Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
17 ก.ย. 2020 เวลา 14:18 • การศึกษา
ค่าของเงินตามเวลา (Time Value of Money)
2
คุณรู้จัก “เงิน” ดีแค่ไหน ?
ทำไมมูลค่าของเงิน จึงเปลี่ยนไป ?
การได้รับเงินในวันนี้ กับ ได้รับในอีก 1 ปีข้างหน้า มีค่าเท่ากันหรือไม่ ?
1
วันนี้ เราจะมาหาคำตอบให้กับคำถามเหล่านี้กันค่ะ
✍ มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money : TVM) คือ แนวคิดที่ว่าเงินที่ได้รับในวันนี้ จะมีมูลค่าน้อยกว่าเงินที่จะได้รับในอนาคต เพราะเราสามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินที่ได้รับในวันนี้ได้ แต่ถ้าเงินถูกปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ มูลค่าของเงินก็จะลดลงไปเรื่อยๆ เช่น สมมุติว่า เราได้รับเงินวันนี้ 100 บาท ในอีก 1 ปีข้างหน้า เงิน 100 บาทนี้ จะมีค่าไม่ถึง 100 บาทนั่นเองค่ะ
แนวคิดเรื่องมูลค่าของเงินตามระยะเวลาจะช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบมูลค่าของเงินในเวลาที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม และเป็นหลักการหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจลงทุนค่ะ
เราสาสามารถสังเกตได้จากค่าครองชีพที่สูงขึ้นทุกปี จากอัตราเงินเฟ้อ หรือถ้าหากนำเงิน 100 บาทนั้น ไปลงทุน ฝากธนาคารก็จะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากที่ธนาคารกำหนด เมื่อฝากเงินนานขึ้น มูลค่าของเงินก็จะเพิ่มขึ้น เหล่านี้เป็นกลไกพื้นฐานด้านการเงิน ที่เราพบเจอได้ในชีวิตประจำวันค่ะ
เราสามารถสร้างผลตอบแทนได้จากเงินที่ได้รับในวันนี้ เช่น วันนี้มีเงิน 10,000 บาท หากนำไปลงทุนได้ผลตอบแทน 5% ต่อปี ในอีก 1 ปีข้างหน้าเราก็จะได้รับเงินทั้งสิ้น 10,500 บาท
👉 จะเห็นได้ว่า เงินจำนวน 10,000 บาท มีมูลค่าในอนาคต (Future Value : FV) เท่ากับ 10,500 บาท
👉 และเงินจำนวน 10,500 บาท ในอีก 1 ปีข้างหน้า มีมูลค่าปัจจุบัน (Present Value : PV) ณ วันนี้ เท่ากับ 10,000 บาท
โดยทั่วไป ผลตอบแทนของการฝากเงินหรือลงทุนจะอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ย ปัจจัยที่กำหนดมูลค่าของเงินจึงได้แก่ ระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ย
⛳ ตัวอย่าง 1 มูลค่าเงินตามเวลาของเงิน 100 บาท ที่นำไปฝากธนาคารที่อัตราดอกเบี้ย 3% เป็นระยะเวลา 3 ปี
📌 เงิน 100 บาท ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 3% ได้ดอกเบี้ย 3 บาท
📌 เงิน 100 บาท ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 3% ได้ดอกเบี้ย 3 บาท
📌 เงิน 100 บาท ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3% ได้ดอกเบี้ย 3 บาท
ดังนั้น ภายหลังเวลา 3 ปี รวมได้ดอกเบี้ย 3 X 3 = 9 บาท เงินที่นำไปฝาก 100 บาทจงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 109 บาท จะเห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไปมูลค่าเงินก็สูงขึ้นตามระยะเวลาในการลงทุน อย่างไรก็ตาม มูลค่าเงินที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นการคำนวณดอกเบี้ยแบบง่ายเท่านั้น ในทางปฏิบัติ มูลค่าเงินที่เพิ่มขึ้นจริงต้องคำนวณแบบดอกเบี้ยทบต้นค่ะ
ดอกเบี้ยแบบทบต้น (Compound interest) คือ นำดอกเบี้ยที่ได้รับจากการฝากเงินแต่ละงวดมารวมเป็นเงินต้นของงวดต่อๆ ไป ซึ่งผลของดอกเบี้ยทบต้นนี้จะทำให้ดอกเบี้ยที่ได้รับในงวดต่อๆ ไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มูลค่าของเงินที่เพิ่มตามเวลายิ่งโตมากขึ้น เพราะได้ดอกเบี้ยบนดอกเบี้ยอีกชั้นหนึ่งค่ะ
⛳ ตัวอย่าง 2 มูลค่าเงินตามเวลาของเงิน 100 บาท ที่นำไปฝากธนาคารที่อัตราดอกเบี้ยทบต้น 10 % เป็นระยะเวลา 3 ปี
📌 สิ้นปีที่ 1 เงินต้น 100 บาท ดอกเบี้ย 10% ได้ดอกเบี้ย 10 บาท มูลค่าเงินเพิ่มเป็น 110 บาท
📌 สิ้นปีที่ 2 เงินต้น 110 (100+10) บาท ดอกเบี้ย 10% ได้ดอกเบี้ย 11 บาท มูลค่าเงินเพิ่มเป็น 121 บาท
📌 สิ้นปีที่ 3 เงินต้น 121 (110+11) บาท ดอกเบี้ย 10% ได้ดอกเบี้ย 12.1 บาท มูลค่าเงินเพิ่มเป็น 133.10 บาท
เมื่อเข้าใจหลักการหามูลค่าอนาคตแล้ว สิ่งที่เราจะเข้าใจตามมาก็คือมูลค่าปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อเรารู้อัตราดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้องแล้ว เรามีเงิน 1 บาทในวันนี้ เราก็บอกได้ว่าในอนาคต เงิน 1 บาทนั้นจะมีมูลค่าเป็นเท่าไหร่ เรียกว่า “มูลค่าอนาคต” 💦
ในทางกลับกัน หากเรารู้มูลค่าเงินในอนาคตที่ต้องการ เราก็คำนวณกลับมาได้ว่าต้องใช้เงินตั้งต้นเท่าไร หรือเรียกว่า “มูลค่าปัจจุบัน” 💦
ในการลงทุนหรือฝากธนาคารเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยตามระยะเวลาจนมีเงินเท่ากับมูลค่าอนาคตตามเป้าหมาย โดยอัตราดอกเบี้ยที่ใช้คำนวณเงินในอนาคตกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันนี้ เราเรียกว่า “อัตราคิดลด” 💦
⛳ ตัวอย่าง 3 หากในระยะเวลา 3 ปี เราต้องการมีเงินในอนาคต 133.1 บาท โดยดอกเบี้ยอยู่ที่ 10% ต่อปี เราจะคำนวณเงินตั้งต้นที่เราจำเป็นต้องฝากธนาคาร/ลงทุนหรือมูลค่าปัจจุบันได้ดังนี้
📌 สิ้นปีที่ 3 มูลค่าเงินอนาคต 133.10 บาท ดอกเบี้ย 10% ได้ดอกเบี้ย 12.1 บาทจากเงินต้น 121 บาท
📌 สิ้นปีที่ 2 มูลค่าเงินอนาคต 121 บาทดอกเบี้ย 10% ได้ดอกเบี้ย 11 บาท จากเงินต้น 110 บาท
📌 สิ้นปีที่ 1 มูลค่าเงินอนาคต 110 บาทดอกเบี้ย 10% ได้ดอกเบี้ย 10 บาท จากเงินต้น 100 บาท
เมื่อเวลาผ่านไป หากเราไม่ได้เอาเงินไปฝากหรือไปลงทุนสร้างผลตอบแทนใดๆขึ้น เงินเฟ้อย่อมทำให้อำนาจซื้อของเงิน 1 บาทลดลงทุกปี จนมูลค่าอนาคตอาจน้อยลงกว่ามูลค่าของเงินในปัจจุบันได้ เพราะของแพงขึ้น ลักษณะแบบนี้ เรียกว่า “เงินเฟ้อลิดรอนมูลค่า” 💦
⛳ ตัวอย่าง 4 มูลค่าเงินตามเวลาของเงิน 100 บาท ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเสียโอกาสลงทุนในระยะเวลา 3 ปี และผลจากเงินเฟ้อ ณ อัตราเงินเฟ้อ 2%
📌 เงิน 100 บาท ปีที่ 1 เงินเฟ้อ 2% สิ้นปีเงินลดไป 2 บาท มูลค่าเงินที่แท้จริงลดลงเหลือ 98 บาท
📌 เงิน 98 บาท ปีที่ 2 เงินเฟ้อ 2% สิ้นปีเงินลดไป 2 บาท มูลค่าเงินที่แท้จริงลดลงเหลือ 96.04 บาท
📌 เงิน 96.04 บาท ปีที่ 3 เงินเฟ้อ 2% สิ้นปีเงินลดไป 2 บาท มูลค่าเงินที่แท้จริงลดลงเหลือ 94.12 บาท
ดังนั้น เมื่อเรารู้ว่ามูลค่าเงินในปัจจุบันมีค่ามากกว่าเงินในอนาคต ก็จะช่วยให้เราตัดสินใจทุกอย่างและวางแผนที่เกี่ยวกับเงินได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเลือกใช้เงินวันนี้หรือเลือกใช้วันหน้า หรือจะเลือกลงทุนเพื่อให้เงินมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
จะเห็นได้ว่า โอกาสในการสร้างผลตอบแทนนั้นเกิดขึ้นจากระยะเวลา ดังนั้น แนวคิดเรื่องมูลค่าของเงินตามระยะเวลาจึงเป็นแนวคิดพื้นฐานที่ควรนำมาพิจารณาเสมอเมื่อมีการตัดสินใจทางการเงิน โดยเฉพาะการวางแผนการลงทุนและการวางแผนเพื่อการเกษียณ เพราะเป็นแผนการเงินที่ควรจะใช้ประโยชน์จากระยะเวลาในการสร้างผลตอบแทนใด้เต็มที่
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าใจแล้วว่ามูลค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา หากปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ อำนาจซื้อของเงินจะลดลงจากเงินเฟ้อ แต่หากนำไปลงทุน มูลค่าอนาคตของเงินนั้นก็จะสูงกว่าจำนวนเงินตั้งต้นในปัจจุบัน เราจึงควรตัดสินใจเรื่องการลงทุนตั้งแต่วันนี้ เพราะ “เวลาเป็นเงินเป็นทอง” ยิ่งปล่อยให้เนิ่นนาน เงินทองก็ยิ่งหดหายนะคะ
ที่มา :
https://www.set.or.th/set/financialplanning/glossary.do?contentId=21#:~:text
https://thaipublica.org/2018/03/kkp-financial-literacy-07/
https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/financial-investment/time-value-of-money
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ช่องทางอื่นในการติดตาม เพจลงทุนในบัญชีและภาษี
FB :
https://www.facebook.com/BSV.BSerp.BusinessValue
Website :
https://accounting.bsv-th.com/
ขอบคุณทุกกำลังใจ และการติดตามนะคะ 🙏🙏😘😘
1
31 บันทึก
70
50
32
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สู่อิสรภาพทางการเงิน
31
70
50
32
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย