30 เม.ย. 2019 เวลา 10:01 • การศึกษา
เเผนที่อากาศ ...
ผมเชื่อว่าหลายๆคนเคยดูข่าวการพยากรณ์
อากาศมาเเล้วเเน่นอน เเล้วเราก็จะเห็นเเผนที่ อากาศที่เเสดง เส้นหรือสัญลักษณ์เต็มไปหมด วันนี้เราจะมาบอกความหมายของสิ่งเหล่านี้ รวมถึงวิธีการอ่านเเผนที่อากาศด้วยครับ
เเผนที่อากาศมีหลายชนิดครับ เเต่ที่เราจะพูดถึงกันวันนี้คือเเบบที่เเสดง เส้นความกดอากาศเหมือนกับในภาพด้านบน เเละเชื่อได้เลยครับว่าหลายคนคงยังไม่รู้ว่าสัญลักษณ์เเต่ละอันมีไว้ทำอะไรบ้าง...
เริ่มกันที่ตัวเเรกเลยคือ
สัญลักษณ์ "L" ที่ตัวสีเเดงๆในภาพ บอกถึงศูนย์กลางหย่อมความกดอากาศต่ำ จำง่ายๆ Lมาจากคำว่า Low ซึ่งเเปลว่าต่ำนั่นเองครับ
2. สัญลักษณ์ "H" ที่เป็นตัวสีน้ำเงินในภาพ บอกถึงศูนย์กลางหย่อมความกดอากาศสูง จำง่ายๆเช่นกันคือ H มาจากคำว่า High ซึ่งเเปลว่าสูงครับ
ทำความเข้าใจความกดอากาศสักเล็กน้อยครับ
ความกดอากาศ " Air pressure" เกิดจากการที่อากาศกดลงบนผิวโลก วัดออกมาหน่วยเป็น เฮกโตปาสคาล (hPa) ความกดอากาศสามารถเเยกได้ 2 ชนิดหลักๆคือ
-"ความกดอากาศสูง" อากาศเเห้ง หนาว
-"ความกดอากาศต่ำ" อากาศร้อน ชื้น
1
ลองนึกภาพตามนี้นะครับ
อากาศก็มีอนุภาค เพียงเเต่อิสระกว่าวัสดุอื่น
-อากาศร้อน (อากาศเเบบไทย) นึกสถาพเวลาเราโดนไฟลวก เเน่นอนเราไม่อยู่นิ่งหรอก อากาศก็เช่นเดียวกัน ทำให้ความหนาเเน่นของอากาศน้อยลง น้ำหนักที่กดลงพื้นจึงน้อยลงไปด้วย
-อากาศเย็น,หนาว นึกสภาพคนอยู่เเถบขั้วโลก เราก็จะหาวิธีให้มีความอบอุ่นมากที่สุด กอดกันไงครับ อากาศก็เช่นเดียวกัน มันก็จะเบียดๆเข้าใกล้ๆกัน ทำให้ความหนาเเน่นมากขึ้น จึงทำให้น้ำหนักที่กดลงพื้นมากขึ้น...
จากนี้คงพอเดาได้เเล้วสินะครับว่า ความกดอากาศเเต่ละชนิดอยู่ที่ไหนกันบ้าง หากเเยกเเบบหยาบๆให้ดู สามารถบอกได้ว่ายิ่งห่างจาก เส้นศูนย์สูตรมากเท่าไร ความกดอากาศก็มากขึ้นเท่านั้น เเละความกดอากาศต่ำก็จะนำความชื้นที่ได้จากการระเหยของน้ำมาด้วย ทำให้เกิดเมฆมากบริเวณความกดอากาศต่ำ
🚩สรุปสั้นๆ คือ" ความกดอากาศต่ำ ร้อน ชื้น
ความกดอากาศสูง เย็น เเห้ง"
ก่อนไปสัญลักษณ์อื่นขอเเนะนำ
"เว็บกรมอุตุนิยมวิทยา "ก่อนเลยครับ บอกข้อมูลได้เเบบวันต่อวันเลย ใครอยากลองทำนายสภาพอากาศสามารถเข้าไปดูได้เเละศึกษาข้อมูลในลิ้งค์ด้านล่างนี้เลยครับ...
ตัวอย่างหน้าเว็บ...
ต่อมาคือเส้น "ไอโซบาร์" (Isobar) ความหมายคือ เส้นความกดอากาศเท่า พูดง่ายๆคือบริเวณที่เส้นนี้ลากผ่านมีความกดอากาศเท่ากันนั่นเอง เเล้วภายในเส้นจะมีค่าความกดอากาศกำกับไว้
หากดูในเเผนที่ คือเส้นสีน้ำเงินนั่นเองครับ
ทีนี้เส้นนี้สามารถบอกอะไรได้บ้าง หากดูในภาพ จะสังเกตเห็นว่า ระยะห่างเเต่ละเส้นไม่เท่ากัน สิ่งนี้มีความหมายครับ จำการเกิดลมได้ไหมครับ ลมเกิดจากความกดอากาศที่ต่างกัน ทำให้เกิดการไหลเวียนหรือการเเทนที่ของอากาศ เกิดเป็นลมขึ้นมา ...หากเส้นไอโซบาร์ใกล้กัน เเสดงว่า มีความต่างของความกดอากาศมาก จะทำให้เกิดลมเเรง
🚩สรุปเลยคือ "เส้นชิดลมเเรง เส้นห่างลมสงบ"
ไหนๆก็พูดถึงเรื่องลมเเล้วขอเเนะนำเเอปดูการเคลื่อนที่ของลมเเล้วกันครับ (ไม่ได้มีค่าโฆษณานะ เเค่อยากเเบ่งปัน 555) ชื่อเเอปว่า Windy.com
ในเเอปนี้จะบอกทิศทางการเคลื่อนที่ เเละความเร็วของลมในเเต่ละจุดได้ด้วย เเถมยังเกือบจะ real time อีกเรียกได้ว่าถ้าใครสนใจเรื่องอากาศละก็ สามารถโหลดไปใช้งานได้เลย
ต่อมาสัญลักษณ์ที่สังเกตเห็นคือ เส้นหยักๆ ที่ผมได้วงไว้
สิ่งที่เห็นนั้น เรียกว่า"เเนวปะทะอากาศ" "front"
เเน่นอนครับว่าอากาศที่มีคุณสมบัติที่คล้ายคลึง จะอยู่รวมกัน เรียก "มวลอากาศ" มวลอากาศที่ว่า ก็มีชื่อเรียกตามคุณสมบัติของมันเลย เช่น มวลอากาศอุ่น มวลอากาศเย็น ทีนี้มวลอากาศมันไม่ได้อยู่เฉยๆครับ เเต่มีการเคลื่อนที่ตามหลักการถ่ายเทความร้อน....
โดยมวลอากาศอุ่นจะเคลื่อนที่ขึ้นข้างบน (มันเบา) ทำให้มวลอากาศเย็นเข้ามาเเทรก การบรรจบกันระหว่าง2 มวลอากาศนี้คือ เเนวปะทะอากาศนั่นเองครับ... เรามาดูกันดีกว่าว่าเเต่ละเเนวปะทะอากาศมีลักษณะการเกิดเเละผลที่ตามมาหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร...?
สัญลักษณ์ที่ใช้ระบุตามด้านบนเลยครับ
เเนวปะทะอากาศเเบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. เเนวปะทะอากาศเย็น (cold front)
เกิดจากมวลอากาศเย็น เคลื่อนไปหามวลอากาศอุ่น ซึ่งเเน่นอนว่ามวลอากาศอุ่นที่เบากว่าจะถูกยกขึ้น เวลาที่เกิดค่อนข้างเร็วทำให้ความชันสูงมาก เกิดการก่อตัวของเมฆในเเนวตั้งขึ้น...(เมื่ออากาศที่มีความชื้นลอยตัวสูงขึ้นจะเกิดการควบเเน่น กลายเป็นเมฆนั่นเอง)
เเนวปะทะอากาศเย็น
ซึ่งผลที่ตามมาคือเกิดฝนตกหนัก (มาก) เนื่องจากความรุนเเรงเเละความไม่เสถียรอากาศค่อนข้างมาก หลังจากฝนผ่านไปเเล้วอุณหภูมิในบริเวณนั้นจะเย็นลง จากมวลอากาศเย็นที่เข้ามาเเทนที่...
2. เเนวปะทะอากาศอุ่น (Warm front)
เกิดจากการที่มวลอากาศอุ่น เคลื่อนเข้าหามวลอากาศเย็น ทำให้ผลที่เกิดคือ มันมีความชันน้อย เมฆที่เกิดขึ้นจึงเป็นเมฆเเผ่น หรือเมฆน้อยๆ สามารถทำให้เกิดฝนได้เช่นกัน เเต่ไม่รุนเเรงเท่า เเนวปะทะอากาศเย็น หลังจากฝนตกอากาศจะร้อนขึ้นเนื่องจาก การเข้ามาเเทนของมวลอากาศอุ่น
3. เเนวปะทะอากาศเเบบคงที่ (Stationary front)
เกิดจากการที่ 2 มวลอากาศเคลื่อนที่เข้าหากัน เเต่ไม่ได้รวมกันหรือเเทนที่กัน
4. เเนวปะทะอากาศร่วม รวม ซ้อน ปิด (Occluded front) (เเล้วเเต่จะเรียก555)
เกิดจากการที่เเนวปะทะอากาศเย็น เคลื่อนที่ไล่ตามมวลอากศอุ่นได้ทัน (อารมณ์เเบบว่าวิ่งไล่จับกัน อุ่นหนี เย็นตาม เเต่เย็นวิ่งตามทันเพราะเร็วกว่า) ทำให้เกิดอากาศซ้อน สามารถทำให้ฝนตกหนักได้เช่นกันครับ
ต่อมาคือ สัญลักษณะของ "พายุครับ"...!
สัษลักษณ์ตามรูปนี้เลยครับ...
การจำเเนกพายุนั้น เเยกได้จากความเร็วลมสูงสุดนะจุดศูนย์กลางพายุครับ
-ดีเปรสชัน ความเร็วลมคือ น้อยกว่า 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 34 นอต
-พายุโซนร้อน ความเร็วลมคือ 63-118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 34-64 นอต
-พายุใต้ฝุ่น ความเร็วลมมากกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ มากว่า 64 นอต
🚩(เพิ่มเติมนะครับ ชื่อเรียกใต้ฝุ่นใช้เรียกเฉพาะที่ เช่น ใต้ฝุ่นใช้เรียกในบริเวณ เอเชียตะวันออก ไซโคลน เรียกในมหาสมุดอินเดีย เฮอริเคนเรียกใน ทะเลเเคริเบียน )
ยังไม่จบนะครับ เกรงว่าจะยาวเกินไป ขอมาต่อในบทความถัดไปครับ ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ
อ้างอิงข้อมูลเเละภาพประกอบจาก
- ภูมิอากาศเเบะการเปลี่ยนเเปลงทางภูมิอากาศ โดย อ.ดร. ชาคริต โชติอมรศักดิ์ (เอกสารประกอบการสอนค่ายภูมิศาสตร์โอลิมปิก)
-เเผนที่อากาศ จาก http://www.lesa.biz/earth/atmosphere/weather-forcasting/weather-data/weather-chart (30/4/62)
-ข้อมูลเเผนที่อากาศ จากวิดีโอ https://youtu.be/YIdEW1MJii4 (30/4/62)
-เเผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา เว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้ https://www.tmd.go.th/weather_map.php
-ความชื้นของอากาศ http://liazaza.blogspot.com/2015/09/blog-post_75.html?m=1
-เมฆเเละชนิดของเมฆ https://sites.google.com/site/aumthongta/wicha-withyasastr

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา