17 มิ.ย. 2020 เวลา 22:55 • ไลฟ์สไตล์
เพราะผิดพลาด เดอะซีรีย์
EP:11 เรียนรู้จากการเปิดใจ (ผู้อื่น)
ในการทำงานร่วมกัน คุณเคยถูกปฏิเสธไหม? สำหรับผมมันเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน คนทุกคนมีเรื่องที่ต้องรับผิดชอบ มีงานในส่วนที่ต้องดำเนินการ และจากกลไกเบื้องต้น การนิ่งเฉย และการหนีนั้น
การปฏิเสธ การบอกว่า “ไม่” เป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ควรทำ เราทุกคนควรปฏิเสธให้เป็น
ปฏิเสธในสิ่งที่คิดว่าไม่สำคัญ ปฏิเสธเพื่อมีเวลาในการทำสิ่งที่สำคัญกว่า ดังนั้นมันเป็นเรื่องปกติประจำวันที่เกิดขึ้นสม่ำเสมออยู่แล้ว จุดสำคัญมันอยู่ที่ว่า
"ไม่มีใครที่ปฏิเสธคนอื่นตลอดเวลา" ไม่มีคนที่ไม่คิดว่าจะไม่สอนงานคนอื่น ไม่ร่วมงานเพิ่มเติมกับคนอื่น ประเด็นอยู่ที่ว่าเราถาม ร้องขอมากพอหรือไม่ ไม่แน่สิ่งที่เราร้องขอในบางเวลา อาจจะเป็นสิ่งที่เขากำลังมีปัญหาและเขาพร้อมที่จะมีคนเพิ่มเติมเข้าไปแก้ปัญหาร่วมกันก็เป็นได้
เกร็ดในการเรียนรู้
ขอตัดบทอธิบายเป็นเรื่องในสมัยวัยรุ่นที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่ายในการจีบเพศตรงข้าม หากคุณไม่กล้าเข้าไปคุย ไม่กล้าเริ่มต้น คุณมีข้ออ้างมากมาย และคุณไม่กล้าที่จะเริ่มทำมัน
ผลลัพธ์จะไม่แตกต่างกันเลยกับการที่คุณจะ "ลงมือเข้าไปคุยเริ่มมีปฏิสัมพันธ์"
หากคุณโดยปฏิเสธคุณก็แค่เท่าทุน เพราะก่อนหน้าคุณก็จีบไม่ติด โดนปฏิเสธก็แปลว่าคุณก็จีบไม่ติด แต่ถ้าไปเจอคนที่จะเป็นคู่ของคุณ คุณก็อาจจะจีบติด (แทบไม่มีผลเสียจากการทำดังกล่าว ถ้าคุณไม่คิดว่าจีบเพื่อเลิกนะครับ)
ถ้าคุณโดยปฏิเสธ 99 ครั้ง และคุณสำเร็จครั้งที่ 100 คุณจะเลิกตั้งแต่ครั้งที่ 60 หรือคุณจะลองสู้ต่อไปหละ
เมื่อทบทวนจากปัจจุบัน (ส่วนนี้เพิ่มเติมเข้าไปจากฉบับเดิม)
ถ้าเป็นคนส่วนใหญ่เรื่อง "ปฏิเสธ" คงแนะนำให้ไปดู Ted Talk เรื่อง "สิ่งที่ผมเรียนรู้จาก 100 วัน จากการถูกปฏิเสธ" ค้นหาใน WEB เจอทันทีเช่นเคย
ผมมาแชร์ประสบการณ์ผมอีกแบบดีกว่าคือ อะไรบ้างที่ผมกล้า ไม่กลัวการถูกปฏิเสธแล้วผมเรียนรู้อะไร วันนี้ขอย้อนบทความเดิมผม 3 บทความ
1. จากบทความเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 63 เรื่อง "เรื่องเล่าสมัยชุบตัว ป โท"
ผมบอก อ. ผู้สัมภาษณ์ว่า อ. เห็นเกรด ป.ตรี ผมไหม เห็นผลสอบภาษาอังกฤษครั้งแรก และเห็นช่วงที่ผมเปลี่ยนแปลงจนสอบภาษาอังกฤษได้คะแนนดีขึ้นไหม อ. ว่า คณะนี้ที่เชื่อในศักยภาพการเปลี่ยนแปลงของคน ตัวผมพิสูจน์ให้ อ. เห็นว่าผมเป็นคนที่พัฒนาได้ในเวลาอันสั้น
ดังนั้น อ. ควรเลือกรับผม เพราะถ้าผมจบได้และเก่งขึ้น ดีขึ้น ทำประโยชน์ให้คนอื่นได้ ส่วนหนึ่งต้องมาจากผม แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นความสามารถการสอน แนะนำของอาจารย์ ซึ่งต่างกับการรับคนเก่งที่สมบูรณ์เกือบทุกอย่างอยู่แล้ว อาจารย์ว่าข้อเสนอผมน่าสนใจไหมครับ ที่ผมจะเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน อ. ที่สอนคน ให้ดีขึ้น เก่งขึ้นได้??
เพราะผมไม่กลัวที่จะถูกปฏิเสธ (โดยคนที่มีคุณวุฒิ วัยวุฒิที่สูงกว่า) ว่า คุณสมบัติไม่เหมาะสม ผมจึงได้เข้าเรียน ป.โท
2. จากบทความเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 63 เรื่อง "เมื่อรวม 3 ทักษะที่ไม่โดดเด่น"
ผมก็มองว่าผมมีทักษะอะไรบ้าง (ที่ไม่ได้โดดเด่น) ที่น่าจะเอามาใช้เขียนบทความได้....(อ่านย้อน 3 ทักษะได้)....ผมเลยใช้ 3 ทักษะนี้มาใช้ในการเขียน Blockdit นี้ขึ้นมาครับ เป็นการได้ทดลองทำอะไรใหม่ๆ ที่สนุก และได้พบผู้คนในโลกออนไลน์ที่ดีมากๆ อย่างมากมายครับ
เพราะไม่กลัวที่จะถูกปฏิเสธ (จากสังคมใหม่ กลุ่มคนใหม่ที่ผมยังไม่รู้จัก) ว่า เอาบทความอะไรมาเขียนมาแชร์ จะมีใครสนใจ ผมจึงได้มาพบมิตรภาพและสังคมแห่งการเรียนรู้ใหม่แห่งนี้
3. จากบทความเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 63 เรื่อง "ขอขอบคุณทุกท่าน 1000 ผู้ติดตาม"
Input > Process > Output > Outcome > Impact และมีการ Feedback เพื่อปรับปรุงพัฒนาระบบ
ตัวอย่างจากประสบการณ์ผมเลยในการเขียนเพจนี้
Input = เวลาสำหรับการเขียน หัวเรื่อง เนื้อหาบทความจากประสบการณ์ทำงาน + ชีวิตของผม + ความติสท์
Process = การวางแผน และการเขียนให้มีบทความโพสได้ทุกวัน รวมถึงการมีบทความเขียนสำรองล่วงหน้า (ประมาณ 3-5 บทความ ที่ต้องมา edit ก่อนโพส)
Output = มีบทความที่ได้โพสทุกวัน ทันตามเวลาโพสที่กำหนด บทความที่โพสแล้วไม่ต้องกลับมาแก้คำผิด
Outcome = จำนวนยอดวิว จำนวนผู้ติดตาม จำนวนบทความที่ถูกแชร์ ถูกใจจำนวนบทความที่ได้ดาว
Impact = เหลือ ค้น เจอ บทโลกออนไลน์*
เพราะผมไม่กลัวเสียงของผู้อ่านที่จะมีคำแนะคำ คำติชม หรือสิ่งที่ควรพัฒนา ในการลงบทความอย่างต่อเนื่องทำให้ ณ วันนี้ หากคุณอ่านบทความนี้จบ แล้ว ค้นใน GOOGLE โดยคำว่า
"เพราะผิดพลาด"
คุณจะเจอบทความผมในหน้าแรกของ GOOGLE เสมอครับ
อ้างอิง EP:10 เรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่าง
โฆษณา