Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สาระหลากด้าน ✅
•
ติดตาม
11 เม.ย. 2019 เวลา 17:58 • ประวัติศาสตร์
เปิดประวัติ "ล่อกวนตง" ผู้เขียน/ผู้แต่งนวนิยายอิงประวัติศาสตร์จีนจากวรรณกรรมเรื่อง "สามก๊ก"
3
หลัว กวั้นจง ตามสำเนียงกลาง หรือ ล่อกวนตง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นปราชญ์และนักประพันธ์ชาวจีน มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14 (ค.ศ. 1330-ค.ศ. 1400) หรือยุคปลายของราชวงศ์หยวน ต่อถึงต้นราชวงศ์หมิง
1
ภาพ : Google.com
ล่อกวนตงเป็นผู้แต่งนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก และได้ชื่อว่าเป็นผู้ปรับปรุงเรื่อง 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน ซึ่งนับเป็น 2 ใน 4 สุดยอดวรรณกรรมจีน (อีกสองเรื่องคือ ไซอิ๋ว และความฝันในหอแดง)
ชีวประวัติของล่อกวนตงไม่ใคร่แน่ชัด แต่มีการยืนยันว่าเขามีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์หยวนถึงต้นราชวงศ์หมิงจริง นักปราชญ์ผู้หนึ่งชื่อ เจียจงหมิง บันทึกไว้ว่าเคยพบกับล่อกวนตงในราวปี ค.ศ. 1364 และว่าเขาเป็นชาวไท่หยวน แต่นักประวัติศาสตร์ยุคเดียวกันหลายคนต่างระบุบ้านเกิดของล่อกวนตงแตกต่างกันไป เช่นมาจากหางโจวบ้าง หรือเจียงหนานบ้าง แต่ไท่หยวน น่าจะเป็นบ้านเกิดของเขามากที่สุดเพราะเป็นที่ตั้งของบ้านตระกูลหลอ ซึ่งมีชื่อของล่อกวนตงอยู่ในสาแหรกตระกูลด้วย
ภาพ : oknation
ล่อกวนตงเคยเข้าร่วมก๊กต่อต้านราชวงค์หยวนกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งต่อมาถูกจูหยวนจางโจมตี)ซึ่งทำหน้าที่กุนซือ
นักประวัติศาสตร์วรรณกรรมจำนวนหนึ่งสงสัยว่า ล่อกวนตง กับ ซือไน่อัน เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ชื่อ ซือไน่อัน อาจเป็นเพียงนามแฝงในการประพันธ์เรื่อง 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน ก็ได้ เพราะเนื้อหาของเรื่องค่อนข้างต่อต้านรัฐบาลกลาง
3
"ล่อกวนตงในมุมมองของคนรุ่นใหม่"
ผู้นำประวัติศาสตร์สามก๊กมาเรียบเรียงใหม่ จนกลายเป็นนิยายสามก๊กอันลือชื่อ ที่เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่รู้จักดี ไม่ว่าจะเป็น เล่าปี่ โจโฉ ซุนกวน และ 1 ในบุคคลที่หลายคนนับถืออย่าง “ขงเบ้ง”
แต่... มีบางทฤษฏีของนักประวัติศาสตร์ และนักวรรณกรรม เสนอว่า ความเก่งกาจของขงเบ้งในฉบับนิยายของล่อกวนตง มีมากเกินไป เนื่องจาก ล่อกวนตง เขียนถึงความเก่งกาจของขงเบ้ง เพื่อชมตัวเอง
ต้องขอยกประวัติของล่อกวนตงมาเพื่อให้ทราบ ล่อกวนตงมีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยปลายราชวงศ์หยวน ต้นราชวงศ์หมิง (ตรงกับช่วงเวลานิยายดาบมังกรหยก) ซึ่งหลายท่านคงทราบดีว่า ในช่วงปลายของราชวงศ์หยวน แผ่นดินจีนได้เกิดการลุกฮือขึ้นของกองกำลังหลายฝ่าย ต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะครอบครองแผ่นดินแทนที่ราชวงศ์หยวน เกิดกลุ่มกองกำลังผ้าโพกแดงขึ้น (คล้ายสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นที่มีกองกำลังผ้าโพกเหลือง) เกิดกลุ่มกองกำลังที่ครองดินแดนต่างๆ และล่อกวนตงเองก็เป็นหนึ่งในกุนซือของกองกำลังจางซื่อเฉิง แต่ในที่สุดอย่างที่ทราบดีว่า จูหยวนจาง ได้ชัยชนะในที่สุด
ล่อกวนตงในฐานะกุนซือของก๊กที่แพ้ ก็ต้องหนีออกมา และได้นำเอาความคับแค้นใจของการเป็นผู้แพ้ไปใส่ไว้ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์อย่าง สามก๊ก นั้นทำให้เราเห็นภาพซ้อนของประวัติศาสตร์ โจโฉ=จูหยวนจาง ผู้ที่ได้ชัยชนะที่สุด จางซื่อเฉิง=เล่าปี่ หัวหน้ากองกำลังเล็กๆ และแน่นอน กุนซือของก๊กที่พ่ายแพ้อย่างล่อกวนตง ก็คือ ขงเบ้ง นั้นเอง
ในนิยายสามก๊ก มีหลายต่อหลายเหตุการณ์ที่ต่างไปจากนิยาย วีรกรรมหลายอย่างไม่เคยเกิดขึ้นจริง วีรกรรมหลายอย่างเกิดขึ้นจริงแต่นิยายเปลี่ยนให้เป็นผลงานของผู้อื่น และขงเบ้งเองก็มักเป็นตัวละครที่ถูกใส่บทบาทให้ “เทพ” เข้าไปมากที่สุด
1
ยกตัวอย่าง ในช่วงศึกเซ็กเพ็ก ขงเบ้งได้รับการท้าทายจากจิวยี่ ให้ผลิตธนูแสนดอกให้ได้ใน 10 วัน แต่ขงเบ้งบอกขอเวลาเพียง 3 วัน ถ้าทำไม่ได้ยินดีให้ตัดหัว และได้อาศัยกลยุทธ์เรือฟางในหมอก ไปหลอกให้โจโฉต้องระดมยิงธนูใส่ เพื่อเอามาส่งจิวยี่
เหตุการณ์นี้มีเกิดขึ้น คือ ซุนกวนได้ล่องเรือเพื่อที่จะสืบสถานการณ์ แต่ถูกฝั่งโจโฉยิงธนูใส่ เรือที่โดนยิงด้านเดียวต้องทานน้ำหนัก จึงเอียง ซุนกวนจึงสั่งให้หันเรือเพื่อรับธนูอีกข้าง ให้สมดุล อันเป็นที่มาของคำพูด หากมีบุตรต้องขอให้ได้อย่างซุนกวน
หรือ “อุบายเมืองร้าง” ที่ใช้หลอกสุมาอี้จนต้องถอยทัพกลับ ทั้งๆ ที่จริงแล้วไม่มีกองทัพไว้รับมือ ตามประวัติศาสตร์คนที่นำมาใช้ คือ จูล่ง ในการถอนทัพ เพื่อข่มขู่ไม่ให้ข้าศึกต้องมาตี
ตามประวัติศาสตร์ ขงเบ้ง เป็นคนที่มีความสามารถมากอยู่แล้ว ถึงขนาดเป็นอัครมหาเสนาบดีของแคว้นได้
"ผลงานวรรณกรรม"
- นิยายสามก๊ก หรือ ซันกั๋วย่านอี่
- 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน หรือ สุยหู่จ้วน
- (ผิงเหยาจ้วน)
- (ซานสุยผิงเหยาจ้วน)
- (จุดจบราชวงศ์ถัง และเหตุการณ์ยุคห้าราชวงศ์)
- (เฟินจวงโหลว)
- (สุยถังจื่อจ้วน)
- (สุยถังเหลียงเชาจื่อจ้วน: บันทึกเหตุการณ์ยุคราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง)
youtube.com
ภาพตัวละครสามก๊ก ในหนังสือ ตำนานเรื่องสามก๊ก ปี 2506
สามก๊กเป็นประวัติศาสตร์เป็นตำนานของจีน เดิมเป็นเรื่องเล่าและใช้เล่นงิ้วต่อมาปราชญ์ชาวเมืองฮั่งจิ๋วชื่อ ล่อกวนตง จึงได้แต่งเป็นหนังสือ ในสมัยราชวงศ์ไต้เหม็งเม...
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่านนะครับขอบคุณสำหรับการติดตามอ่านนะครับ ขอบคุณครับ😊🙇"
References :
Roberts, Moss, tr. Three Kingdoms: A Historical Novel (1991) University of California Press. ISBN 0-520-22503-1
Yoshikawa Kojiro and Shimizu Shigeru (translators) (1998-10-16), 水滸伝 (Water Margin), Iwanami Shoten
A record of a conference on Romance of the Three Kingdoms in China in 1999 (Japanese)
Zhao, Qiping, "Luo Guanzhong". Encyclopedia of China (Chinese Literature Edition), 1st ed.
เรียบเรียงเนื้อหา/นำเสนอบทความโดย :
"สาระหลากด้าน"
10 บันทึก
22
20
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
"รวมชุดบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนยุคสามก๊ก"
10
22
20
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย