12 มี.ค. 2020 เวลา 23:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แก้วมังกร กระบองเพชรที่กินได้
ปกติเราจะคุ้นเคยกันกับต้นกระบองเพชร (Family Cactacae) ในรูปแบบของไม้ประดับ แต่จริงๆ แล้วกระบองเพชรบางชนิดมีผลที่กินได้ ชนิดพันธุ์ที่รู้จักกันในประเทศไทย คือ แก้วมังกร แต่ก็ยังมีชนิดพันธุ์อื่นที่กินได้เช่นกัน คือ Prickly pear (สกุล [Opuntia]) แปลว่า ลูกแพรหนาม ที่กินได้ทั้งส่วนของผลและเนื้อกระบองเพชร (เป็นอาหารเม็กซิกันที่เรียกว่า Nopal) แต่ไม่ได้มีขายเป็นพืชเศรษฐกิจเหมือนแก้วมังกรในประเทศไทย
Prickly pear [Opuntia] พร้อมผล (ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Opuntia)
ผลของ Prickly pear ที่ถูนำมาขายในตลาดของประเทศเม็กซิโก (ที่มา By Tomás Castelazo - Own work, CC BY-SA 2.5, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=972943)
ในขณะที่แก้วมังกร (ชื่อภาษาอังกฤษว่า pitahaya or dragon fruit) เป็นพืชในสกุล [Hylocereus] ซึ่งอยู่ในวงศ์กระบองเพชรเช่นกัน แก้วมังกรที่มีสีต่างๆ กัน คือ พืชต่างชนิดกัน ได้แก่
- พันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง ที่พบนำมาขายมากที่สุด จัดเป็นชนิด [Hylocercus undatus] มีเปลือกสีชมพูสด ปลายกลีบสีเขียว รสหวานอมเปรี้ยวหรือหวานจัด
- พันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง จัดเป็นชนิด [Hylocercus megalanthus] เปลือกสีเหลือง ผลเล็กกว่าพันธุ์อื่น ๆ เนื้อสีขาว เมล็ดขนาดใหญ่และมีน้อยกว่าพันธุ์อื่น รสหวาน
- พันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง จัดเป็นชนิด [Hylocercus costaricensis] เปลือกสีแดงจัด ผลเล็กกว่าพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง แต่รสหวานกว่า
แก้วมังกรในสีต่างๆ (ที่มา By Roei.tabak, CC BY-SA 4.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=52280275)
ต้นและผลของแก้วมังกร (ที่มา By Bùi Thụy Đào Nguyên , CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=29134593)
กระบองเพชรเกือบทุกชนิดมีต้นกำเนิดและการแพร่กระจายในธรรมชาติอยู่ในทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้ แก้วมังกรก็มีการแพร่กระจายในธรรมชาติอยู่ในบริเวณอเมริกากลางไปจนถึงอเมริกาใต้ เช่น เม็กซิโก บราซิล โคลอมเบีย คอสตาริกา
1
โดยในธรรมชาติ นกจะเป็นตัวการในการกินผลและนำเมล็ดแพร่กระจายไปยังที่ต่างๆ ทำให้แก้วมังกรกระจายไปทั่วทวีปอเมริกาและหมู่เกาะแคริบเบียน และโดยมนุษย์ ในขณะที่ดอกของแก้วมังกรจะบานตอนกลางคืน ทำให้สิ่งมีชีวิตผู้ผสมเกสรได้แก่ ค้างคาว และผีเสื้อกลางคืน ในพื้นที่ที่ไม่มีผู้ผสมเกสรตามธรรมชาติก็อาจจะต้องมีการผสมโดยมนุษย์
1
ดอกแก้วมังกรที่บานในเวลากลางคืน ก็จะดึงดูดค้างคาวและผีเสื้อกลางคืนมาผสมเกสร (ที่มา By Brocken Inaglory, CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=9459175)
เมื่อชาวสเปนค้นพบทวีปอเมริกา ก็ได้รู้จักแก้วมังกรด้วย และก็ได้นำแก้วมังกรไปปลูกในฟิลิปปินส์ในศตวรรษที่ 16 และไปยังอินโดจีนในศตวรรษที่ 19 โดยชาวฝรั่งเศส มายังประเทศเวียดนามและมีการนิยมปลูกกันในประเทศเวียดนาม และแพร่กระจายต่อมาในประเทศไทย
1
ผลสีสดใสของแก้วมังกรมีวิวัฒนาการมาเพื่อดึงดูดนกให้มาเป็นผู้กระจายเมล็ดเช่นเดียวกับพริก ลองอ่านการกระจายเมล็ดพริกโดยนกได้จากบทความนี้ครับ
เอกสารอ้างอิง
4. Pagliaccia, D., Vidalakis, G., Douhan, G. W., Lobo, R., & Tanizaki, G. (2015). Genetic Characterization of Pitahaya Accessions Based on Amplified Fragment Length Polymorphism Analysis, HortScience horts, 50(3), 332-336.
โฆษณา