7 มี.ค. 2019 เวลา 05:04
ครีมกันแดด 💥😊ทำงานอย่างไร? ตอน2/2
ค่า SPF ในการป้องกันรังสี UVB
ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีบี (UVB) เราจะเรียกว่า SPF (Sun Protection Factor) แต่ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ “ค่า SPF ก็คือ ค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVB ไม่ให้เกิดอาการแดงของผิวหนัง” ซึ่งการจะคำนวณระยะเวลาในการป้องกันรังสี UVB จะต้องดูพื้นผิวของเราเป็นหลัก ซึ่งผิวแต่ละคนจะมีระยะเวลาในการป้องกันไม่เท่ากันอยู่แล้ว อย่างเช่น คนผิวขาวเมื่อตากแดดไปเพียง 10 นาที ผิวก็จะเริ่มแดง แต่อย่างคนทั่วไปที่มีผิวสองสีจะต้องใช้เวลาตากแดด 15 นาที ผิวถึงจะเริ่มแดง หรือถ้าเป็นคนผิวสีเข้มหรือผิวดำ ก็อาจจะต้องตากแดดนานถึง 30 นาที ผิวถึงจะเริ่มแดง เป็นต้น
ส่วนค่าตัวเลขหลัง SPF ที่ระบุไว้ อย่าง SPF 30 นั้นจะหมายถึง “การใช้ระยะเวลานานกว่า 30 เท่าของเวลาที่ทำให้ผิวแดงเมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่เรายังไม่ได้ทาครีมกันแดด” เช่น ถ้าเราอาบแดดในหน้าร้อนโดยไม่ได้ทาครีมกันแดดแล้วผิวจะเริ่มแดงในเวลา 10 นาที หมายความว่า SPF 30 จะสามารถป้องกันไม่ให้ผิวแดงได้นาน 300 นาที (5 ชั่วโมง) ดังนั้นหลังจาก 300 นาที ถ้าเรายังต้องโดนแสงแดดอยู่ ก็จำเป็นต้องทาครีมกันแดดซ้ำด้วยครับ แต่จากหลักการข้างต้นนี้เป็นเพียงการอธิบายถึงเวลาที่ต่อเนื่องเท่านั้น (เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย) ทำให้หลาย ๆ คนยังเข้าใจผิดคิดว่าหากถูกรังสียูวีในระยะเวลาที่น้อยกว่านี้ผิวคงไม่เป็นไร ! ทางที่ดีคุณควรคิดใหม่ว่า "แม้ปริมาณรังสียูวีที่ได้รับจะเป็นเพียงแค่ 1 ใน 15 ของระยะเวลาในการปกป้องจากครีมกันแดด แต่ก็ไม่ได้หมายความจะทำให้อิทธิพลจากรังสียูวีเป็นศูนย์"
อีกทั้งตัวเลขเหล่านี้ก็เป็นตัวเลขที่ได้มาจากการคำนวณเท่าคร่าว ๆ นั้น เมื่อนำมาใช้จริง ๆ ก็อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้บ้างพอสมควร ด้วยสาเหตุหลายประการ โดยเฉพาะปริมาณของครีมกันแดดที่เราใช้ทา ซึ่งถ้าจะให้ได้รับการป้องกันของค่า SPF ตามที่ระบุไว้ในฉลาก เราก็ต้องทาครีมกันแดดมากถึง 2 มิลลิกรัมต่อเนื้อที่ผิวหนัง 1 ตารางเซนติเมตร แต่ในชีวิตจริงเรามักทากันไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ ประสิทธิภาพที่บอกไว้ก็อาจจะลดลง 30-50% เช่น จากตัวเลข 5 ชั่ว ก็อาจจะเหลือแค่ 2-3 ชั่วโมง เป็นต้น
ในปัจจุบันนี้การวัดค่า SPF จากปริมาณแสงแดดที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดอาการแดงที่ผิวหนัง จะเป็นการสังเกตด้วยตาเป็นหลัก จึงอาจทำให้ค่าที่วัดได้ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร เพราะจากการศึกษาพบว่า ปริมาณแสงที่น้อยกว่านี้อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังและมีการทำลายเซลล์ของผิวหนังไปแล้ว ซึ่งในอนาคตอาจต้องมีการวัดการทำลายผิวหนังของแสงแดดอาการแดงที่เห็นได้ด้วยตา เช่น การดูลักษณะของเซลล์ผิวหนังที่เปลี่ยนไปจากการไหม้แดด, การดูลักษณะของเส้นใยอีลาสตินที่เปลี่ยนรูปร่าง, การลดลงของจำนวน Langerhans cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ค่า SPF ยิ่งสูงก็ยิ่งแสดงว่าครีมกันแดดนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีได้มากขึ้นด้วย ดังนี้
• SPF 2 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 50%
• SPF 4 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 75%
• SPF 6 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 80%
• SPF 8 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 87.5%
• SPF 10 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 80%
• SPF 15 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 93.3%
• SPF 20 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 95%
ในปัจจุบันนี้การวัดค่า SPF จากปริมาณแสงแดดที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดอาการแดงที่ผิวหนัง จะเป็นการสังเกตด้วยตาเป็นหลัก จึงอาจทำให้ค่าที่วัดได้ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร เพราะจากการศึกษาพบว่า ปริมาณแสงที่น้อยกว่านี้อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังและมีการทำลายเซลล์ของผิวหนังไปแล้ว ซึ่งในอนาคตอาจต้องมีการวัดการทำลายผิวหนังของแสงแดดอาการแดงที่เห็นได้ด้วยตา เช่น การดูลักษณะของเซลล์ผิวหนังที่เปลี่ยนไปจากการไหม้แดด, การดูลักษณะของเส้นใยอีลาสตินที่เปลี่ยนรูปร่าง, การลดลงของจำนวน Langerhans cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ค่า SPF ยิ่งสูงก็ยิ่งแสดงว่าครีมกันแดดนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีได้มากขึ้นด้วย ดังนี้
• SPF 2 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 50%
• SPF 4 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 75%
• SPF 6 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 80%
• SPF 8 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 87.5%
• SPF 10 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 80%
• SPF 15 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 93.3%
• SPF 20 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 95%
• SPF 25 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 96%
• SPF 30 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 96.7%
• SPF 45 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 97.8%
• SPF 50 ป้องกันแสงแดด UVB ได้ 98%
จะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดที่ค่า SPF สูง ๆ นั้นแทบไม่มีความแตกต่างกันเลย ซึ่งอัตราการป้องกันแสงแดดจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง SPF 30 เท่านั้น และเมื่อเลยจากจุดนี้อัตราการป้องกันจะเพิ่มขึ้นอย่างเฉื่อยมาก ๆ ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องไปซื้อกันแดดที่ค่า SPF สูง ๆ มากเกินไปมาใช้
ประเภทของครีมกันแดด
• ครีมกันแดดชนิดเคมี (Chemical sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำหน้าที่ในการปกป้องแสงแดด ด้วยการดูดซับรังสีเข้าผิวหนังแล้วเปลี่ยนเป็นความร้อน เพื่อป้องกันไม่ให้แสงผ่านลงในชั้นผิวหนังได้ (เนื้อครีมจะเป็นข้น ๆ น้ำนมเหมือนเนื้อครีมทั่วไป ซึมซับได้ง่าย) ซึ่งหลังจากโดนแดดสักพัก สารเคมีเหล่านี้ก็จะเสื่อมสภาพ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราต้องทาครีมกันแดดทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง สารป้องกันแดดประเภทนี้บางชนิดจะดูดซับได้เฉพาะรังสี UVA หรือ UVB หรือทั้งสองอย่าง สารเคมีที่ใช้ผสมในครีมกันแดด คือ Panimate O, Bensophenone, Cinnamates, Antranilate, Homosalate และ Oxybenzene ซึ่งครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ง่ายขึ้นด้วย โดยเฉพาะกับคนที่มีผิวแพ้ง่าย
• ครีมกันแดดชนิดกายภาพ (Physical sunscreen) จะมีส่วนผสมของสารที่สามารถสะท้อนรังสี UVA และ UVB ที่ตกกระทบให้ออกไปจากผิวหนังได้ ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีผลระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่าสารในกลุ่มแรก แต่ข้อเสียของครีมกันแดดประเภทนี้คือจะไม่สามารถให้ค่า SPF ที่สูงได้ เนื้อครีมจะไม่ละเอียดมากนักหรืออาจเป็นขุยหน่อย ๆ คล้ายกับมีแป้งผสมเพราะเป็นเหมือนรองพื้นในตัวได้ด้วย และเมื่อนำมาทาบนผิวหนังแล้วจะทำให้ดูวอกหรือดูขาวมากจนเกินไป (เนื่องจากสารจะเคลือบบนผิวหนังชั้นบนเพื่อรอแสงมากระทบ จึงมีการดูดซึมสู่ผิวน้อย) อีกทั้งยังล้างออกได้ยากอีกด้วย
• ครีมกันแดดชนิดผสม (Chemical-Physical sunscreen) เป็นแบบผสมที่ช่วยเสริมข้อดีและลดข้อด้อยในแต่ละส่วน นั่นคือ ลดการระคายเคืองต่อผิวหนังจากสารเคมี ลดความขาวเมื่อทาครีม และช่วยเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดร่วมกัน
Cr:medthai
โฆษณา