Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่าหุ้นให้มันง่าย
•
ติดตาม
9 ต.ค. 2019 เวลา 13:44 • ธุรกิจ
ก่อนซื้อหุ้นต้องรู้งบการเงิน ep.2
เรามาเรียนรู้เพิ่มเติมในงบกำไรขาดทุนในส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกิจการ กันต่อครับ
cr.pixabay
เรามาทบทวนความรู้ในบทที่แล้วกันเล็กน้อย ก่อนที่จะมาตีความต่อในส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ ในส่วนของงบกำไรขาดทุนมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
งบกำไรขาดทุน ( ฿ ล้าน)
รายได้ ฿10,000
ต้นทุนสินค้าขาย 3,000
กำไรขั้นต้น 7,000
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ
ขาย,ทั่วไป และ บริหาร 2,100
วิจัยและพัฒนา 1,000
ค่าเสื่อมราคา 700
กำไรจากการดำเนินกิจการ 3,200
ดอกเบี้ยจ่าย 200
กำไร(ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์ 1,275
อื่นๆ 225
กำไรก่อนหักภาษี 1,500
ภาษีจ่าย 525
กำไรสุทธิ ฿975
ในบทที่แล้ว เราได้นำส่วนแรกมาพิจารณาว่า โดนการใช้สูตรการคำนวณเพื่อหาส่วนต่างกำไรขั้นต้น ดังนี้
กำไรขั้นต้น / ยอดรวมรายได้ = ส่วนต่างกำไรขั้นต้น
ยิ่งส่วนต่างกำไรขั้นต้นสูงเป็นการบ่งบอกว่า ธุรกิจ มีความได้เปรียบอะไรบางอย่าง จากสินค้า แบรนด์ หรือ บริการ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็ต้องดูเพิ่มเติมในส่วน ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ
🔜ขาย,ทั่วไป และ บริหาร 2,100
วิจัยและพัฒนา 1,000
ค่าเสื่อมราคา 700
กำไรจากการดำเนินกิจการ 3,200
ค่าใช้จ่าย ขาย ทั่วไป และ บริหาร ( sga) เป็นรายการที่ แรกของค่าใช้จ่ายดำเนินกิจการ ที่ถูกหักออกจากกำไรขั้นต้น
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ควร ควบคุมได้ และมีความสม่ำเสมอ เพราะถือเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัท ต้องจ่ายเป็นประจำ และ คงไม่ดีแน่ถ้าหากบริษัท มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากเกินไป
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ
ขาย,ทั่วไป และ บริหาร 2,100
🔜วิจัยและพัฒนา 1,000
ค่าเสื่อมราคา 700
กำไรจากการดำเนินกิจการ 3,200
มันไม่ดีแน่ที่เราต้องใช้ค่าใช้จ่ายในงานวิจัยและพัฒนาสูงตลอดเวลา ซึ่งเป็นที่ต้องสาปเสมอ สำหรับ บริษัทยาและเทคโนโลยี
ที่ต้องลงทุนในส่วนนี้ เสมอ แต่หากไม่ลงทุนส่วนนี้สินค้า ก็จะล้าสมัยไปในที่สุด
ตรงนี้ช่วยในการตรวจสอบได้ดีพอสมควร เราอาจไม่ต้องใช้งานวิจัย กับ cpall( เซเว่น ) มากมาย แต่เราอาจต้องใช้ในงานวิจัยสูงกับบริษัทเทคโนโลยี
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ
ขาย,ทั่วไป และ บริหาร 2,100
วิจัยและพัฒนา 1,000
🔜ค่าเสื่อมราคา 700
กำไรจากการดำเนินกิจการ 3,200
เครื่องจักรทุกตัว อาคารทุกหลัง ล้วนต้องชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และความทรุดโทรมนั้นเราจะบันทึกในงบกำไรขาดทุน ในรูปของ ค่า"เสื่อมราคา"
ตัวอย่างเช่น
บริษัท a มีการซื้อเครื่องพิมพ์ 1 ล้านบาท มีอายุการใช้งาน 10 ปี
สรรพากรจะไม่ยอมให้บริษัท ตัดค่าใช้จ่ายทั้งหมด 1 ล้านบาท ในปีที่ซื้อที่เดียว
แต่จะตัดค่าเสื่อมราคา 100,000 บาท ออกเป็นระยะเวลา 10 ปี
ค่าเสื่อมราคาคือต้นทุนจริงในการทำธุรกิจ เพราะว่า ณ จุดหนึ่งในอนาคต เครื่องพิมพ์นี้จะต้องถูกปลดระวางและต้องจัดเครื่องพิมพฺ์ใหม่เข้ามาแทนที่
การซื้อเครื่องพิมพ์นี้จะปรากฎในงบดุล คือ บัญชีเงินสด จะถูกหักออก 1 ล้านบาท
แล้วไปเพิ่มที่ โรงงานและเครื่องจักร 1 ล้านบาท
จากนั้นค่าเสื่อมราคาในงบกำไรขาดทุน จะถูกหัก 100000 บาททุกปี
ส่วนในงบดุล แต่ละปี จะถูกหัก 100000 บาทในส่วนของ บัญชี โรงงานและเครื่องจักร
ในขณะที่ส่วนของหนี้สิน จะบันทึก เพิ่มขึ้น 100000 บาท ในค่าเสื่อมราคาสะสม
จำนวนเงิน 1 ล้านบาท จะถูกบันทึก "ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุน " ในงบกระแสเงินสด
สิ่งที่วอร์เรนมองในการพิจารณาค่าเสื่อมราคา คือ ค่าเสื่อมราคาเทียบกับกำไรขั้นต้น ต้องมีสัดส่วนที่น้อยอย่างสม่ำเสมอ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ
ขาย,ทั่วไป และ บริหาร 2,100
วิจัยและพัฒนา 1,000
ค่าเสื่อมราคา 700
กำไรจากการดำเนินกิจการ 3,200
🔜ดอกเบี้ยจ่าย 200
หลังจากนั้นเราจะได้กำไรจากการดำเนินงาน แล้วจึงนำมาหัก " ดอกเบี้ยจ่าย"
ดอกเบี้ยจ่าย คือ ดอกเบี้ยที่บริษัทจ่ายออกไประหว่างไตรมาสหรือปี สำหรับหนี้ของบริษัทที่ปรากฎในงบดุลในหมวดหนี้สิน
ค่าใช้จ่ายนี้เป็นต้นทุนทางการเงิน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
เป็นการสะท้อนหนี้ของบริษัท ยิ่งบริษัทที่มีหนี้มากเท่าไร ดอกเบี้ยจ่ายก็สูงขึ้นเท่านั้น
บริษัทที่มีแนวโน้มเป็นบริษัทที่มีการแข่งขันอย่างยั่งยืน จะมีดอกเบี้ยจ่ายน้อยหรือไม่มีเลย
เราสามารถเอาดอกเบี้ยจ่ายมาเทียบกับกำไรในการดำเนินงาน ไม่ควรเกิน15%
มันคงไม่ดีแน่ที่บริษัทเอากำไรจากการดำเนินงานมาจ่ายดอกเบี้ยจ่ายหมด
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ
ขาย,ทั่วไป และ บริหาร 2,100
วิจัยและพัฒนา 1,000
ค่าเสื่อมราคา 700
กำไรจากการดำเนินกิจการ 3,200
ดอกเบี้ยจ่าย 200
🔜กำไร(ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์ 1,275
🔜อื่นๆ 225
บริษัทที่ทำการขายสินทรัพย์ ( ที่ไม่ใช่สินค้าคงคลัง) กำไรขาดทุน จะบันทึกเป๋น กำไร(ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์
ยกตัวอย่างเช่น
บริษัทซื้อ อาคารมา 1 ล้าน ตัดค่าเสื่อมทุกปี ปีละ 100000บาท ผ่านไป 5 ปี ตัดค่าเสื่อมไปเหลือมูลค่า 500000 บาท
หากขายได้ 800000 บาท
บริษัท จะบันทึกกำไรขาดทุนจากขายสินทรัพย์ ได้
800000-500000 = 300000 บาท
หากขายได้ 300000 บาท
บริษัท จะบันทึกกำไรขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ ได้ 300000-500000 = -200000
คือขาดทุน 200000 บาทนั้นเอง
ส่วนบัญชี อื่นๆคือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่ปกติ และไม่เกิดขึ้นบ่อย เป็นรายการที่อาจเกิดขึ้นครั้งเดียวจึงไม่ควรนำมาคำนวณรวมในกำไรสุทธิบริษัท
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ
ขาย,ทั่วไป และ บริหาร 2,100
วิจัยและพัฒนา 1,000
ค่าเสื่อมราคา 700
กำไรจากการดำเนินกิจการ 3,200
ดอกเบี้ยจ่าย 200
กำไร(ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์ 1,275
อื่นๆ 225
🔜กำไรก่อนหักภาษี 1,500
กำไรก่อนหักภาษี คือ กำไรของบริษัทหลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว ยกเว้นภาษี
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ
ขาย,ทั่วไป และ บริหาร 2,100
วิจัยและพัฒนา 1,000
ค่าเสื่อมราคา 700
กำไรจากการดำเนินกิจการ 3,200
ดอกเบี้ยจ่าย 200
กำไร(ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์ 1,275
อื่นๆ 225
กำไรก่อนหักภาษี 1,500
🔜ภาษีจ่าย 525
กำไรสุทธิ ฿975
บริษัททุกบริษัทต้องเสียภาษีรายได้ ปัจจุบันเสียภาษีประมาณ 35% ของรายได้บริษัท
วอร์เรน มองว่าบริษัท ที่วุ่นวายในการตาตาสรรพากร ก็มักตบตาผู้ถือหุ้นด้วยเช่นกัน ตรวจสอบภาษีจ่ายที่ตรงไปตรงมา ดีกว่าครับ
งบกำไรขาดทุน ( ฿ ล้าน)
รายได้ ฿10,000
ต้นทุนสินค้าขาย 3,000
กำไรขั้นต้น 7,000
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ
ขาย,ทั่วไป และ บริหาร 2,100
วิจัยและพัฒนา 1,000
ค่าเสื่อมราคา 700
กำไรจากการดำเนินกิจการ 3,200
ดอกเบี้ยจ่าย 200
กำไร(ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์ 1,275
อื่นๆ 225
กำไรก่อนหักภาษี 1,500
ภาษีจ่าย 525
🔜กำไรสุทธิ ฿975
หลังจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดและภาษีเราก็จะเจอ กำไรสุทธิของบริษัท
เราจะใช้กำไรสุทธิของบริษัทมาใช้ได้อย่างไร
1.ประวัติขอกำไรสุทธิมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆหรือไม่ มีความสม่ำเสมอหรือไม่
2.กำไรมากกว่า 20% ของยอดรวมรายได้ เป็นการพิสูจน์ตัวเองว่าแข่งขันอย่างยั่งยืน หรือ เป็นบริษัทที่ต้องต่อสู้กับสงครามราคากันแน่
ก็จบในส่วนของงบกำไรขาดทุน ผมได้ทำตารางออกมาเยอะเพื่อทำให้เพื่อนเกิดภาพจำได้เร็วขึ้น จนสุดท้ายเราจะจำหน้าตาของงบกำไรขาดทุนได้หมด
ช่วงแรกถ้าเราจำภาพหน้าตานี้ได้แล้วลองทดสอบอ่านใน 56-1 อาจจะงงได้ แนะนำว่า ศึกษาบริษัทที่เป็นลักษณะซื้อมาขายไป จะง่ายกว่าธุรกิจธนาคาร อันนี้ขึ้นอยู่กับ business model ครับ
หวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ แอดตั้งใจเรียบเรียง เพื่อให้เข้าใจง่ายที่สุด
ถ้ามีประโยชน์ ขอเพื่อนๆกด like กดแชร์ กดติดตาม twintrade (เล่าหุ้นให้มันง่าย) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจการเขียนงานดีๆมาฝากเพื่อนๆครับ
เพราะการลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
reference
www.set.or.th
วอร์เรน บัฟเฟตต์ และการตีความงบการเงิน
ช่องทางการติดตาม:twintrade เล่าหุ้นให้มันง่าย
FB:
www.facebook.com/twintrade
website:
www.twintrade.blogspot.com
blockdit:
www.blockdit.com/twintrade
14 บันทึก
10
4
13
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ก่อนซื้อหุ้นต้องรู้งบการเงิน
14
10
4
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย