ความคิดเห็นบนคำถาม

คุณมีความเห็นยังไงกับแนวคิดให้ใช้ “การตีระฆังร้องทุกข์ “ ?
22 ส.ค. เวลา 11:42 • ความคิดเห็น • 12 คำตอบ
UPDATE: เลขาฯ สภาเผย ความคิด ‘พิเชษฐ์’ ให้มีระฆังร้องทุกข์เป็นสัญลักษณ์ เพราะสภามีดงตาลสมัยสุโขทัย ... ดูเพิ่มเติม
คำตอบ (12)
  • เอาเวลา และงบประมาณไปจัดการกับปัญหาของประชาชนที่ร้องทุกข์มาทาง online แล้วยังไม่ได้รับการแก้ไขให้เสร็จไวๆ แค่นี้เขาก็ไม่ต้องมาตัวเป็นๆ แล้วค่ะ ถ้าอยากสร้างภาพ ก็โชว์สถิติเอา
    1
  • เขาก็จั่วหัวอยู่แล้วนี่คะว่า "เป็นเชิงสัญลักษณ์"
    จะชื่นชมสรรเสริญ ก็คงจะเข้าข่ายพวกโลกสวยป่าวคะ มองแค่ฉาบฉวยแล้วรีบเอ่ยชม แต่ถ้าจะค่อนแคะกระแนะกระแหน อันนี้ก็เข้าใจได้นะคะ...
    1
  • 555555.....เฮ้อ!!!!...
    เสียดาย
    เสียดายที่เรียนมา..กับอายุที่ปูนนี้แล้วน่ะ
    มีทั้งระบบทั้งศูนย์รับเรื่อง..แต่ไม่เคยได้เรื่อง...
    1
  • เอาใบพอเหมาะๆเนาะ
    เคาะพร้อมๆกันให้เจ้ากระทรวงทบวง
    กรมและข้าราชบริพารหูผึ่งหูอื้อกันเลย
    จะได้โปร่งใสสมองโป่ง...
  • เอาที่สบายใจรับเรื่องมาแล้วการดำเนินการผลสัมฤทธิ์ของการแก้ไขของแต่ละหน่วยงานทำรายงานทุก 3 เดือน เรื่องเดิมปี 66 มีกี่เรื่อง ทำสำเร็จ/ค้างกี่เรื่อง?และเรื่องใหม่ปี 67 รอบ 6 เดือน มกราคม-มิถุนายน รับแล้วกี่เรื่องดำเนินการเป็นอย่างไร? ประชาชนพึงพอใจ 100%+++
    1
  • คล้ายจีน "ตีกลองร้องทุกข์" หากเป็นสตรีมาร้องจะถูก "โบย 20 ที หรือ หนีบนิ้ว" อย่างโหด! 😖 (ดูจากซีรี่ย์อ่ะนะ😁)
    1
    ดีไม่ดีไม่รู้ แต่รับรองว่าจะเกิดตำนาน
    "เสียงระฆังดังยามวิกาลล..." เหตุจากคนเคยร้องทุกข์ไม่ได้รับความเป็นธรรม...
    1
  • ขนาดร้องทุกข์แบบไม่เปิดเผยตัวตนยังโดนเอาข้อมูลไปบอกคนที่ถูกร้องจนโดนข่มขู่มาแล้ว จะให้มาตีระฆังสงสัยตายตั้งแต่เสียงระฆังยังไม่หยุดดัง
    แก้ไขให้เจ้าหน้าที่ทำตามกฏหมาย กฏระเบียบให้ได้ก่อนเถอะครับ ชาวบ้านเค้าไม่อยากร้องเพราะไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่เค้าถึงไปร้องสื่อแทนได้ผลดีกว่าเยอะ...
    1
  • ทำแบบไหนก็ได้แต่อย่าทำในห้องมืดสิ
    1