ว่าปฏิบัติแนวไหนแล้วรู้สึกก้าวหน้าและมาถูกทางมากกว่ากัน ส่วนจะบรรลุธรรมได้มั้ยคงต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจที่ถูกต้องและความเพียรของคนแต่ละคนแล้วค่ะ
โฆษณา