30 ต.ค. 2019 เวลา 12:19 • ธุรกิจ
Special Topic: วิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจไทย
การลงทุนภาคเอกชน(private investment expenditure)
”ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน”เป็น “ชิ้นส่วนสุดท้าย” ที่จะนำไปสู่
”ภาพรวม”ของสภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันครับ
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเป็นตัวบ่งชี้ทิศทางของการลงทุนภาคเอกชนว่าจะไปในทิศทางใด
รูปที่ 1 ส่วนประกอบของดัชนีการลงทุนภาคเอกชน
โดยมีองค์ประกอบ 5 ส่วนที่นำมาคำนวณดัชนีตัวนี้ คือ
1.พื้นที่ ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศ
2.การจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในประเทศ
3.การนำเข้าสินค้าทุน
4.ยอดจดทะเบียนยานยนต์ใหม่
5.ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศ
โดยมีความเคลื่อนไหวในแต่ละส่วนดังภาพด้านล่างนี้ครับ
(ขออธิบายโครงสร้างของภาพเพื่อความเข้าใจได้ง่ายดังนี้ครับ
ทางมุมขวาบนจะเป็นหัวข้อ กราฟแนวนอนจะเป็นเดือนเริ่มจากเดือน มกราคม ปี 2561 จนถึงเดือนสิงหาคม ปี 2562 และกราฟฝั่งแนวตั้งจะมีข้อมูลกำกับไว้แยกตามประเภท)
รูปที่ 2 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน
คำว่า "ปรับฤดูกาล" คือการตัดปัจจัยบางประการออกและนำมาคำนวณใหม่เพื่อให้ข้อมูลสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ครับ เช่น ช่วงเดือนที่มีฝนตก จะมีปริมาณการสั่งซื้อวัสดุบางอย่างลดลง
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนของเรามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งก็มาจากองค์ประกอบภายในที่มีแนวโน้มลดลงแทบจะทุกส่วน
เราแยกดูองค์ประกอบภายในที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงกันครับ
รูปที่ 3 พื้นที่ๆได้รับอนุญาตก่อสร้าง
การก่อสร้างลดลงอย่างต่อเนื่อง
รูปที่ 4 ดัชนีการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง
ซึ่งจะมีองค์ประกอบของดัชนีดังนี้
รูปที่ 5 ส่วนประกอบของดัชนีการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในประเทศ
แทบจะไม่โตเกินกว่าระดับของเดือนกันยายน ปี 2561 ช่วงที่เริ่มมีสงครามการค้า
รูปที่ 6 การนำเข้าสินค้าทุน
การนำเข้าสินค้าทุนก็เช่นกัน
รูปที่ 7 ปริมาณการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ในประเทศ
รูปที่ 8 ยอดจดทะเบียนยานยนต์ใหม่
เราดูกราฟมาถึงตรงนี้แล้วเราจะเห็นว่า เอ๊ะบางอย่างก็ไม่ได้ลดลงมากนี่นา
ทำไมผมถึงบอกว่าไม่ดีล่ะ
คำตอบคือ "เพราะไม่เติบโต" จึงเป็นเรื่องร้าย
ในขณะที่ค่าเงินบาทของเราแข็งค่าขึ้นอย่างมาก แต่เราไม่สามารถนำเข้าเครื่องจักรมาเพื่อขยายการลงทุนได้เลย
จึงสะท้อนถึงความอ่อนแอของสภาวะเศรษฐกิจไทย ณ ปัจจุบัน
ทุกท่านยังจำดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคได้รึเปล่าครับ
ทางฝากหน่วยธุรกิจเองก็มีดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเช่นกัน
รูปที่ 9 ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
มีแนวคิดคล้ายกันกับของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
โดยมีที่มาจากกการที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ไปสำรวจบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่สาเหตุที่ต้องสำรวจกลุ่มนี้ก็ชัดเจนครับ ปริมาณเม็ดเงินที่บริษัทเหล่านี้ลงทุน เมื่อลงทุนขึ้นมาแล้วจะอยู่ในระดับที่สูงมากนั่นเอง
ลองสังเกตช่วงระยะตั้งแต่หลังประเทศเรามีการเลือกตั้งขึ้นมา ประมาณช่วงเดือน พ.ค. - ปัจจุบัน
(ในขณะที่เราทำการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจเราจะต้องวางอคติทางการเมืองลงนะครับเพื่อให้ได้ภาพที่เป็นจริง)
เราจะสังเกตได้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของเรา “ลดลงอย่างต่อเนื่อง”
ปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาพนี้ขึ้นหมูน้อยมองว่าเป็นปัจจัย
“ความเสี่ยงทางด้านการเมือง(Political risk)” ส่วนนึงครับ
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการออกนโยบายของรัฐบาลสามารถส่งผลกระทบกับธุรกิจของเราได้เป็นอย่างมาก ถ้านโยบายเป็นคุณ
ธุรกิจเราก็เหมือนฉลามได้กลิ่นเลือด พร้อมที่จะออกไปขย้ำเหยื่อให้ท้องอิ่ม
แต่ถ้านโยบายเป็นโทษ ยกตัวอย่างเช่น ทางรัฐบาลสั่งระงับการนำเข้า วัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของสินค้าที่เราผลิต
ท่านนึกออกมั๊ยครับว่าสภาพจะเป็นยังไง
โดยจากผลสำรวจที่ผ่านมาของทางธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าปัจจัยหลักที่เป็นข้อจำกัดสำคัญ
ที่ทำให้ความเชื่อมั่นของเราลดลงอย่างต่อเนื่อง จะแสดงในภาพต่อไปนี้
รูปที่ 10 สาเหตุที่ทำให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนภาคเอกชนลดลง อ้างอิงจากรายงานของ BOT
1. “ความต้องการจากตลาดในประเทศต่ำ” (นึกถึงบทความเรื่อง ความเชื่อมั่นฝั่งผู้บริโภค นะครับ) โดยปัจจัยนี้นำมาเป็นอันดับ 1 ครับ ในเมื่อผู้บริโภคไม่เชื่อมั่น กำลังซื้อจึงหดหายไปจากระบบ
2. “การปรับราคาสินค้าทำได้ยาก” เป็นเราจะยอมขึ้นราคาสินค้า 2% เพื่อแลกกับการที่ยอดขายลดลงไป 6% รึเปล่า อย่าลืมนะครับว่าสินค้าแบบเดียวกันกับของเราในตลาดก็มีเยอะ
ผมยกตัวอย่างง่ายๆให้ท่านเห็นภาพ ถ้าผมเป็นเจ้าของโรงแรมหมูน้อยนอนหนาว ที่เชียงใหม่ ผมจะไม่ยอมขึ้นราคาที่พักจาก 2000 มาเป็น 2100 ต่อคืน แน่นอนครับ ในเมื่อโรงแรมแมวอ้วน ที่อยู่ถัดไปจากโรงแรมผมเป็นโรงแรมระดับเดียวกันแต่อยู่ห่างจากหมูน้อยแค่ 200 เมตร เค้ายังขายห้องอยู่ที่ 2000 ต่อคืน ระดับความเสียหายที่หมูน้อยจะได้รับ ไม่คุ้มค่ากับเม็ดเงินต่อห้องที่เพิ่มขึ้นมาเพียงน้อยนิด
3. การแข่งขันที่รุนแรงจากต่างประเทศ ต่างคนต่างเป็นฉลามหิว เมื่อได้กลิ่นเลือดขึ้นมา มีแต่ต้องฆ่ากันให้ตายไปข้างเท่านั้น
4. ต้นทุนการผลิตสูง อันนี้ตรงตัวครับ
5. ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ ล่าสุดเรื่อง GSP ใครส่งออกสินค้าประเภทอาหารทะเลไปอเมริกาคงเครียดกันบ้างละครับ
อ่านบทความเรื่อง gsp ได้ที่
จากข่าวที่บอกว่า จริงๆแล้วไทยได้รับผลกระทบทางภาษีที่เราโดนภาษีวงเงิน 40000 ล้าน นั่นน่ะมันไม่จริง เป็นข่าวปลอม จริงๆเเล้วเรากระทบแค่ 4-5% หรือโดนภาษีเพิ่มแค่ 1500-1800 เท่านั้นเอง ไม่ต้องตกใจไป เราก็ส่งออกสินค้าไปประเทศอื่นมากขึ้นก็พอ
ฝั่งเอกชนคงคิดในใจว่า ท่านครับเรื่องที่ส่งออกไปประเทศอื่นน่ะ คนหิวเงินแบบผมพุ่งตัวออกไปล่าเหยื่อตั้งแต่ก่อนท่านจะพูดเสียอีก
ส่งออกไปจีนแทนอเมริกามันทำกันได้ง่ายๆซะที่ไหน ไหนจะต้องให้ลูกค้ารู้จักและมั่นใจคุณภาพของสินค้าเรา ไหนจะต้องทำเรื่องศุลกากรนำเข้าประเทศเค้าอีก อีกอย่างบริษัทที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันกับเราก็มีอีกเยอะ เฮ้อ....
เป็นไงกันบ้างครับกับบทความชิ้นนี้ ทำให้ทุกท่านพอจะมองเห็นภาพอะไรบางอย่างหรือเปล่า
หากบทความชิ้นนี้ทำให้ทุกท่านได้รับความรู้ดีๆ
ฝากกดถูกใจและติดตามเพจ พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงินด้วยนะครับ
ขอบพระคุณมากครับ
ตอนต่อไปจะเป็นบทสรุปของภาวะเศรษฐกิจไทย คอยติดตามชมกันนะครับ
reference :
1. รายงานเรื่องดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจตั้งแต่เดือน มกราคม 2561 - สิงหาคม 2562 จาก https://www.bot.or.th
2. รายงานเรื่องดัชนีการลงทุนภาคเอกชนตั้งแต่เดือน มกราคม 2561 - สิงหาคม 2562 จาก https://www.bot.or.th
โฆษณา