Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แอร์ป้า⭐ห้าดาว
•
ติดตาม
28 ก.พ. 2019 เวลา 03:30 • การศึกษา
EqyptAir Flight 864 โหม่งโลกที่ดอนเมือง เพราะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นรันเวย์!?
ย้อนอดีต 43 ปีที่แล้ว กับอีกหนึ่งเที่ยวบินประวัติศาสตร์เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่ยากจะลืม เพราะอุบัติเหตุครั้งนี้ นอกจากจะคร่าชีวิตคนบนเครื่องบินจนสิ้นแล้ว แต่ยังลามไปถึงประชาชนบนพื้นดิน ที่ต้องประสบกับชะตากรรมหลับไม่ตื่น แบบที่ไม่ได้ทันได้ตั้งตัว
2
รูปภาพเครื่องบินในรุ่นเดียวกัน
เที่ยวบินที่ทุกคนบนเครื่องต่างมีความสุขและความหวังที่จะได้พักผ่อน ได้เที่ยวอย่างมีความสุขกับครอบครัว และเพื่อน ในวันหยุดยาว คริสมาสต์ของพวกเค้า แต่ต้องมาจบลงในวันคริสมาสต์สุดท้ายของชีวิตที่ดอนเมือง ที่ไม่มีโอกาสแม้แต่คำร่ำลา..
1
ย้อนเวลากลับไป เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2519
สายการบิน อียิปต์แอร์ เที่ยวบินที่ 864 ได้เดินทางออกจาก กรุงโรม มีจุดมุ่งหมายปลายทางสู่ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยที่จะมีการแวะรับผู้โดยสาร 3 ที่คือ
1. เมือง ไคโร ประเทศอียิปต์
2. บอมเบย์ ประเทศอินเดีย
และสุดท้าย คือ ดอนเมือง ประเทศไทย
เที่ยวบินนี้บินด้วย เครื่องบินแบบ โบอิ้ง 707-366c พร้อมด้วยผู้โดยสารทั้งหมด 43 คนและลูกเรือ 9 คน รวมทั้งสิ้น 52 คน
เหตุเกิดในเที่ยวบินขาที่มาจาก บอมเบย์ ประเทศอินเดีย มุ่งสู่ง ท่าอากาศยานดอนเมือง ประเทศไทย
เที่ยวบินนี้ ออกเดินทางมาจากไฟล์ทก่อนหน้าที่รับผู้โดยสารมาก่อนแล้ว จากกรุงโรม และด้วยการเดินทางยาวนานหลายชั่วโมงที่ราบรื่น ทำให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างปกติ และไม่ได้รับการรายงานใดๆเกี่ยวกับความบกพร่องของเครื่องบิน..
03:30 เวลาตีสามครึ่ง เป็นเวลาที่เครื่องบินได้เข้ามาใกล้สนามบินท่าอากาศยานดอนเมืองเต็มที ในขณะที่เครื่องบินได้บินมาอย่างปกติ ก็ถึงเวลาที่นักบิน จะต้องเตรียมเครื่องที่จะลงจอดโดยการติดต่อกับหอบังคับการบิน เพื่อรับรายงานข้อมูลการลงจอด ทั้งข่าวอากาศ และทัศนวิสัยการมองเห็น ของรันเวย์
และสิ่งที่นักบินได้รับรายงานหลักๆคือ
1. เมฆที่มีอยู่ 2/8 ถึง 4/8 โดยที่ฐานเมฆอยู่สูงจากพื้นดิน 300 เมตร(ประมาณ 1,000 ฟุต)
ซึ่งแปลว่า นอกจากท้องฟ้าที่มืดมิด เพราะเป็นเวลากลางคืนในขณะนั้น หากแบ่งท้องฟ้าเป็น 8 ส่วน จะมีเมฆอยู่ 2-4 ส่วนในนั้น
อาจเรียกได้ว่ามีหมอก ไม่ถึงกับหนาจนมองไม่เห็น แต่ท้องฟ้าก็ไม่ได้ใสจนเห็นทุกอย่างชัดแจ้ง..
2. Visibility คือทัศนวิสัย ในขณะนั้น คือ 4,000 เมตร
แปลว่าอะไร?
แอร์ป้าต้องขออธิบายก่อนเพื่อความเข้าใจง่ายมากขึ้น โดยปกติแล้ว ทัศนวิสัยในการบิน จะเป็นตัวบ่งชี้ว่านักบินจะสามารถลงจอดได้หรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของการทำ Approach นั้นๆ เพราะทัศนวิสัยคือระยะการมองเห็นรันเวย์
กล่าวคือ แต่ละสนามบินจะมีข้อกำหนดในการลงจอดมากมาย และหนึ่งในนั้นคือ ทัศนวิสัย ซึ่งจะมีระยะที่ต่างกันออกไปเช่น สนามบิน A ต้องการทัศนวิสัย ในการลงจอด 1,200 เมตร ด้วยวิธีการลงจอดแบบหนึ่ง แต่หากขณะที่กำลังบินเข้ามา มีฝนตก ทำให้ทัศนวิสัยในขณะนั้นคือ 1,000 เมตร ก็แปลว่าจะไม่สามารถลงจอดได้นั่นเอง
(ซึ่งการลงจอดของเครื่องบินนั้นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องบิน จึงทำให้ข้อกำหนดเรื่องทัศนวิสัยแตกต่างด้วยเช่นกัน)
และหากวันไหนไปบินลงแอร์พอร์ทที่กำลังฝนตก หมอกจัด หิมะตก พายุทะเลทรายเข้า ทำให้ในขณะที่กำลังจะแลนด์แล้ว Visibility หรือทัศนวิสัย ไม่เพียงพอ มองไม่เห็นตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของทุกคนแล้ว นักบินก็จะตัดสินใจไม่ลงจอด โดยที่ใช้วิธีการบินขึ้นเพื่อไปวนอีกรอบ แล้วกลับมาลงใหม่ หรือที่เรียกว่า Go around
หรือถ้าแย่มาก วนแล้ววนอีก อากาศก็ยังแย่อยู่ ก็ต้องไปลงรันเวย์อื่น หรือสนามบินอื่นใกล้เคียง คือสนามบินสำรอง(Alternate Airport) หรือแย่ที่สุดก็บินกลับไปที่เดิมที่เจ้ามานั่นแหละเด้ออ
เพราะหากไม่ทำเช่นนี้ ยังฝืนลงจอดทั้งๆที่ ทัศนวิสัยไม่ได้ ก็มีแต่พังกับพังแน่ๆ เครื่องบินพัง คนพังไม่พอ แต่หากโชคดีได้รอดชีวิตมา ชีวิตนักบินก็ไม่มีเหลือแน่นอน เพราะกฎเค้ามีไว้ให้ทำตาม เค้ามีการกำหนดทัศนวิสัย ระยะที่เหมาะสม เพื่อการลงจอดที่ปลอดภัยเอาไว้แล้ว
กลับเข้าเคสนี้ นักบินได้รับข้อมูลของ Visibility ที่ 4,000 เมตร จึงแปลว่า..
เมื่อนักบิน บินมาไม่ว่าจะไกลจากไหน ท่านจะมองเห็นสนามบิน หรือรันเวย์ของท่าอากศยานดอนเมือง ที่ระยะ 4,000 เมตร จึงเป็นทัศนวิสัยที่สามารถนำครื่องลงจอดได้อย่างปลอดภัย
หากทัศนวิสัย 4,000 เมตร(4 กม.) คือถือว่าดีปานกลาง แล้วดีมากคือเท่าไหร่กัน?
คำตอบคือ 10 กิโลเมตร ขึ้นไป
ในขณะที่ทุกอย่างพร้อม หอบังคับการบินได้ส่งสัญญาณเพื่อการลงจอดที่ รันเวย์ 21L คือรันเวย์ของท่าอากาศยานดอนเมือง ทางด้านซ้าย (ฝั่งบริเวณของท่าอากาศยานทหาร) หรือพูดง่ายๆคือบินเข้ามาทางฝั่งรังสิต
และวินาทีสุดท้ายของชีวิตก็เริ่มขึ้น เมื่อเวลา 03:45
เพียงแค่ 15นาที ผ่านไปของนักบิน ที่กำลังเตรียมเครื่องลงจอดที่รันเวย์ กลับกลายเป็น 15 นาทีสุดท้ายที่จะพาทุกคนไปฉลองคริสมาสต์อย่างไม่มีวันกลับ..
เพียงแค่ 2 กิโลเมตร ขึ้นไปทางเหนือของสนามบิน
ขณะนี้เครื่องได้ลงจอดบน โรงงานทอผ้า! แทนที่จะเป็นรันเวย์เสียแล้ว ทุกอย่างพังพินาศด้วยแรงระเบิดจนหมดสิ้น ทุกคนบนเครื่องไม่มีใครรอดชีวิต หรือแม้แต่คนเดินดิน สาวโรงงานที่ถูกร่วมชะตากรรม กำลังนอนหลับแบบไม่มีวันได้ตื่น อีก 19 ชีวิต
เป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อนักบินเตรียมตัว และเตรียมเครื่องบินอย่างดิบดี ทุกอย่างดูพร้อมไปหมด จะมีก็เพียงแต่ สภาพอากาศที่ก็ไม่ได้ดูแย่มาก แต่ก็ไม่ได้ใสแจ๋วขนาดนั้น..
สรุปได้ว่า นักบิน เข้าใจผิด คิดว่านี่คือรันเวย์! นักบินได้เกิดข้อผิดพลาด ในทัศนวิสัย
และด้วยภาพที่เห็นของโรงงาน มีการประดับตกแต่งด้วยไฟของพื้นที่บริเวณนั้นเป็นทางยาวตามต้นมะพร้าว ซึ่งมีลักษณะคล้ายไฟบนรันเวย์
กว่านักบินจะรู้ตัวว่าสิ่งที่อยู่ข้างหน้าไม่ใช่รันเวย์ ก็สายเกินไป ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้ว...
ภาพความสูญเสีย..
สุดท้าย ทางสายการบินอียิปต์แอร์ มีการอ้างถึงหอบังคับการบินของไทยว่าให้ข้อมูลทางอากาศที่ไม่เพียงพอ ซึ่งความจริงแล้วเป็นอย่างไร เราไม่อาจรู้ได้ แต่ถึงอย่างไรสุดท้ายผู้ที่ตัดสินใจเป็นด่านสุดท้าย ก็คือ นักบินอยู่ดี..
เนื่องจากเหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นเมื่อนานมากแล้ว..นานขนาดที่ว่าข้อมูลเชิงลึกและรูปภาพก็หายากมาก ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะวิเคราห์ให้ได้โดยละเอียด
เพราะด้วยเทคโนโลยีที่ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร อาจจะเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเช่นนี้
แต่ด้วยความผิดพลาดของวงการการบินที่เกิดขึ้น ทำให้ทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นกว่าเดิม จนไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิมอีก เป็นแน่นอน!
ขอไว้อาลัยให้กับเที่ยวบินนี้อีกครั้ง
Have a safe flight✈
#แอร์ป้าห้าดาว
Credit
https://en.m.wikipedia.org/wiki/EgyptAir_Flight_864
https://www.revolvy.com/page/EgyptAir-Flight-864
http://aviation-safety.net/database/record.php?id=19761225-0
https://wikivividly.com/wiki/EgyptAir_Flight_864
http://news.ch3thailand.com/abroad/15287
Credit ภาพ
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/09/X8359898/X8359898.html
13 บันทึก
144
26
17
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Air Crash investigation by แอร์ป้า⭐ห้าดาว
13
144
26
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย