10 ต.ค. 2019 เวลา 01:47 • สุขภาพ
ไม่มีอะไร 100% ใน medicine
การตรวจ lab ทุกอย่างมีความไว (sensitivity) ความจำเพาะ (specificity) ไม่เท่ากัน
มีทั้งผลบวกลวง (false positive) ผลลบลวง (false negative)
ไม่มีการตรวจใดที่มีทั้งความไวและความจำเพาะ 100% ทั้งสองอย่างพร้อมกัน
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลาย ทั้งอายุ เพศ เชื้อชาติ พันธุกรรม โรคประจำตัว ฯลฯ
ส่วนสูง น้ำหนัก ของประชากรมีความแตกต่างกัน โดยมีการกระจายตัวเป็นแบบระฆังคว่ำ (bell curve) ตามรูป
ค่า lab บางอย่างก็เป็นแบบนี้เช่นกัน
ค่า lab หลาย ๆ อย่าง กำหนดค่าปกติโดยเอาค่ามาจากคนปกติ 95 percentile
นั่นหมายความว่า คนปกติก็มีค่า lab ผิดปกติได้ 5%
ตัวโรคเองแต่ละโรคก็มีความหลากหลาย
โรคหนึ่ง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีอาการครบทุกอย่าง
ความรุนแรงในแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน
อาการหนึ่ง ๆ ก็มีสาเหตุได้จากหลายโรค
การวินิจฉัยโรคจึงต้องอาศัยประวัติอาการหลาย ๆ อย่าง ร่วมกับการตรวจร่างกาย แล้วค่อยส่งตรวจ lab
ไม่ใช่ใช้ lab อย่างเดียวในการวินิจฉัย
(ไว้จะเขียนเล่าเรื่องการซักประวัติคนไข้คนแรกอีกที ซึ่งก็ . . . 😑)
แล้วถ้าผล lab ออกมา ไม่ตรงโรค ใครผิด ? ใครรับผิดชอบ ?
- หมอที่สั่งตรวจ ?
- นักเทคนิคการแพทย์ที่ตรวจ ?
- เครื่องมือที่ใช้ตรวจ ?
ไม่มีใครตอบได้
แต่... มีทนายที่เห็นว่าไม่มีศาลทางการแพทย์ และจ้องหาผลประโยชน์จากเรื่องพวกนี้
เอาแค่เรื่องความไว ความจำเพาะ ศาลรู้เรื่องไหม ? อธิบายกันกี่ชั่วโมงถึงจะเข้าใจ
ลองอ่าน slide นี้
อ่านเข้าใจไหม ?
นศพ.เรียนกันกี่ชั่วโมง ?
ขนาดเรียนต่อเฉพาะทางก็ยังมีการสอนซ้ำอีก
แล้วพวกที่บอกว่าไม่ต้องมีศาลทางการแพทย์ แค่เอาพยานผู้เชี่ยวชาญมาก็พอ
คิดว่าพยานจะอธิบายให้ศาลเข้าใจในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้แค่ไหน
ศาลสามารถแยกแยะได้ไหมว่าพยานคนไหนไม่น่าเชื่อถือ ข้อมูลจากพยานที่ไม่ได้ตรวจคนไข้มาเป็นสิบปียังเชื่อได้ไหม งานวิจัยโบราณล้าสมัยไปหรือยัง
แค่ที่เคยเป็นพยานศาล ยังโดนเปลี่ยนศัพท์ตอนที่ให้หน้าบัลลังก์พิมพ์ หลายที่
เช่น สัญญาณชีพ โดนเปลี่ยนเป็น สัญญาณชีวิต
ต้องแก้ก่อนเซ็นต์ชื่อเยอะอยู่
ช่วยมีศาลทางการแพทย์ซะทีเถอะ ก่อนที่จะมีมาตรฐานการรักษาแบบแหกตำราแพทย์ทั่วโลกจะออกมามากกว่านี้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา