Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Dr.Dark
•
ติดตาม
16 ต.ค. 2019 เวลา 11:31 • สุขภาพ
ไข้เลือดออก
มีแค่ 4 สายพันธุ์มานานละ
ถ้ามีข่าวสายพันธุ์ใหม่ ปักธงไว้ก่อนเลยว่าข่าวมั่ว ข่าวเก๊ ข่าวตอแหล
ถ้าหลงคลิกเข้าไปอ่านก็ระวังคอม โทรศัพท์ tablet ติดไวรัส 😏
2
การวินิจฉัยโรคทุกโรค ยังไงก็เริ่มจากการซักประวัติก่อน
แต่โรคนี้อาจจะมีแต่ไข้ ไม่เจออะไรอย่างอื่นเลยก็ได้
อาการอื่น ๆ เช่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีหรือไม่มีก็ได้
การตรวจร่างกาย ช่วยแยกโรคอื่นออกไปมากกว่าที่จะช่วยบอกว่าเป็นโรคนี้
1
การรัดแขน หรือ ทำ Tourniquet test ไม่ได้ช่วยในการวินิจฉัย
ความแม่นยำต่ำมาก เพียง 50% พอ ๆ กับโยนหัวก้อย แถมยังทำให้คนไข้เจ็บตัวอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนไข้เด็ก 😢
ในขณะที่ปัจจุบัน ทุกโรงพยาบาลสามารถตรวจเลือด ดูจำนวนเม็ดเลือดได้หมดแล้ว
เห็นมีแต่ สปสช. ยังให้ทำ ไม่งั้นไม่ยอมให้วินิจฉัยไข้เลือดออก
คือจะหาเรื่องหักตังค์นั่นแหละ
แต่ทีตอนรายงานระบาดวิทยา รง 506 ไม่เห็นต้องทำ 😒
โดยส่วนตัว เคยทำแค่ตอนสมัยเรียน เพียงเพื่อใช้เขียนรายงาน หรือ สอบ เพื่อให้อาจารย์ทราบว่านึกถึงโรคไข้เลือดออกในคนไข้รายนั้น
แต่หลังจากจบแพทย์ ก็ไม่ได้ทำอีกเลย
1
ญาติคนไข้ : ขอตรวจเลือดหน่อย กลัวไข้เลือดออก
คนไข้ : … (หน้าบูด ไม่อยากเจาะ กลัวเข็มมมมมม 🥺)
หมอ : 🤭
การตรวจเลือดในผู้ป่วยที่สงสัยไข้เลือดออก แบ่งเป็น 3 อย่าง
1. CBC : ตรวจจำนวนเม็ดเลือด
2. NS1 Ag : ตรวจชิ้นส่วนของเชื้อ
3. Dengue IgM : ตรวจหาภูมิต่อเชื้อ
4. PCR : หา RNA ของเชื้อ
CBC : ตรวจจำนวนเม็ดเลือด
การตรวจเลือดทั้ว ๆ ไป มักจะหมายถึงการตรวจอันนี้
มีความแม่นยำสูง ราคาไม่แพง แต่โดยทั่วไปแล้ว เป็นไข้อย่างน้อย 3 วัน ถึงจะพบการเปลี่ยนแปลง เม็ดเลือดขาวมักจะต่ำลง และเกล็ดเลือดต่ำ
NS1 Ag : ตรวจชิ้นส่วนของเชื้อ
พบได้ตั้งแต่วันแรก ความไวสูงราว ๆ 90% หลังมีไข้ 1 วัน แต่ลดลงเรื่อย ๆ ในวันหลัง ๆ
การตรวจเร็วเกินไป เช่น เพิ่งมีไข้ไม่กี่ชั่วโมง หรือการตรวจหลังจากมีไข้มานานหลายวันแล้ว ก็อาจจะตรวจไม่พบได้
ปัจจุบันมีการตรวจบ่อยขึ้น เนื่องจากปัญหาฟ้องร้อง และพบโรคที่อาการคล้ายกัน บ่อยขึ้น เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้ชิคุนกุนยา
แต่โรงพยาบาลรัฐ ไม่ได้ตรวจได้ทุกที่
1
Dengue IgM : ตรวจหาภูมิต่อเชื้อ
ตรวจวันแรกไม่พบ มักจะพบหลังวันที่ 3 (กลับกันกับ NS1 Ag จึงมีการทำ set การตรวจที่ใช้ 2 วิธีนี้คู่กัน)
แต่ใช้วินิจฉัยได้เฉพาะคนที่ไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน
(ถ้าเคยเป็น จะพบ Dengue IgG แทน รวมไปถึงคนที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกโดยไม่แสดงอาการ และการตรวจพบ Dengue IgG ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยครั้งปัจจุบัน)
PCR : หา RNA ของเชื้อ
ราคาค่อนข้างสูง ไม่ได้ตรวจได้ทุกที่ เอกชนตรวจอาจจะได้ผลเร็ว 1 วันรู้ผล
แต่โรงพยาบาลรัฐที่ต้องส่งตรวจ lab ข้างนอก อาจจะต้องใช้เวลาหลายวัน
เมื่อก่อนไม่เคยคิดว่าจะต้องส่งตรวจ แต่ปัจจุบันนี้มีโรคที่อาการคล้ายกัน อย่างชิคุนกุนยาบ่อยขึ้น (คนไข้ในกรุงเทพฯ นี่แหละ ไม่มีประวัติเดินทาง แถมยังพบกระจัดกระจายหลายที่ โดยที่ไม่ได้ระบาด 😑)
การตรวจเลือดก่อนวันที่ 3 ของไข้ แม้จะช่วยให้วินิจฉัยได้เร็วขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายก็แพงขึ้น และไม่ค่อยมีผลต่อการรักษา เพราะอาการคลื่นไส้อาเจียน จะเริ่มมีหลังจากวันที่ 3 ถ้าสามารถนัดติดตามอาการได้ก็ยังไม่จำเป็นต้องตรวจในวันแรก
(ต่างจากไข้หวัดใหญ่ที่ควรให้ยาภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก)
แต่ก็ชอบด่ากันจังว่าหมอไม่ทำอะไรให้ แต่เวลานัดตรวจซ้ำ ไม่ยักกะมา 😩
ส่วนที่มีข่าวว่าคนไข้บางรายช็อกตั้งแต่มีไข้วันที่ 2 โดยส่วนตัวแล้วไม่เชื่อครับ
น่าจะเกิดจากการซักประวัติผิด ญาติไม่ได้สังเกตว่าเริ่มมีไข้วันไหนแน่ หรือไปได้ยาสเตียรอยด์ฉีดมาก่อน กลบอาการ ทำให้อาการไม่ชัดเจน มาชัดตอนที่แย่ไปแล้ว
แต่ก็ยังชอบไปฉีดกันจังเลย 😒
ไข้เลือดออก ไม่ได้จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลทุกราย
การรักษา เป็นการรักษาตามอาการเป็นหลัก การนอนโรงพยาบาลเร็วเกินไป ก็ไม่ได้ช่วยให้หายเร็วขึ้น
ด่ากันประจำ ว่าทำไมหมอไม่ให้นอนโรงพยาบาล 😩
ข้อบ่งชี้ในการรับไว้ในโรงพยาบาล เอาแบบง่ายๆ มี 2 ข้อ
- เกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 (ปกติ 140,000-400,000)
- คลื่นไส้อาเจียนมาก กินอาหารไม่ได้
กรณีที่ยังไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล จะต้องนัดมาตรวจเลือดดูทุกวันว่าเกล็ดเลือดลดลงเหลือเท่าไหร่
(ถ้าเกิน 100,000 มากๆ อาจจะซัก 2 วันค่อยตรวจ)
ตรวจเลือดจนกว่า เกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ก็นอนโรงพยาบาล เจาะเลือดต่อ หรือจนเกล็ดเลือดเริ่มเพิ่มขึ้น (หายก่อน)
เกล็ดเลือดที่ต่ำ เกิดจากตัวโรค ทำให้มีการอักเสบของหลอดเลือด เกล็ดเลือดถูกทำลาย และรั่วออกนอกหลอดเลือด
แต่ร่างกายสร้างได้ปกติ เพราะฉะนั้น ถ้าตัวโรคหยุด เกล็ดเลือดก็จะเพิ่มขึ้น
การรักษาอื่นๆ เป็นการรักษาตามอาการ เช่น มีไข้ก็ให้ยาพาราเซตามอล
อย่าใช้ยาตัวอื่น เช่น กลุ่ม NSAIDs เพราะจะรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือด เป็นการซ้ำเติมให้เลือดออกผิดปกติได้
นอกจากนี้ การให้ยา NSAIDs ในผู้ป่วยที่เป็นไข้ โดยยังไม่ทราบการวินิจฉัย มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค Reye syndrome หรือ ตับวาย ได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่หรืออีสุกอีใส
ถ้ายังไม่ถึงเวลากินยาลดไข้ซ้ำ ก็ใช้วิธีเช็ดตัวร่วมด้วย
ถ้ามีคลื่นไส้อาเจียน ก็ให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
ที่เหลือก็รอ "เวลา" เมื่อถึงเวลาหาย มันก็หาย ไม่สามารถเร่งให้หายเร็วขึ้นได้
อย่ามาเร่งกันว่าจะเอาให้หายวันนั้น วันนี้ มีธุระนู่น นั่น นี่ 😓
ส่วนภาวะแทรกซ้อน
ถ้าเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 มีโอกาสช็อก ก็ควรจะอยู่ในโรงพยาบาล ต้องดูเป็นราย ๆ ไป ลองถามหมอเจ้าของไข้ดู
ถ้าต่ำกว่า 50,000 ก็มีโอกาสเกิดเลือดออกผิดปกติได้
7 บันทึก
40
10
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โรคที่พบบ่อย
7
40
10
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย