Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เกษตรสัญจร
•
ติดตาม
6 ก.พ. 2024 เวลา 02:02 • การเกษตร
ตัดหญ้าแล้วอย่าพึ่งทิ้ง
นำมาทำปุ๋ยหมัก บำรุงพืชกันเถอะ
หญ้าที่ขึ้นรก ๆ ในสวน เมื่อยาวแล้วก็ต้องตัด เพื่อไม่ให้แย่งอาหารพืช เป็นที่สะสมของเชื้อโรคและสัตว์มีพิษ แต่หลังจากตัดหญ้าแล้วอย่าพึ่งนำไปทิ้งนะครับ เศษหญ้าที่ตัดแล้วสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักชั้นดีได้ง่าย ๆ เลยครับ
การทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยเฉพาะการทำปุ๋ยหมักจากเศษหญ้าที่ตัดทิ้ง ต้นทุนแทบจะไม่มี เป็นการนำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ครับ
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1.เศษหญ้า
2.มูลสัตว์ เช่น มูลวัว มูลหมู หรือ มูลไก่ แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำเป็นมูลวัวจะมีกลิ่นที่ไม่แรง
3.ตาข่าย
ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักจากเศษหญ้า
1.นำตาข่ายมาทำเป็นวงกลม ใช้ไม้ค้ำเพื่อไม่ให้ตาข่ายล้ม
2.นำเศษหญ้าที่ตัดทิ้งใส่ลงไป ประมาณ 2 ส่วน จากนั้นใส่มูลวัวลงไปประมาณ 1 ส่วน และรดน้ำให้ชุ่ม
3.ทำแบบนี้สลับชั้นไปเรื่อย ๆ จนเต็มวง จากนั้นนำพลาสติกปิดให้สนิทเพื่อป้องกันน้ำระเหย
4.เมื่อครบ 14 วัน เช็คความชื้นและการย่อยสลาย หากยังย่อยสลายได้ไม่ดีพอ สามารถใช้น้ำหมักผสม พด.1 รดบริเวณกองปุ๋ยและพลิกกลับกอง
5.ประมาณ 1 -2 เดือน กองปุ๋ยหมักที่ทำไว้จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมักที่สามารถนำไปบำรุงพืชผักสวนครัว โดยที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อปุ๋ยครับ
ปุ๋ยหมักที่ได้ สามารถนำไปใช้บำรุงพืชผักให้โตไว ใช้โรยรอบ ๆ โคนต้น หรือใช้รองก้นหลุม รวมถึงสามารถนำไปผสมในดินเพื่อเพิ่มสารอาหารก่อนที่จะปลูกพืช ใครที่มีเศษหญ้าอย่าลืมนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักนะครับ จะได้มีปุ๋ยดี ๆ ใช้บำรุงพืชผักให้โตไว แถมยังประหยัดค่าปุ๋ยได้เยอะเลยครับ
……………………………………
เกษตรสัญจร สื่อเกษตรยุคใหม่ แหล่งข้อมูลสาระที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
รวมเรื่องเด็ด เกษตรกูรู ศูนย์รวมความรู้และเทคนิคการทำเกษตร
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเกษตรเพิ่มเติมได้ที่ :
𝗙𝗮𝗰𝗲𝗯𝗼𝗼𝗸: เกษตรสัญจร
𝗟𝗜𝗡𝗘 𝗢𝗳𝗳𝗶𝗰𝗶𝗮𝗹: @kasetsanjorn
𝗕𝗹𝗼𝗰𝗸𝗱𝗶𝘁:
blockdit.com/kasetsanjorn/
𝗬𝗼𝘂𝗧𝘂𝗯𝗲:
youtube.com/c/Kasetsanjorn
𝗧𝗶𝗸𝗧𝗼𝗸:
tiktok.com/@kasetsanjorn
𝗧𝘄𝗶𝘁𝘁𝗲𝗿:
twitter.com/kasetsanjorn/
𝗪𝗲𝗯𝘀𝗶𝘁𝗲:
kasetsanjorn.com
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย