เกาะมันใน จุดแวะพักของนักอพยพติดปีก
ในช่วงฤดูอพยพของนกหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเพราะสภาพอากาศไม่อำนวย ร้อนเกินไป หนาวเกินไป อาหารไม่เพียงพอ หรือที่อยู่อาศัยน้อยลง ล้วนเป็นสาเหตุที่นกจะต้องอพยพเพื่อหาที่อยู่ที่ดีกว่าสำหรับการใช้ชีวิตหรือแม้กระทั่งการวางไข่เพื่อสืบสายพันธุ์ต่อไป
ในช่วงเดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคม จะมีนกจำนวนมากที่อพยพมาจากประเทศทางใต้ของประเทศไทย เช่นบอร์เนียว ออสเตรเลีย พวกมันจะต้องบินจากประเทศเดิม ข้ามนำ้ข้ามทะเลในเวลากลางคืนไม่ตำ่กว่า15ชั่วโมง เพื่อมาถึงฝั่งประเทศไทยตามสัญชาติญาณที่ถูกทิ้งไว้จากนกรุ่นก่อนๆ บ้างก็เหนื่อยตายตกลงกลางทะเล บ้างก็ถูกพายุโหมกระหน่ำจนทำให้ไปต่อไม่ใหว กลายเป็นซากนกที่ลอยมาเกยตื้นที่ชายหาด
ส่วนนกที่โชคดี เก็บสารอาหารเพียงพอ แข็งแรงมากพอ ก็มาถึงจุดหมาย แต่สภาพร่างกายก็อิดโรยใกล้ตายกันเกือบทุกตัว
ซึ่งนกบางตัวที่กำลังจะถึงฝั่ง ก็ได้เจอกับเกาะมันใน ที่เป็นเสมือนกับจุดแวะพักของนกให้ได้พักผ่อนก่อนจะขึ้นฝั่งในวันถัดไป
เกาะนี้จึงเป็นสถานที่มีความสำคัญกับนกหลากหลายชนิดเป็นอย่างมาก
สำหรับในซีรี่ย์นี้จะเป็นการเล่าเรื่องราวต่างๆรวมถึงความรู้ที่ผมได้จากการไปเป็นอาสาสมัครเก็บข้อมูลนกที่ใช้เกาะมันในเป็นจุดแวะพัก เป็นเวลา8วัน(24-31มีนาคม2021)