12 พ.ค. 2019 เวลา 14:09 • การศึกษา
"ภูมิศาสตร์สนุกจังเลย"ตอนที่1 เเผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติที่มนุษย์ไม่อาจรู้ล่วงหน้า
ข้อตอนรับสู่ซีรีย์ "ภูมิศาสตร์สนุกจังเลย" ในตอนเเผ่นดินไหวนะครับ
เเผ่นดินไหว (Earthquake)ถือเป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดการสั่นของผืนดินอย่างรุนเเรง เเต่เเท้จริงเเล้ว มนุษย์เองก็สามารถทำให้เกิดเเผ่นดินไหวได้เช่นกัน เช่นการสร้างเขื่อน การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ การทำเหมือง เป็นต้น เเต่เเผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนับว่าไม่รุนเเรงเท่ากับที่เกิดในธรรมชาติ (เเบบรุนเเรง)
สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เกิดเเผ่นดินไหวขนาดย่อมๆได้
ทำไมเเผ่นดินไหวต้องเกิดขึ้น...?
คำถามนี้มีคำตอบ เพราะว่าผืนดินที่เรายืนอยู่นี้ที่เรียกว่า "เปลือกโลก" กำลังลอยอยู่บนของเหลวร้อนเเบบพลาสติก ที่เรียกว่า "เเมกมา" ซึ่งของเหลวนี้สามารถขยับเเละเคลื่อนที่ได้ตามสมบัติของมัน เเละตัวขับเคลื่อนกลไกทำให้มันเคลื่อนตัวคือ กระเเสการพาความร้อน นั่นเอง เมื่อเปลือกโลกที่เราอาศัยอยู่สามารถขยับได้ นั่นหมายถึง การชนกันหรือเเยกออกจากกันของผิวโลก
ภาพด้านล่างเเสดงการเคลื่อนตัวของผืนทวีป ทำให้เห็นว่า เปลือกโลกของเรามีการขยับเเละเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา
เรามาดูรูปเเบบที่เกิดขึ้นในธรรมชาติกันครับ
ว่ามีรูปเเบบเเละลักษณะการเกิดอย่างไร...?
ถ้าเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลืิอกโลกจะเเบ่งได้ 3 ลักษณะคือ การเคลื่อนที่ ชนกัน,เเยกจากกัน,เคลื่อนที่ผ่านกัน
🚩ลักษณะที่ 1 เคลื่อนที่ชนกัน(convergent boundary)
เป็นการเคลื่อนที่ชนกันของ 2 เเผ่นธรณีภาค ก่อให้เกิดเทือกเขาขนาดใหญ่ ยอดเขาที่สูง ร่องลึกก้นมหาสมุทร เเละภูเขาไฟ เป็นต้น
การเคลื่อนที่ชนกัน
🚩ลักษณะที่ 2 เคลื่อนที่เเยกออกจากกัน (Divergent Boundary) เป็นการเคลื่อนตัวออกจากกันของ 2 เเผ่นธรณีภาค ทำให้เกิด สันเขาทางทะเล ภูเขาไฟ การขยายตัวของพื้นมหาสมุทร เป็นต้น
เเผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกัน
🚩ลักษณะที่ 3 เคลื่อนที่ผ่านหรือเฉือนกัน(Transform Boundary)
จะทำให้เกิดรอยเเยกของผิวโลก เเต่ไม่พบภูเขาไฟ
เเผ่นทวีปเคลื่อนที่ผ่านกัน
หากเรียงความรุนเเรงของเเผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นละก็ การเคลื่อนที่ชนกันจะมากที่สุด ตามด้วยเคลื่อนที่เเยกออกจากัน เเละรุนเเรงน้อยสุดคือ การเคลื่อนที่ผ่านกันนั่นเองครับ...หากมองภาพรวมของพื้นผิวโลกจะพบว่า การเคลื่อนตัวของเเผ่นเปลือกโลกเเต่ละครั้งจะมีความสัมพันธ์ กับการเกิดชนกันหรือเเยกออกจากกัน นอกจาก นี้เเล้วเเผ่นทวีปเเต่ละเเห่งยังมีเเนวการเคลื่อนที่เฉพาะตัวอีกด้วย...
การเเยกกันในพื้นที่หนึ่ง ทำให้เกิดการชนกันในอีกพื้นที่
ทิศทางการเคลื่อนที่ของเเต่ละเเผ่นทวีป
อันนี้เป็นเกล็ดเสริมครับ เเผ่นทวีปมีทั้งหมด 15 ทวีปหลักๆ
– แผ่นยูเรเชีย (Eurasian Plate)
– แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate)
– แผ่นออสเตรเลีย (Australian Plate)
– แผ่นฟิลิปปินส์ (Philippines Plate)
– แผ่นอเมริกาเหนือ (North American Plate)
– แผ่นอเมริกาใต้ (South American Plate)
– แผ่นสโกเชีย (Scotia Plate)
– แผ่นแอฟริกา (African Plate)
– แผ่นแอนตาร์กติก (Antarctic Plate)
– แผ่นนัซกา (Nazca Plate)
– แผ่นโคโคส (Cocos Plate)
– แผ่นแคริบเบียน (Caribbean Plate)
– แผ่นอินเดีย (Indian Plate)
– แผ่นฮวนเดฟูกา (Juan de Fuca Plate)
– แผ่นอาหรับ (Arabian Plate)
เเละจากสถิติการเกิดเเผ่นดินไหวมากที่สุด เเละรุนเเรงมากที่สุด จะอยู่บริเวณ "วงเเหวนเเห่งไฟ"(Ring of fire) ที่อยู่ในเเนวรอบมหาสมุทร
เเปซิฟิค กว่า 40,000กิโลเมตร ตั้งเเต่อินโดนิเซียไปจนถึงชายฝั่งประเทศชิลี
รอบๆวงเเหวนเเห่งไฟนี้มีเเผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นคิดเป็น 90% ของเเผ่นดินไหวทั่วโลก เเละ80% เป็นเเผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่
นอกจากนี้อีก 17% เป็นเเนวภูเขาไฟจาก เกาะชวามายังเกาะสุมาตรา สู่เทือกเขาหิมาลัยไปจนถึง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
สถิติการเกิดเเผ่นดินไหวทั่วโลกต่อปี ตั้งเเต่ 4.0-9.9 ริกเตอร์
ปี พ.ศ. 2550 เกิดเเผ่นดินไหว 14,350ครั้ง
ปี พ.ศ. 2551 เกิดเเผ่นดินไหว 14,240ครั้ง
ปี พ.ศ. 2552 เกิดเเผ่นดินไหว 8,862 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2553 เกิดเเผ่นดินไหว 12,300ครั้ง
ปี พ.ศ. 2554 เกิดเเผ่นดินไหว 15,798 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2555 เกิดเเผ่นดินไหว 12,548 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2556 เกิดเเผ่นดินไหว 11,341 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2557 เกิดเเผ่นดินไหว 15,121 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2558 เกิดเเผ่นดินไหว 14,795 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2559 เกิดเเผ่นดินไหว 14,420 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2560 เกิดเเผ่นดินไหว 12,860 ครั้ง
จุดที่เป็นเเหล่งกำเนิดเเรงสั่นไหวเรียกว่า
"จุดศูนย์กลางเเผ่นดินไหว" (Focus)
ส่วนที่อยู่เหนือจุดศูนย์กลางบนพื้นดินเรียก
"จุดเหนือศูนย์กลางเเผ่นดินไหว"(Epicenter)
ในการเกิดเเผ่นดินไหวเเต่ละครั้งจะสร้างคลื่นเเผ่นดินไหว 2 ชนิดคือ
1. คลื่นผ่านตัวกลาง(Body wave)เเบ่งเป็น คลื่นP เเละคลื่นS
2. คลื่นพื้นผิว(Surface wave) เเบ่งเป็น คลื่นL เเละคลื่นR
คลื่นผ่านตัวกลาง (Body wave)
คลื่น P หรือคลื่นปฐมภูมิ (Primary wave)
เป็นคลื่นตามยาว คือเกิดจากการบีบอัดเเละขยาย ซึ่งทำให้อนุภาคตัวกลางมีทิศทางเดียวกับ ทิศที่คลื่นเคลื่อนไป สามารถผ่านวัตถุได้ทุกสถานะ
คลื่น S หรือคลื่นทุติยภูมิ(Secondary wave)
เป็นคลื่นตามขวาง อนุภาคตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านจะตั้งฉากกับทิศที่คลื่นเคลื่อนที่
สามารถผ่านได้เฉพาะ วัตถุที่เป็นของเเข็งเท่านั้น
เพิ่มเติมครับ คลื่นทั้ง2 นี้เองที่ทำให้เราทราบว่าใต้ผิวโลกมีลักษณะเป็นวัสดุชนิดใด เเละทำให้เราสามารถเเบ่งชั้นของโลกได้
คลื่นพื้นผิว(Surface wave)
คลื่น L หรือ คลื่นเลิฟ เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคเกิดการสั่นเเบบตั้งฉากกับทิศทางของคลื่น สามารถทำให้ถนนขาด หรือเเม่น้ำเปลี่ยนทิศได้เลย
คลื่นL
คลื่น R หรือ คลื่นเรย์ลี เป็นคลื่นที่สั่นในเเนวดิ่งเเล้วเกิดการหมุนกลับ ทำให้สภาพพื้นผิวดินที่ผ่านกลายสภาพเป็นลอนคลื่น
"มาตราวัดเเผ่นดินไหว"
เเบ่งออกเป็น 2ชนิดคือ
1. วัดขนาด(Magnitude)
2. ความรุนเเรงของเเผ่นดินไหว(Intensity)
1. วัดขนาด ในปัจจุบันใช้อยู่ 2 ชนิด
1.1 มาตราริกเตอร์ (The Richter Magnitude Scale)
1.2 มาตราโมเมนต์แมกนิจูด ( moment magnitude scale) วิธีการวัดคล้ายกับมาตราริกเตอร์เเต่ละเอียดกว่า เพราะเป็นมาตราที่พัฒนาขึ้นใหม่
2. วัดความรุนเเรง ใช้อยู่ 1มาตราคือ
มาตราเมอร์คัลลี่ (Mercalli Intensity Scale)
จบกันไปเเล้วครับสำหรับความรู้คร่าวๆ ของการเกิดเเผ่นดินไหว เเละการวัดตามมาตราที่มนุษย์คิดค้นขึ้น เเต่ลายละเอียดเล็กๆน้อยๆยังมีอีกมาก เเอดมินจึงขอเเบ่งไปเขียนในบทความถัดไป
เรียบเรียงโดย @ น๊อต
อ้างอิงข้อมูลเเละภาพจาก
-เเผ่นดินไหว พ.ศ. 2560 https://th.m.wikipedia.org/wiki
-วงเเหวนเเห่งไฟ https://www.sanook.com/news/5119326/
-โลก ดาราศาสตร์ เเละอวกาศhttp://mooice-tl.blogspot.com/p/3.html?m=1
-15 รอยเลื่อนมีพลังในไทย กรมทรัพยากรธรณี http://www.dmr.go.th/n_more_news.php?nid=107751&filename=index
-รอยเลื่อนในไทย https://teen.mthai.com/variety/71759.html
-15 เเผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ https://teen.mthai.com/variety/71821.html
-การเคลื่อนที่ของเเผ่นธรณี http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/plate-tectonics/plate-boundaries/convergent
จุดร้อน/hotspot https://th.m.wikipedia.org/wiki

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา