19 พ.ค. 2019 เวลา 02:25 • การศึกษา
หมึกทะเลที่คุณผู้ชมรู้จักดี ก็มีเลือดเป็นสีฟ้า หลายคนอาจจะแปลกใจไม่น้อย ทำไมสัตว์ถึงต้องมีเลือดสีฟ้า? เพราะอะไรวิวัฒนาการ จึงนำพาให้สัตว์บางชนิดมีเลือดสีฟ้า มารับชมในตอนต่อไปเลยค่ะ “ตอนที่ 2 เลือดสีฟ้า วิวัฒนาการแห่งการเอาตัวรอด” !!!
แอดหายไปวันหนึ่งเลยเพราะเดินทางไปเที่ยวหัวหินในวันวิสาขะบูชา ต้องขออภัยด้วยที่มาโพสล่าช้าค่ะ ตอนนี้มาเข้าเรื่องของเราดีกว่า...
1
รูปนี้เป็นรูปที่แอดวาดขึ้นเองเลย โดยใช้แอพวาดภาพ ซึ่งเป็นรูปของหมึก bobtail ขอบคุณรูปภาพถ่ายที่เป็นแรงบันดาลใจที่แอดวาดตามขึ้นมีที่มาตามลิงค์นี้ค่ะ https://m.imgur.com/gallery/pOOkUXO
จะว่าไปที่มาของเลือดสีฟ้าของเจ้าหมึกทะเลก็เกี่ยวกับวิวัฒนาการล้วนๆ และมีที่มาที่ค่อนข้างน่าสนใจไม่แพ้สัตว์โลกชนิดไหนๆ เลยทีเดียว
รูปหมึกกระดอง = Photo reference : https://predatorsandpreys.tumblr.com/post/163789630330
อย่างเลือดของมนุษย์มีส่วนประกอบหัวใจสำคัญคือ ธาตุเหล็ก (iron) มันถูกกักเก็บอยู่ใน “ฮีโมโกลบิน” (hemoglobin) เพื่อใช้ในการจับออกซิเจนเพื่อลำเลียงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายเรา
เมื่อธาตุเหล็กจับกับออกซิเจนจะทำให้เลือดมีสีแดง เช่นเดียวกับการที่เหล็กทำปฏิกิริยากับอากาศแล้วเกิดสนิม เราจะเห็นได้ชัดว่ามีสีออกแดงๆ คล้ายๆ กัน โดยฮีโมโกลบินนั้นลำเลียงออกซิเจนได้สูงและมีประสิทธิภาพมากที่สุดเลยเมื่อเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นๆ แต่เลือดของเจ้าหมึกนั้นไม่ใช่อย่างคิด
3
ฟอสซิลหน้าตาบรรพบุรุษของหมึกพวกนี้ อายุ 100ล้านปีก่อน = Photo reference : https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-4268118/Origins-squid-octopus-cuttlefish-revealed.html
600 ล้านปีก่อนซึ่งมนุษย์ยังไม่เกิดเลย มีสัตว์ดึกดำบรรพตระกูลหมึกและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายประเภทได้ถือกำเนิดขึ้นบนโลก โดยมันมีเลือดสีฟ้าซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีน ชื่อว่า “ฮีโมไซยานิน” (hemocyanin)
เมื่อฮีโมไซยานินจับตัวกับออกซิเจน = Photo reference : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Hemocyanin#/media/File%3AOxyhemocyanin_full.png
ฮีโมไซยานินก็ทำหน้าที่เหมือนๆ ฮีโมโกลบินก็คือลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย แต่ธาตุที่ใช้มาจับกับออกซิเจนนั้นต่างกันไป โดยธาตุสำคัญในฮีโมไซยานินก็คือ “ธาตุคอปเปอร์” หรือธาตุทองแดง นั่นเอง
โดยเจ้าธาตุคอปเปอร์นี่แหละเมื่อทำการจำกับออกซิเจนจะได้ “สีฟ้า” (blue blood) ซึ่งเป็นที่มาของสีเลือดของสัตว์จำพวกหมึก และที่อุณหภูมิห้องนั้นเลือดสีฟ้านั้นจับตัวกับออกซิเจนได้ไม่ดีเท่าเลือดสีแดงเลย เรียกได้ว่าประสิทธิภาพต่ำก็ว่าได้
แต่ในอุณภูมิติดลบ 34 องศาเซลเซียสในทะเลอาร์กติก ซึ่งเป็นเขตที่สุดขั้วแห่งความเย็นยะเยือก ออกซิเจนจะจับตัวกับฮีโมโกลบิน (เลือดแดง) แน่นมาก จนกระทั่งไม่สามารถแยกตัวออกจากกันได้ ก็ทำให้ไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้ ร่างกายของคนเราจึงไม่สามารถมีชีวิตรอดได้
1
ทะเลอาร์กติก = Photo reference : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Climate_of_the_Arctic
แต่กับฮีโมไซยานิน (เลือดสีฟ้า) นั้นไม่มีปัญหาเลย ทำให้เจ้าหมึกสามารถมีชีวิตรอดในเขตน้ำลึกที่หนาวเหน็บสุดขั้วได้ เพราะวิวัฒนาการของเลือดของมันนั้นเหมาะจะใช้กับเขตน้ำที่ลึกและเย็นนั่นเอง โดยเจ้าหมึกเป็นสัตว์ที่ชอบหากินตามพื้นทรายในมหาสมุทรด้วย จึงเป็นการปรับตัวอย่างชาญฉลาดในเอาตัวรอดได้ในสภาวะอุณภูมิที่โหดร้าย
แต่ทำไมหมึกต้องไปอยู่ในที่หนาวเย็นแบบนั้น???
ทำไมถึงไม่ปรับตัวและมาอยู่ที่ผิวน้ำที่มีความอบอุ่นมากกว่า??? น่าจะดีกว่าใช้เวลาเป็นร้อยๆ ปีเพื่อพัฒนาสุดยอดเลือดฮีโมไซยานินว่าไหม???
อ้าาา!!! นี่เป็นสิ่งที่แอดคิดเลย อยู่ที่อบอุ่นก็ต้องดีกว่าอยู่ในที่หนาวเย็นแบบนั้นสิ แต่มันไม่เป็นแบบนั้น เพราะเจ้าหมึกนั้นมีวงจรชีวิตที่ค่อนข้างสั้น และไม่มีความสามารถที่จะอพยพถิ่นฐานไปได้ไกล ทั้งความสามารถในการเคลื่อนที่ วงจรชีวิต และการผสมพันธุ์ ล้วนเป็นประเด็นที่ทำให้มันไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้ไกล
อายุของสัตว์จำพวกหมึกคือ 5-15ปี โดยเฉลี่ย (สำหรับหมึกทั่วๆ ไป) การคลืบคลานบนพื้นมหาสมุทรไม่ใช่วิธีการเคลื่อนไหวที่เร็วแน่ๆ และอายุสั้นๆ ของมันทำให้ไม่มีเหตุผลเลยที่จะเสียเวลาเคลื่อนย้ายไปไหนมากเกินไป
ทางเลือกสุดท้ายทางเดียว คือต้องวิวัฒนาการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดในถิ่นที่อยู่อาศัยที่มันถือกำเนิดขึ้น โดยต้องอยู่ใกล้ปล่องภูเขาไฟใต้น้ำที่ร้อนสุดๆ บ้างล่ะ หรือที่ๆ หนาวเย็นสุดขั้วบ้างล่ะ ดังนั้นเลือดสีฟ้าของมันถูกสร้างมาให้ปรับตัวได้กับสถานการณ์ทั้งร้อนและเย็นสุดขั้ว จึงเหมาะสมกับมันที่สุด
รูปของหมึกใกล้กับปล่องภูเขาไฟใต้ทะเล = Photo reference : https://m.chron.com/news/nation-world/article/Gulf-explorers-reach-underwater-volcano-with-5766899.php#item-85307-tbla-48
อีกทั้งในเขตน้ำลึก ยังมีธาตุคอปเปอร์ในน้ำมากกว่าธาตุเหล็ก ซึ่งหาได้ยากในแถบนี้ด้วย จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม หมึกจึงต้องมีเลือดสีฟ้า
1
.
.
.
เรื่องราวเกี่ยวกับเลือดยังไม่หมด ติดตามตอนต่อไปตอนที่ 3 มหัศจรรย์สัตว์น้ำเลือดสีเขียว!!!
Reference / อ้างอิง
เนื้อหาโดย : โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
วันที่ 18 พ.ค. พ.ศ.2562
แอดไม่ได้เป็นเจ้าของภาพแต่อย่างใดค่ะ ลิงค์ที่มาของภาพปรากฎอยู่ใต้ภาพค่ะ
1
*** รับปรึกษาปัญหาเกี่ยวสัตว์น้ำ ปลาป่วย อุปกรณ์ เครื่องกรอง ชนิดพันธุ์ปลา ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ
เฟสบุ๊คเพจ : โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา