1 เม.ย. 2019 เวลา 15:51 • ประวัติศาสตร์
ขุนช้างขุนแผน ฉบับวัดเกาะ
โดย คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร
ขุนช้างขุนแผน นักประวัติศาสตร์โบราณคดีบางท่านเชื่อว่าอิงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หากพิจารณาจากสถานที่ และเหตุการณ์ตามท้องเรื่อง และมีการปรับเปลี่ยนเหตุการณ์ฉากหลัง ที่เกิดขึ้นสมัยพระนเรศ ไปจนถึงพระนารายณ์ เดิมทีเป็นนิทานที่ผูกเป็นกลอนเสภาเพื่อง่ายต่อการจดจำของผู้เล่าเรื่อง ภายหลังมีการบันทึกลงในสมุดไทย หลายสำนวน ขึ้นกับความจดจำของผู้บันทึก แต่โครงเรื่องเหมือนกันที่ดำเนินเรื่องตั้งแต่กำเนิดพลายแก้ว ขุนช้าง นางพิมพิลาไลย ไปจนถึงประหารชีวิตนางวันทอง
จุดน่าสนใจในแง่โหราศาสตร์ กล่าวคือฉบับวัดเกาะนี่มีเนื้อหาเกี่ยวของกับการใช้ศาสตร์พยากรณ์ และโหราศาสตร์ ปะปนอยู่หลายเรื่อง อาทิเช่น
การพยากรณ์ความฝันภรรยาโดยพ่อของเด็กทั้งสามที่เป็นต้นเรื่อง ว่าจะได้ลูกตามลักษณะในฝัน
การพยากรณ์ความฝันนางพิมว่าจะเจอเนื้อคู่โดยสายทองพี่เลี้ยง
การดูฤกษ์ยามผีหลวงหลาวเหล็กโดยเณรแก้วเพื่อย่องเข้าบ้านนางพิม
การเพ่งนิมิตยกเมฆ คือเพ่งดูรูปร่างเมฆเพื่อพยากรณ์ดีร้าย ในตำราพิชัยสงครามที่เณรแก้วเรียนรู้จากสมภาร
การพยากรณ์คู่ครองโดยวิธีฉัตรสามชั้นในเมืองลาว และตอนนี้ท่านขรัวตาจูทักนางพิมให้เปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง
ท่านขรัวตาจูจับยามสามตรา (ยามตรีเนตร์) เพื่อบอกวันทองว่าขุนแผนมีชัยข้าศึก เพื่อไม่ให้หลงกลขุนช้าง
ขุนแผนใช้ยามอัฐกาลพยากรณ์ความฝันทางวันทอง พบว่าจะมีเคราะห์ แต่ไม่กล้าทักออกไป
เป็นต้น
บ่งบอกให้เห็นว่าการพยากรณ์แบบพื้นบ้านไทยฝังรากลึกจนเป็นเรื่องปกติในสังคมชาวบ้านหรือขุนนางระดับล่าง จึงไม่แปลกที่โหราศาสตร์ไทยตามแบบสุริยยาตร์ถูกผูกขาดใช้กันในราชสำนักในวงแคบเฉพาะกลุ่มบุคคลชั้นสูงเพียงไม่กี่คน จะแทบอันตรธานหลายไปภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยา คงเหลือแต่ตำราผูกดวงและพิธีกรรมตำราฤกษ์ไม่กี่บรรพ พอเหลือเป็นร่องรอยให้คนรุ่นหลังพอเชื่อถือได้ว่าเคยมีโหราศาสตร์ระบบนี้ใช้กันอยู่ในสยามประเทศ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา