18 มี.ค. 2019 เวลา 16:09 • สุขภาพ
Series W : การออกกำลังกายแบบ Total body
ตัวอย่างการออกกำลังกายแบบ Full Body
การออกกำลังกายแบบ Total body หรือทั่วร่างกาย เป็นการออกกำลังกายโดยใช้งานกล้ามเนื้อทุกกลุ่ม แทนที่จะเล่นแบบแยกส่วน หรือ Split body แบบที่นิยมกันมาโดยตลอด
1
โดยการฝึกรูปแบบนี้ช่วยทำให้สามารถเพิ่มความถี่ของการกระตุ้นกล้ามเนื้อในแต่ละสัปดาห์ได้มากขึ้นกว่าการเล่นเพียงสัปดาห์ละครั้งหรือสองครััง ตามรูปแบบแยกส่วน จึงเป็นข้อดีของ Total body
ข้อเสียของการออกกำลังกายแบบนี้ คือปริมาณและความหนัก (Volume และ Intensity )ในการฝึกจะลดลง ดังนั้นการฝึกรูปแบบนี้ควรจะกำหนดความหนักให้เหมาะสมกับตัวบุคคล
เหตุผลที่ควรออกกำลังกายแบบ Total body
1.เวลาในการออกกำลังกายมีจำกัด
ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่มีเวลาที่น้อยลงเนื่องจากการทำงาน หรือการเรียน ดังนั้นการจะมาออกกำลังกายหลายๆครั้ง (4-7 วันต่อสัปดาห์) เพื่อเล่นให้ครบทุกส่วนของร่างกายนั้นอาจจะไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร
การออกกำลังกายแบบ Total body เพียงจำนวน 2-3 วันต่อสัปดาห์นั้นก็เพียงพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการพัฒนาได้
เวลาเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่มีอะไรทดแทนได้
2.สามารถพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ดี
การออกกำลังกายแบบ Total body สามารถพัฒนาความแข็งแรงได้ทั้งร่างกาย
ในบุคคลผู้ออกกำลังกายที่ไม่ใช่ระดับมืออาชีพนั้น การแยกส่วนนั้นการพัฒนาด้านขนาดและแรงของกล้ามเนื้อนั้นไม่ต่างจาก การเล่นทั่วทั้งร่างกาย
ดังนั้นออกกำลังกายแบบ Total body จึงสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้ดี เนื่องมาจากกล้ามเนื้อได้รับการ
กระตุ้นหลายครั้งต่อสัปดาห์ จึงเกิดการพัฒนาได้เร็ว
3.เบิร์นแคลลอรี่ได้มาก
การออกกำลังกายแบบ Total body นั้นใช้กล้ามเนื้อหลายมัดในการเคลื่อนไหว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้พลังงานที่สูงตามไปด้วย จึงเกิดการเผาพลาญพลังงานในร่างกายได้เป็นจำนวนมากต่อการออกกำลังกายในแต่ละครั้ง
ข้อควรระวังในการออกกำลังกายแบบ Total Body
- การใช้กล้ามเนื้อหลายมัดพร้อมกันทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อทำได้ยาก จึงมีโอกาสบาดเจ็บจากการเล่นได้ง่าย
- อาจจะทำให้เกิดอาการ Overtraining ได้เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายทั่วตัว หากเล่นหนักเกินไปจะทำให้เกิดอาการลเราสะสมมากเกินกว่าการฟื้นฟูได้
ตัวอย่างท่าการออกกำลังกาย
References
โฆษณา