3 มิ.ย. 2020 เวลา 11:27 • การศึกษา
DATA (ไม่) พาเพลิน #15 : "Welcome to Dark Side " - เหยียด 1 -
DATA (ไม่) พาเพลิน #15 : "Welcome to Dark Side " - เหยียด 1 -
ผมทำข้อมูลชุดนี้เก็บไว้มาพักหนึ่ง
แต่ยังประกอบไม่เสร็จสักที
และเผอิญไม่กี่วันที่ผ่านมา
มีข่าวของ จอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวดำที่เสียชีวิต จากการถูกตำรวจผิวขาว ใช้เข่ากดคอในขณะจับกุม นานเกือบ 9 นาที
จนสุดท้ายเขาขาดอากาศหายใจ
และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย
จนกลายเป็นการจราจลครั้งใหญ่
ซึ่งจากการที่ได้เคยศึกษาเรื่องนี้มาบ้าง
ทำให้ผมเกิดความสงสัย..."นี่ไม่ใช่ครั้งแรก"
ของปัญหาการเหยียดสีผิวในสังคมอเมริกา
แต่ทำไมครั้งนี้...มันดูรุนแรงกว่าทุกครั้ง
โพสต์นี้ ผมเลยจะขอนำเสนอ
มิติที่หลากหลายของการเหยียดผิว/เชื้อชาติ
เป็นโพสต์ที่ ยาว - เหยียด โพสต์นึง
ใครชื่นชอบใน"ความยาว"
รับรองไม่ผิดหวังครับ
ผมขอเริ่ม
จากคำว่า "racism" (ลัทธิเหยียดผิว) ก่อน
โดยดูจาก 90 วันที่ผ่านมา และ 5 ปีที่ผ่านมา
โดยค้นหาจากทั่วโลก
(1)
(1)
กราฟมีการเคลื่อนไหว
ตามเหตุการณ์ข่าวของจอร์จ ฟลอยด์
อย่างสัมพันธ์กัน
คราวนี้เราลองมาดู
คำค้นหายอดนิยม
ที่เชื่อมโยงกับ"racism"
ในช่วง 90วันที่ผ่านมา
(2)
(2)
เราจะเห็นการเหยียดที่หลากหลาย
- เหยียดคนดำ (black racism)
- เหยียดคนขาว (white racism)
- เหยียดคนจีน (chinese racism)
- เหยียดคนเอเชีย (asian racism)
และในช่วงไวรัสโควิด-19 นี้
เราจะเห็นคำใหม่ๆอย่าง...
- racism coronavirus
- covid racism
การเหยียดที่ถูกตั้งข้อหาเพิ่มเติม
ว่าเป็นตัวการในการแพร่เชื้อโรค
และผู้ต้องหาก็คือ ชาวจีนและชาวเอเชีย
ต่อมาเรามาดูคำค้นหาที่มาแรง
ที่เชื่อมโยงกับ"racism"
ในช่วง 90วันที่ผ่านมา
(3)
(3)
- จอร์จ ฟลอยด์ ถูกเชื่อมโยงในอันดับต้นๆ
- bolsa grande high school
เป็นคลิปบันทึกภาพ นักเรียนสองคนที่
เยาะเย้ยและคุกคามเพื่อนร่วมชั้นเรียนชาว
เวียตนามของที่โรงเรียนมัธยม Bolsa Grande โดยในคลิปวิดีโอนักเรียนหญิงทั้งสองตะโกนด่านักเรียนชาวเวียดนามว่า "coronavirus!" และทำการคุกคามต่างๆมากมาย อาทิเช่น ตบหน้า, นำหมวกประจำชาติเวียดนามมาใส่แล้วขว้างลงพื้น
bolsa grande high school
- amy cooper racism
เป็นคลิปวีดีโอ ที่ถ่าย Amy Cooper
เธอเป็นถึงรองประธานบริษัทการลงทุนยักษ์ใหญ่ ที่มีหน้าที่การงานดี โดยคริสเตียน (ชายผิวดำ-ผู้ถ่ายคลิป) เห็นเอมี่ปล่อยให้หมาวิ่งในส่วนที่เอาไว้เดินชมธรรมชาติ โดยที่ไม่ใช่ใส่สายจูง ซึ่งก็มีป้ายเตือนอยู่ตลอดทาง
คริสเตียนเข้าไปเตือนเธอ เท่านั้นแหละ! เธอเริ่มกระชากหมาตัวน้อยอย่างแรง และขู่ว่าจะแจ้งความ เธอคว้าโทรศัพท์แล้วกดหา 911 ทันที พร้อมบอกตำรวจว่า เธอเดินอยู่เซ็นทรัลพาร์คแล้วเจอชายชาวแอฟริกัน-อเมริกัน เข้ามาขู่ตนกับหมาของตน
amy cooper racism
หลังจากคลิปนี้ถูกเผยแพร่ในโซเซียล
งานก็เข้าเอมี่อย่างหนัก เธอถูกไล่ออกจากงานทันที และถูกผู้คนถล่มข้อความใส่อย่าง
บ้าคลั่ง และเลยเถิดไปยังศูนย์ดูแลช่วยเหลือสัตว์ ที่ต้องนำหมามาไปดูแลแทน เนื่องจากการกระทำของเธอในคลิป เข้าข่ายการกระทำให้สัตว์ได้รับอันตราย
- Ahmaud Arbery
เหตุการณ์ยิงชายชาวแอฟริกัน - อเมริกันวัย 25 ปี Ahmaud Marquez Arbery ในขณะที่วิ่งจ๊อกกิ้งบนถนน Holmes กลางวันแสกๆ โดยผู้ก่อเหตุ 2 คนคือพ่อลูกอเมริกันผิวขาว Travis McMichael และ Gregory
หลังจากเหตุการณ์ เหล่านักวิ่งได้รวมตัวกันจัดงานวิ่งขึ้นมาเพื่อเป็นเกียรติและไว้อาลัยแก่ Ahmaud Arbery โดยมีระยะทาง 2.23 ไมล์ (วันที่ Arbery เสียชีวิต 23 กุมภาพันธ์) มีโพสต์ภาพลงบน Social Media พร้อมติด #IRUNWITHMAUD เพื่อทวงคืนความยุติธรรมให้กับ Arbery และครอบครัว
Ahmaud Arbery
นี่เป็น 3 เหตุการณ์ที่ถูกเชื่อมโยง
กับคำค้นหาใน 90 วันที่ผ่านมา
ต่อมา เราย้อนกลับมาดู
เรื่องของ จอร์จ ฟลอยด์ กันอีกสักนิด
คำค้นหา "george floyd"
ได้รับการสืบค้นเป็นอย่างมาก
ในช่วงที่ผ่านมา
(4)
(4)
"george floyd" เชื่อมโยงกับ
- คลิปวีดีโอตอนเค้าถูกจับกุม
- นายตำรวจที่ใช้เข่ากดคอเค้าในขณะจับกุม
- derek chauvin ชื่อนายตำรวจคนดังกล่าว
- ทรัมป์
- และเหตุผลที่เค้าถูกจับกุม
มาถึงตรงนี้
ผมมีความสงสัยว่า "trump"
มาเชื่อมโยงกับ "george floyd" ได้อย่างไร
เลยกลับมาดูคำว่า "racism" อีกรอบ
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ภาพกว้างขึ้น)
โดยค้นหาจากทั่วโลก
และผลลัพธ์ที่ได้คือ...
(5)
(5)
ดูเหมือนอเมริกาจะเป็นศูนย์รวม
ของการเหยียดผิวและเชื้อชาติอยู่พอสมควร
มีคำอย่าง"Black Lives Matter"
คำขวัญที่กล่าวว่า"ชีวิตคนดำก็มีค่า"
"Black Lives Matter" ยังเป็นชื่อเดียวกับองค์กรอิสระ Black Live Matters ที่ก่อตั้งมาในปี 2013 เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้คนผิวดำ
มีคำอย่าง ดอนัลด์ ทรัมป์ รวมอยู่ด้วย
ผมเลยลองสืบหาข้อมูล
ในหลายๆด้านของ ดอนัลด์ ทรัมป์
และเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องเด่นของทรัมป์
ก็คือ...การ "tweets" ใน twitter
1
ข่าวที่เกิดขึ้นของทรัมป์
มักจะเริ่มต้นจาก tweets ของทรัมป์
เป็นอันดับแรกเสมอ
ผมสืบค้นจนไปเจอข้อมูลใน http://www.trumptwitterarchive.com/
เป็นการรวมทุก tweets ของทรัมป์
จบ ครบ ที่เดียว!
และนี่คือสิ่งที่ผมจะสรุปให้ผู้อ่าน
ทีมงานขอสไลด์ขึ้นด้วยครับ
(6)
(6)
ตั้งแต่ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
คนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกา
ทรัมป์ ได้ใช้ twitter ทวีตข้อความ เป็นเวลา 1,230 วัน ( tweets มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน)
โดย 1,076 tweets เป็นข้อความที่เกี่ยวข้องกับ รัสเซีย และ การสมคบคิด
791 tweets ด่าสื่อที่อยู่ตรงข้าม ว่านำเสนอเฟกนิวส์ (CNN, New York Times)
425 tweets พาดพิง บารัค โอบาม่า
และมี 84 tweets ถูกถึงเรื่องชาติกำเนิด
และกล่าวว่า โอบาม่า เป็นคนต่างชาติ (เป็นการเหยียดเรื่องชาติพันธุ์)
(7)
(7)
คราวนี้ลองมาย่อย tweets ของ ทรัมป์ เพื่อให้เห็นอีกมิติหนึ่ง
234 tweets มีคำว่า ไอ้ขี้แพ้
222 tweets มีคำว่า ทึ่ม
204 tweets มีคำว่า ภัยร้ายแรง
183 tweets มีคำว่า โง่
156 tweets มีคำว่า อ่อนแอ
83 tweets มีคำว่า โง่บัดซบ
50 tweets มีคำว่า เหยียดผิว
และในช่วงเหตุรุนแรงที่ผ่านมา
tweets ของ ทรัมป์ ก็เป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงดีๆให้กับเหตุการณ์จราจล
เช่น เมื่อเริ่มปล้น ก็เริ่มยิง ขอบคุณ!
และข้อความเจ้าปัญหานี้เอง ที่ทาง twitter ขึ้นแถบเตือนในทวีตของทรัมป์ว่า มีเนื้อหาที่ยกย่อง "ความรุนแรง” (ผมขอไม่ลงลึกเพราะมีให้เห็นในหลายๆบทความแล้ว)
ต่อมา ผมสืบค้นข้อมูล"คำ"
ที่เกี่ยวข้องกับ"การเหยียด"
ก็ไปเจอเว็บ http://www.rsdb.org/
ชื่อเต็มๆคือ The Racial Slur Database
เป็นเว็บที่รวบรวมคำเหยียดจากทุกชนชาติทั่วโลก เรียกได้ว่า จบ ครบ ที่นี่ เหมือนกัน
The Racial Slur Database
โดยเว็บมีลักษณะแบบเปิด (open)
สามารถให้ผู้ใช้งานทั่วไป
เข้าไปเพิ่มคำเหยียด เพิ่มเติมได้
โดยลงทะเบียนด้วย email
ผมเข้ามาในนี้ และใช้เวลาอยู่พักหนึ่ง
และได้เลือกคำเหยียดมา 3 กลุ่มคือ...
คำเหยียดผิวเหลือง
คำเหยียดผิวดำ
คำเหยียดผิวขาว
และเลือกคำเหยียดที่ค่อนข้าง mass
(เรียกได้ว่า หากนำไปพูด ก็มีสิทธิ์โดนเตะปากได้)
(8)
(8)
ข้อมูลจะระบุคำเหยียดที่ใช้
และความหมาย(เหตุผลอธิบายประกอบ)
ผมดูคำเหยียดทั้ง 3 กลุ่ม ครบ
และก็ได้ผลลัพธ์บางอย่างมาดังนี้
(9)
(9)
ในคำเหยียดของทั้ง เหลือง, ดำ, ขาว
คำเหยียดที่มีมากที่สุดคือ
...คำเหยียดของคนผิวดำ ครับ
เพราะมันมีมากถึง 608 คำ
ในขณะที่คำเหยียดคนผิวขาวมี 347 คำ
และคำเหยียดคนเอเชีย มีเพียง 131 คำ
จากการที่ผมลองดูข้อมูลมาพักนึง
ผมพอสรุปให้ฟังได้ว่า...
มนุษย์เราเหยียดกันได้ในทุกๆเรื่องครับ
ไล่ตั้งแต่ ประวัติศาสตร์ของชาติ, รูปร่างหน้าตา, อากัปกริยา, สำเนียงของภาษา, อาหารการกิน ฯลฯ
พูดกันง่ายๆคือ เรา"เหยียด"
และมี"อคติ"กันได้ทุกเรื่องจริงๆ
คราวนี้...
ขอกลับมาที่คำถามที่ได้ถามไปในช่วงต้น
เหตุการณ์จราจลที่ลุกลามบานปลายครั้งใหญ่นี้ ทำให้ผมเกิดความสงสัย
..."นี่ไม่ใช่ครั้งแรก" ของปัญหาการเหยียดสีผิวในสังคมอเมริกา
แต่ทำไมครั้งนี้...มันดูรุนแรงกว่าทุกครั้ง
การประท้วงหรือการก่อจราจล
จะต้องมีส่วนประกอบหรือ
เชื้อเพลิงจากหลายๆส่วน
เข้ามาเติมเชื้อไฟให้ปะทุ
เป็นไปได้มั้ยว่า
ส่วนประกอบหรือ
เชื้อเพลิงชั้นดี
ในเหตุการณ์นี้คือ "โควิด"
เหตุผลที่ผมให้โควิดเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี
ในเหตุจราจลนี้ เนื่องจากตัวเลขแรงงานชาวอเมริกันยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานในช่วงที่ผ่านมา สูงถึง 36.5 ล้านราย (ข้อมูลจากวันที่ 15 พ.ค.) ส่งผลให้อัตราว่างงานเพิ่มสูงขึ้นเป็น 14.7% ซึ่งนับว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ผ่านมา
เราจึงเห็นภาพข่าว การปล้นสะดม
การเข้าไปรื้อข้าวของ หยิบฉวยสิ่งของ
ในเหตุการณ์จราจลครั้งนี้
นั่น"อาจ"เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญ
(แต่คงไม่ใช่ทั้งหมดนะครับ)
และผมยังมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า...
ยังมีส่วนประกอบอื่นอีกมั้ย
ผมนึกถึงวลี "I can't breathe"
และลองสืบค้นดู เผื่อจะเจอส่วนประกอบอื่นเพิ่มเติมอีก ผลปรากฏว่า...
(10)
(10)
"I can't breathe"
ได้รับการค้นหาอย่างพีคสุด
ในช่วง เดือนธันวาคม 2557 (2014)
เมื่อลงลึกดูก็พบว่า...
ในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2014
อีริค การ์เนอร์ (Eric Garner) ชายผิวดำ
เสียชีวิตภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมตัว โดยใช้วิธีล๊อคคอ เป็นเวลา 19 วินาที (การ์เนอร์ถูกเรียกตรวจ ด้วยสงสัยว่าจะขายบุหรี่ที่ไม่ได้ติดแสตมป์เสียภาษีตามกฎหมาย)
เหตุการณ์ถูกบันทึกวีดีโอ การ์เนอร์ถูกล็อคคอและนอนคว่ำหน้าอยู่กับพื้น เขาได้ร้องบอกตำรวจว่า "หายใจไม่ออก" ถึง 11 ครั้ง
ในที่สุดการ์เนอร์ถูกส่งไปโรงพยาบาล
และเสียชีวิตในอีก 1 ชั่วโมงต่อมา
ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2014 คณะลูกขุนได้ตัดสินว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ไม่มีความผิด ทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงขึ้นหลายจุดในประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นไปด้วยความสงบ)
ผู้ประท้วงใช้คำพูดสุดท้ายของการ์เนอร์ "ฉันหายใจไม่ออก" เป็นสโลแกนและบทสวดต่อตำรวจที่โหดร้ายและการตัดสินของคณะลูกขุน
"I can't breathe"
เหตุการณ์ในลักษณะเดียวกัน
ที่ชายผิวดำสองคน
ถูกกระทำการเกินกว่าเหตุ
โดยตำรวจผิวขาว
เพียงแต่ต่างวาระกัน...เท่านั้น
แต่การจราจลในครั้งนี้
อาจจะมีส่วนประกอบที่มากกว่าเดิม
"การโดนกระทำเกินกว่าเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่า ของคนผิวดำ"
"การโดนกระทำให้เกิดการหายใจไม่ได้ ซึ่งเป็นการกระทำที่เลือดเย็นในความรู้สึก"
"การสื่อสารที่รุนแรงของผู้นำ"
"การพยายามของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล"
"มือที่สามหรือผู้ไม่ประสงค์ดี"
"หรือ...การมาของโควิด"
ทุกอย่าง...
ล้วนเป็นส่วนประกอบของระเบิดลูกนี้
ซึ่งความคิดเห็นส่วนตัว
...ผมคิดว่า ครั้งนี้ ไม่น่าจะจบลงอย่างง่ายๆ
ในโพสต์หน้า
ผมขอมาต่อในเรื่องนี้การ"เหยียด"
กันอีกหนึ่งตอน
โพสต์นี้ขอจบลงเพียงเท่านี้
ขอบพระคุณทุกการติดตามครับ
บุญรักษา"กัลยาณมิตร"ทุกท่านครับ
DATAพาเพลิน
DATAPAPLEARN
***หมายเหตุ DATA ข้อมูลที่เกิดขึ้นในโพสต์นี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลคำค้นหาบนแพลตฟอร์มของกูเกิ้ลอย่างเดียวเท่านั้น ข้อมูลและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากการรวบรวมและบันทึก ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ผู้เขียนและทีมงาน DATA พาเพลิน มีเจตนารมณ์เพื่อให้ชุดข้อมูลดังกล่าว เกิดการต่อยอดทางความคิดแก่ผู้อ่าน ไม่ได้มีความประสงค์จะชี้นำในเรื่องใดๆแต่อย่างใด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา