Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สาระหลากด้าน ✅
•
ติดตาม
4 เม.ย. 2019 เวลา 06:17 • ความคิดเห็น
(บทความเชิงเปรียบเทียบ)
ระหว่าง2มุมมอง/2ความคิด
"ความฉลาด/ปัญญาดี" vs "ความเฉลียว/ความสุขุมรอบคอบ"
(คุณคิดว่าคุณสมบัติอันไหนสามารถเอาตัวรอดได้ตลอดรอดฝั่ง?)
"ความฉลาดมีทั้งจุดดีและจุดโทษ"
หากผมจะเปรียบเทียบระหว่างตัวละครใน"วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์อย่างสามก๊ก ระหว่าง "ขงเบ้ง" กับ "สุมาอี้" คุณคิดว่าใครสมควรที่จะเอาตัวรอดและได้ชัยชนะอย่างแท้จริงเพียงครั้งเดียว
และใครที่สามารถเอาชนะศึกได้หลายต่อหลายครั้งในเวลาไล่เลี่ยกันได้ ระหว่างคนนึงคือมังกรหลับคือ "ขงเบ้ง" ยอดอัจฉริยะคนแห่งยุคสามก๊ก กับ อีกคนนึงเสือซ่อนเล็บเจ้าสำนักด้านมืด "สุมาอี้ ยอดคนแห่งยุคเช่นกัน. ข้อเปรียบเทียบจุดเด่นระหว่างสองท่านนี้มีดังนี้ครับ โดยรวม
จุดเด่นของ "ขงเบ้ง" (มังกรหลับ)
- มีความซื่อสัตย์ภักดี และ เต็มที่ในหน้าที่
- มีความชำนาญทางด้านกลอุบายศึกสูง
- มีความเป็นคนสมถะ ไม่ทะเยอะทะยาน
- มีความฉลาดในด้านสติปัญญาเป็นเลิศ
- มีความฉลาดทางด้านอารมณ์
- มีความเป็นผู้นำได้อย่างดีเยี่ยม
- คาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี
จุดเด่นของ "สุมาอี้" (เจ้าสำนักด้านมืด)
- มีสายตาอันหลักแหลม ไวดั่งเหยี่ยว
- มีความเฉลียวฉลาด ชำนาญตำราพิชัยสงคราม
- มีความเด็ดขาดใจคอหนักแน่นตัดสินใจได้เฉียบขาด
- มีความอดทนอดกลั้นและระมัดระวังตัวสูง
- มีความรอบคอบสูง
- เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามได้เป็นอย่างดี
- วางตัวได้ดีเก็บความรู้สึกได้เก่ง
https://youtu.be/-xpnTeom61A
นี่ก็เป็นข้อเปรียบเทียบของทั้งสองท่านนะครับในจุดเด่นในแต่ละด้านของยุคสามก๊ก
พวกเราเคยคิดนึกกันบ้างมั้ยครับว่าทำไมบางคนนั้นถึงมีแต่ความฉลาดความสามารถในการทำอะไร หลายต่อหลายอย่างในขณะเดียวกัน ความฉลาดนั้นก็สามารถมีทั้งจุดดีจุดเสียเหมือนกัน บางมุมนั้นคนที่มีความฉลาดความสามารถครบเครื่องมีอะไรพร้อมไปเสียหมด เรียกได้ว่า Persfect เลยก็ไม่ปาน แต่หากเรากลับมามองในมุมกลับล่ะครับ ฉลาดในทางที่ดีก็ดีไป แต่ถ้าหากฉลาดผิดทางก็พลาดได้เช่นกัน
1
จริงอยู่ล่ะครับเป็นคนฉลาดจริงเก่งจริงเรียนรู้อะไรได้รวดเร็วจริงในความสามารถตรงนี้ แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่คนฉลาดบางครั้งมักจะขาดอะไรทราบหรือไม่ครับ นั่นก็คือในบางครั้งยังไม่มี "ความเฉลียว" ในการไหวตัวในการพลิกสถานการณ์หรือการคาดการณ์เฉพาะหน้า
นั่นก็คือ "ความรอบคอบ" นั้นเองครับ ความฉลาดนั้นเราอาจจะมองได้อยู่แล้วใช่มั้ยล่ะครับว่า สามารถคิดเร็วทำอะไรว่องไว มีปฏิภาณไหวพริบไม่แพ้ใคร แต่หากจะใช้ได้ในทางระยะสั้นและระยะยาวนั้นก็ต้องวัดกันอีกทีว่าจะออกมาในรูปแบบไหนกันแน่ ของการเอาชีวิตรอดในทุกสถานการณ์ เพราะหากคิดเร็วทำอะไรว่องไวจริง แต่หากขาดความเฉลียวและรอบคอบก็สามารถจบหรือ Over ได้เช่นเดียวกันครับ
"ความรอบคอบปลอดภัยครอบคลุมได้ทุกสถานการณ์"
ความฉลาดว่องไวได้เห็นผลเร็วทันตาเห็นในการมีความสามารถนี้เพียงอย่างเดียวคงจะไม่พอ สำหรับคุณสมบัตินี้หากอยากที่จะมีชีวิตได้อย่างตลอดรอดฝั่งนั้น จะต้องเสริมความรอบคอบเอาไปด้วยอันนียิ่งสมบูรณ์เข้าไปใหญ่ เรียกได้ว่า สมบรูณ์ชนิดที่ไม่มีช่องโหว่ช่องว่างอย่างใดเลยทีเดียว
ความรอบคอบหากเราจะมองในมุมโทษล่ะจะว่าอย่างไรดีครับ
ส่วนตัวผมคิดว่าความรอบคอบนั้นแทบจะมีน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลยมากกว่า เพราะคนที่จะประสบความสำเร็จนั้นก็ต้องเคยผ่านจุดนี้อยู่แล้วแรกๆอาจจะฉลาดจริงเก่งจริง อาจจะตั้งตัวมีเงินเก็บ สามารถลงทุนอะไรได้ดีจริง แต่พอมาตอนหลังๆอาจจะเสียกำไรในการหารายรับมากกว่ารายจ่าย หรืออาจโดนโกงล้มละลายเกือบเป็น ร้อยล้านพันล้านก็มี แต่พอมีประสบการณ์ในการถูกโดนโกงจนล้มละลายก็ไม่อยากเจอแบบนั้นอีก จึงเพิ่มความระมัดระวังตัวเพิ่มมากขึ้นนั้นก็คือ "ความรอบคอบหรือความเฉลียว" นั่นเอง จนภายหลังเริ่มที่จะไม่มีมุมไหนจะผิดพลาดได้อีกเลยนั่นเองครับ เพราะว่าเขาเหล่านั้นเคยมีแผลจากการผิดพลาดทางธุรกิจมาก่อน เขาเหล่านั้นจึงเอาความผิดพลาดมาเป็นครูของชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดเป็นรอยแผลซ้ำเป็นรอยเดิมอีก เพราะว่าคนเหล่านี้ยิ่งเจอหนักเข้าๆ ก็ไม่อยากที่จะไปเจอหนังม้วนเดิมซ้ำๆที่น่าเบื่อหรือที่เคยผิดมาแล้วอีกนั่นเอง..
ความฉลาดอาจมีได้สำหรับทุกคน แต่ความรอบคอบนั้นอาจไม่มีได้สำหรับทุกคนเสมอไป..
เพราะว่าความฉลาดกับความรอบคอบ ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในคุณธรรมพื้นฐานสี่ประการที่ควรเคารพ มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เปรียบเสมือนสายตาอันกว้างไกล ความหลักแหลม อันเป็น providentia foresight มันยังถูกจัดรวมกับ ความรอบรู้ ความเข้าใจลึกซึ้ง และสติปัญญา ในกรณีนี้ มันเป็นความดีที่สามารถตัดสินระหว่างคุณความดีกับพฤติกรรมความดีได้ ไม่เพียงแต่จากความรู้สึกโดยทั่วไป แต่ด้วยการพิจารณาไปถึงการกระทำที่ถูกต้องทั้งสถานที่และกาลเวลาด้วย ถึงแม้ว่าความรอบคอบเพียงอย่างเดียวไม่สามารถประกอบกับการกระทำใดๆ ได้ แต่ถูกเกี่ยวข้องเป็นหนึ่งเดียวกับสติปัญญา เนื่องจากคุณความดีทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้การวางระเบียบของมัน ความรอบคอบจะมีความจำเป็นต้องใช้กับความกล้าหาญ และความฉลาดผสมไปด้วยจึงจะประสบผลได้เป็นอย่างดี
สรุป "ข้อดีโดยรวมของความฉลาด" (ในมุมส่วนตัว)
ภาพ : 123RF.com
- มีความสามารถพร้อมในบางด้าน
- มีความคิดเป็นของตนเองสูง
- มีความนึกคิดว่องไว มีสติปัญญาดี
- มีความคิดสร้างสรรค์ริเริ่มสิ่งใหม่ๆได้
- มีความเป็นตัวของตัวเองสูง
- มีความความเป็นผู้นำค่อนข้างสูง
- กล้าเสี่ยง กล้าท้าทายต่ออุปสรรค
- สามารถแข่งขันได้ทุกสถานการณ์เมื่อมีโอกาส
สรุป"ข้อดีโดยรวมของความรอบคอบ" (ในมุมส่วนตัว)
ภาพ : personalbrandingblog.com
- มีความระมัดระวังตัวสูง
- มีความอดทน อดกลั้นสูงพอสมควร
- มีความคิดที่อาจช้าแต่สามารถรับมืออุปสรรคหรือรับผลกระทบในระยะยาวได้เป็นอย่างดี
- มีความรับผิดชอบสูง
- โอกาสในการผิดพลาดต่อทุกสถานการณ์เปอร์เซ็นค่อนข้าง
มีน้อย
- สามารถมีความเป็นผู้นำและผู้ตามได้ดีเป็นอย่างมาก
- เป็นผู้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
- มีความสุขมใจเย็น
- คิดก่อนลงมือทำอย่างละเอียดเสมอเพื่อให้เกิดความผิดน้อยที่สุด
สรุปดังนั้น แท้จริงหากคุณอยากที่จะมีชีวิตที่ประสบกับความสำเร็จและมีชีวิตที่ดีอย่างตลอดรอดฝั่งนั้น ควรที่จะมีทั้งความฉลาดกับความรอบคอบจึงจะเป็นเรื่องดี เพราะว่าความฉลาดกับความรอบคอบนั้น ถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในคุณธรรมพื้นฐานสี่ประการที่ควรเคารพ เปรียบเสมือนสายตาอันกว้างไกล ความหลักแหลม อันเป็น providentia foresight มันยังถูกจัดรวมกับ ความรอบรู้ ความเข้าใจลึกซึ้ง และสติปัญญา ในกรณีนี้ มันเป็นความดีที่สามารถตัดสินระหว่างคุณความดีกับพฤติกรรมความดีได้ ไม่เพียงแต่จากความรู้สึกโดยทั่วไป แต่ด้วยการพิจารณาไปถึงการกระทำที่ถูกต้องทั้งสถานที่และกาลเวลาด้วย ถึงแม้ว่าความรอบคอบเพียงอย่างเดียวไม่สามารถประกอบกับการกระทำใดๆ ได้ แต่ถูกเกี่ยวข้องเป็นหนึ่งเดียวกับสติปัญญา เนื่องจากคุณความดีทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้การวางระเบียบของมัน ความรอบคอบจะมีความจำเป็นต้องใช้กับความกล้าหาญ และความฉลาดผสมไปด้วยจึงจะประสบผลได้เป็นอย่างดีในชีวิตครับ..
ภาพ : Stockphoto
หากท่านใดมีข้อคิดเห็นอย่างไรก็สามารถComment ด้านล่างเพิ่มเติมได้นะครับจะได้มาแลกเปลี่ยนความรู้, ความคิดเห็นกันครับว่าแต่ละท่านมีความเห็นกันอย่างไรบ้าง..🙇♂️
"ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่านนะครับ ขอบคุณสำหรับทุกการติดตามอ่านมากๆนะครับ 😄🙏"
ข้อมูลบางส่วนจาก :
https://th.m.wikipedia.org
http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=574&read=true&count=true
8 บันทึก
25
6
15
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
"รวมชุดบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนยุคสามก๊ก"
8
25
6
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย