3 เม.ย. 2019 เวลา 01:09 • ธุรกิจ
ประวัติ Google ตอนที่ 3 : The Secret Sauce
ลาร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน กำลังเผชิญบททดสอบครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งนึง จากการหยุดเรียนปริญญาเอก จาก สแตนฟอร์ด แล้วมาทำตามสิ่งที่เขาเชื่อมั่นว่ามันจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนโลกเราให้ดีขึ้นได้ แต่ปัญหาแรกคือ พวกเขาแทบจะไม่มีทุนในการจัดหาเซอร์เวอร์ ที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างบ้าคลั่ง ๆ พร้อมกับ เว๊บไซต์ที่กำลังเกิดขึ้นแบบดอกเห็ด
ประวัติ Google ตอนที่ 3 : The Secret Sauce
และเหมือนฟ้ามาโปรดให้กับคู่หูทั้งสอง เมื่อ เดวิด เชอรีตัน หนึ่งในอาจารย์ที่ปรึกษาของเขาที่ สแตนฟอร์ด ได้แนะนำ 2 คู่หูให้ไปพบกับเพื่อนของเขาอย่าง แอนดี เบ็คโตลส์ไฮม์ นักลงทุนในกิจการใหม่ ๆ ที่ประสบความสำเร็จจนได้กลายเป็นตำนานไปแล้ว
ไม่มีใครใน ซิลิกอนวัลเลย์ ที่ไม่รู้จักเขา ผู้ซึ่งเป็น ผู้ร่วมก่อตั้ง Sun Microsystem รวมถึงนักลงทุนต่อเนื่องในอีกหลากหลายกิจการ ที่ล่าสุดเขาเพิ่งปั้นกิจการ startup จนขายให้กับ Cisco ยักษ์ใหญ่ทางด้านเครือข่ายเน็ตเวิร์คส์ ไปกว่า ร้อยล้านเหรียญ
แอนดี เบ็คโตลส์ไฮม์ ผู้ร่วมก่อตั้ง sun microsystem
ซึ่งปัญหาใหญ่ของ บริน และ เพจในตอนนี้ คือเงินทุนในการซื้อคอมพิวเตอร์ เพื่อมาทำเซอร์เวอร์ต่อ แม้พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ราคาถูก ๆ มาดีไซต์ใหม่ให้กลายเป็นพลังของเซอร์เวอร์ขนาดยักษ์แล้วก็ตาม แต่การเพิ่มขึ้นของเว๊บไซต์ในอัตราเร่งขนาดนี้ เงินทุนเพียงน้อยนิดของพวกเขาคงจะไม่พออย่างแน่นอน
แต่สิ่งที่ เบ็คโตลส์ไฮม์ ต้องการรู้คือ google จะทำเงินได้อย่างไร ในเมื่อผู้ร่วมก่อตั้งอย่างบริน และ เพจ นั้นเกลียดการโฆษณามาก พวกเขามองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ Cool หากมีโฆษณาเต็มหน้าจอเหมือนที่ AltaVista หรือ โปรแกรมค้นหารายอื่น ๆ ได้ทำมา
สองคู่หูต้องการโปรแกรมที่เรียบง่าย และใช้งานง่ายที่สุด พวกเขายังไม่คิดถึงการทำเงินใด ๆ แต่ต้องการให้ผู้ใช้งานประทับใจการใช้งานให้มากที่สุด และ สร้างฐานผู้ใช้งานให้มากที่สุดโดยเร็วเท่านั้น
แต่เมื่อมาเรียนรู้ Google อย่างถ่องแท้แล้วนั้น เบ็คโตลส์ไฮม์ ก็ได้เห็นบางอย่างของ Google เขามองว่าโปรแกรมค้นหาคือ ภาพของสารบัญทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมันดูคล้ายสมุนโทรศัพท์หน้าเหลืองที่มีโฆษณาอยู่ในหน้าเดียวกับรายการโทรศัพท์ของช่างไฟ ช่างประปา หรือบริการอื่นใดก็ได้ในระบบอินเตอร์เน็ต และ เบ็คโตลส์ไฮม์ ก็ไม่รีรอที่จะเป็นส่วนนึงของ Google ทันที
เหมือนกับนักลงทุนทางด้านเทคโนโลยีส่วนใหญ่ ที่การลงทุนในสเตจแรกนั้น พวกเขาแทบจะไม่ค่อยหวังด้วยซ้ำว่าจะทำกำไรได้มากมายมหาศาล เหมือนดั่ง Google ในตอนนี้ เบ็คโตลส์ไฮม์ เขียนเช็ค 100,000 เหรียญให้เป็นทุนเปล่าเพื่อประเดิมในการตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการ รวมถึงการนำไปซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อมาทำเซอร์เวอร์เพิ่มเติม
ซึ่งการได้เครดิตจาก เบ็คโตลส์ไฮม์ นั้นก็ทำให้ทั้ง บริน และ เพจสามารถ นำเครดิตไปหาเงินสนับสนุนต่อจากเพื่อนฝูงรวมถึงครอบครัวญาติพี่น้อง จนสามารถหาเงินได้ถึง 1 ล้านเหรียญ ซึ่งเพียงพอที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นให้มากพอที่จะก้าวต่อกับโครงการนี้
การพัฒนา Google ของทั้ง เพจ และ บริน นั้นคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างมากกว่าโปรแกรมการค้นหาอื่น ๆ ที่มีอยู่ในตลาด มันไม่ใช่แค่เพียงการนับ Link แล้วก็แจ้งผลการค้นหาเพียงเท่านั้น
พวกเขาได้สร้างการเชื่อมข้อมูลเกี่ยวกับ Link และคำกับตัวแปรอื่น ๆ โดยใช้วิธีการแบบใหม่ ซึ่งจะให้ผลการค้นหาที่ตรงคำถามมากกว่า เช่น คำ หรือ วลีบนเว๊บเพจที่ค้นหานั้น อยู่ติดกัน หรือ แยกกัน ขนาดตัวอักษร ตัวอักษรใหญ่หรือ ตัวเล็กเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการค้นหาทั้งสิ้น
และที่สำคัญการที่จะทำให้ผลการค้นหามีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นั้น พวกเขาต้องลงทุนในเรื่องฮาร์ดแวร์ในปริมาณที่สูงมาก ๆ เช่นกัน มันไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของซอฟท์แวร์เท่านั้น มันรวมถึงเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้ผลการค้นหาดีขึ้นแทบจะทั้งสิ้น
เซอร์เวอร์ google ในยุคแรก ๆ ประกอบขึ้นจาก PC
สำหรับส่วนหลักของ Google ที่ใช้เทคนิคของ เพจแรงค์นั้น ซึ่งโดยพื้นฐาน Link ที่ถูกชี้มานั้นมันบ่งบอกได้ถึงความสำคัญของเว๊บไซต์นั้น ๆ และ ยิ่งเว๊บไซต์ที่มีขนาดใหญ่ตัวอย่างเช่น Yahoo มี Link มาที่เว๊บใด ๆ มันก็บ่งบอกได้ถึงความสำคัญของเว๊บนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน
สำหรับความท้าทายอย่างหนึ่งที่สำคัญของ Google คือ มีเหล่า hacker พยายามทำให้เว๊บไซต์ของตนอยู่อันดับต้น ๆ ของผลการค้นหา ซึ่งส่วนนี้ มันได้กลายเป็นสงครามของ Google กับเหล่า hacker เหล่านี้
ซึ่งเพจก็ได้หาทางแก้ไขปัญหาอย่างงี้อยู่แล้ว ซึ่งวิธีการก็คือ การให้ความสำคัญของเว๊บไซต์นั้นจะถูกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมันจะทำให้ยากสำหรับผู้ทำเว๊บไซต์ในการเล่นกับ Google ซึ่ง Google จะทำเรื่องนี้ให้เห็นผลด้วยการมุ่งให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก
มันมีหลายส่วนผสมที่ลงตัวของ Google ที่ ตั้งใจมาแก้ปัญหาของโปรแกรมการค้นหาที่มีอยู่ในตลาด google กลายเป็น บริษัทหน้าใหม่ เป้นทางเลือกใหม่ของผู้ใช้งานอย่างรวดเร็ว การส่ง spyder เข้าไปคืบคลานตามเว๊บต่าง ๆ กว่าหลายร้อยล้านเว๊บ ทำให้ google เข้าใจถึง content หรือเนื้อหาของเพจ และมาวัดระดับคุณภาพของเว๊บไซต์ได้ ซึ่งให้ผลการค้นหาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้มากกว่าบริการอื่น ๆ
แต่อีกทางหนึ่ง มันก็เหมือนเป็นการบุกรุกไปยังเว๊บไซต์อื่น ๆ ที่เจ้าของอาจจะไม่ได้อนุญาติให้มาเก็บข้อมูลแบบนี้ ซึ่งฟังดูแล้วมันเป็นเรื่องเสี่ยงอยู่เหมือนกันสำหรับ Google ในช่วงแรกที่ยังไม่เป็นที่นิยม มันเหมือนการแอบไปขโมยเนื้อหาจากเว๊บไซต์ต่าง ๆ จากทั่วโลกเพื่อมาจัดอันดับ โดยที่เจ้าบ้านอาจจะยังไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำ
เครือข่าย Spyder ของ google ช่วงแรก ๆ มันก็เหมือนโจรแอบย่องไปขโมยข้อมูลนั่นเอง
สำหรับ บริน และ เพจ ความท้าทายเหล่านี้ทั้งเรื่องเงินทุนที่จำกัด รวมถึงเทคโนโลยีทางด้านฮาร์ดแวร์ที่ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร พวกเขามีความมุ่งมั่น ที่จะแก้ปัญหาที่คนอื่นเห็นเป็นความยุ่งยากเหล่านี้ มันได้ท้าทายและสร้างแรงจูงใจให้กับสองคู่หู ว่าจะเดินตามรอยเท้ารุ่นพี่ที่เข้า ๆ ออก ๆ สแตนฟอร์ด ไปก่อตั้งบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Sun Microsystem , Yahoo , Logitech ได้หรือไม่
และการได้เงินทุนกว่า 1 ล้านเหรียญในการเริ่มต้นนั้น ตอนนี้พวกเขาพร้อมแล้ว ที่จะทำให้ google กลายเป็นโปรแกรมค้นหาอันดับหนึ่งของโลกให้จงได้ เป้าหมายของพวกเขาที่ดูยิ่งใหญ่มาก ๆ ในเวลานั้น ทั้งสองคู่หู บริน และ เพจ จะพา google ที่ตอนนี้กลายเป็นบริษัทน้องใหม่ในซิลิกอน วัลเลย์ ฝ่าขวากหนามที่ขวางพวกเขาไว้ได้อย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม
อ่านตอนที่ 4 : Divide and Conquer
Credit แหล่งข้อมูลบทความ
หนังสือ The Google Story by David A.Vise , Mark Malseed
หนังสือ เรื่องราวของกูเกิล
ผู้เขียน Dvid A.Vise , Mark Malseed
ผู้แปล วิภาดา กิตติโกวิท
หนังสือ คิดอย่างผู้นำ ทำอย่าง Google
ผู้เขียน Eric Schmidt (เอริก ชมิดท์),Jonatha Rosenberg (โจนาธาน โรเซนเบิร์ก),Alan Eagle (อแลน อีเกิล)
ผู้แปล ณงลักษณ์ จารุวัฒน์,นุชนาฎ เนตรประเสริฐศรี,อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา