20 พ.ค. 2019 เวลา 01:45 • การศึกษา
สัตว์ทะเลเลือดสีเขียว มีด้วยเหรอ??? โอ้แปลกจัง ตอนที่แล้วเลือดฟ้าก็แปลกแล้ว ยังมีสีเขียวต่อมาเป็นสีที่สองอีก แต่ทำไมจึงมีสีเขียวนะ? และเลือดสีเขียวดียังไง ไปพบกับตอนต่อไปของเราเลย “ตอนที่ 3 มหัศจรรย์ สัตว์ทะเลเลือดสีเขียว” !!!
Spirobranchus giganteus = Photo reference : https://hilight.kapook.com/view/130790
เลือดสีเขียวพบได้ในในหนอนทะเล (sea annelid worms) ซึ่งจัดเป็นหนอนท่อ (Tubeworm) จำพวกหนึ่งซึ่งมีสีสันสวยงาม มันมีลำตัวเป็นหลอดๆ ยาวๆ ฝังตัวอยู่ในดิน อาศัยอยู่ในหลอดซึ่งสร้างมาจากหินปูน โดยหลั่งแคลเซียมคาร์บอนเนต (calcium carbonate) ออกมาจากตัวมันนั่นเอง
โดยพู่ของมันโพล่ออกมาจากปล้องตามลำตัว ซึ่งช่วยในการหาอาหารซึ่งพัดพามากับน้ำเช่น ซากพืชซากสัตว์นั่นเอง โดยมันจะอยู่นิ่งๆ เพื่อรออาหาร หากพบศัตรูพู่ของมันจะหุบเข้าไปในหลอดหินปูนเพื่อป้องกันตัว
บางชนิดในออร์เดอร์ ชื่อว่า Serpulimorpha ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แฟมิลี่ ได้แก่ serpulids และ sabellidsโดยแฟมิลี่เซอร์พูลิต (Serpulids) มีสปีชีส์ที่พบอาศัยอยู่ในท้องทะเลคือชนิดหนึ่งคือหนอนพู่ฉัตร (Spirobranchus giganteus หรือ christmas tree worm) ซึ่งมีเลือดสีเขียว
ภาพหนอนท่อเซอร์พูลิต Spirobranchus giganteus = Photo reference : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Serpulidae#/media/File%3ASpirobranchus_giganteus_(Red_and_white_christmas_tree_worm).jpg
โดยโปรตีนที่มีส่วนสำคัญในการช่วยลำเลี้ยงออกซิเจนคือ คลอโรครูโอรีน (chlorocruorin) โดยมีความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนต่ำที่สุดในบรรดาเลือดทุกสี
คลอโรครูโอรีนชอบคาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide) และมันมีคาร์บอนมอนอกไซด์เกาะกับมันมากถึง 570 เท่า เมื่อเทียบกับฮีโมโกลบิน (โปรตีนลำเลียงออกซิเจน) ในเลือดของมนุษย์
และเจ้าคลอโรครูโอรีนนี่เองที่ทำให้เลือดของสัตว์เป็นสีเขียวและสีแดง อ่านไม่ผิดเลย เลือดของสัตว์จำพวกหนอนชนิดที่กล่าวมานี้ มีระบบเลือดสองสี (dichroic red-green respiratory protein) โดยมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับฮีโมโกลบินมากๆ
โครงสร้างทางเคมีของคลอโรครูโอรีน = Photo reference : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Chlorocruorin#/media/File%3AChlorocruorin.svg
โครงสร้างทางเคมีของฮีโมโกลบิน = Photo reference : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Hemoglobin
เมื่อคลอโรครูโอรีนจับกับออกซิเจนจะมีสีเขียวเข้ม และเมื่อไม่ได้จับกับออกซิเจนจะมีสีเขียวอ่อน แต่ถ้าหากมีในปริมาณที่เข้มข้นมากจะมีสีแดงอ่อนๆ เป็นที่มาของเลือดสองสี
ในขณะเดียวกันยังมีหนอนท่ออีกชนิดหนึ่ง คือหนอนเซอร์พูลา ที่ต่างจากประเภทที่กล่าวข้างต้นไปเลย เพราะมันมีระบบเลือดที่มีทั้งคลอโรครูโรรีนอละฮีโมโกลบินในตัวเดียวกันเลย
ตัวอย่างหนอนท่อจีนัสเซอร์พูลา Serpula vermicularis : http://www.scubashooters.net/underwater-life/serpula-vermicularis-the-red-flower-of-the-sea/
หนอนเซอร์พูลาที่อายุน้อยจะมีฮีโมโกลบินมากกว่า ทำให้เลือดในช่วงนี้สีแดง และเมื่อตัวเต็มวัยจะมีคลอโรครูโอรีนในเลือดมากกว่า ทำให้เลือดเป็นสีเขียว
โดยระบบที่มีทั้งฮีโมโกลบินและคลอโรครูโอรีนถูกทดสอบแล้วว่า โปรตีนที่พบทั้งสองสามารถช่วยส่งเสริมกันได้ดีพอควร ทั้งเมื่อยู่ร่วมกันมันสามารถจับตัวกับออกซิเจนได้ดีพอๆ อีกด้วย แม้ว่าคลอโรครูโอรีนในหนอนเซอร์พูลาจะจับตัวได้ดีกับคาร์บอนมอนอกไซด์มากกว่าฮีโมโกลบินก็ตาม ต่างจากระบบของหนอน Spirobranchus giganteus (ในรูปแรกด้านบน) ที่มีแค่คลอโรครูโอรีนเพียงอย่างเดียว
โดยคลอโรครูโอรีนนั้นสามารถพบได้แค่ในเลือดและท่อเมือกของไมซิโคลา (Myxicola) เท่านั้น โดยที่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมมันต้องมีเลือดสีเขียว ยังมีหนอนท่อหลายชนิดที่มีเลือดสีอื่นๆ และพวกมันอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน จึงเป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมสีของเลือดจึงไม่เหมือนกัน คงเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องศึกษาและค้นคว้าต่อไป
2
.
.
.
เลือดสีเขียวยังไม่จบลงเท่านี้ ติดตามตอนต่อไปในวันพรุ่งนี้ “ตอนที่ 4 เลือดสีเขียว หนทางช่วยมนุษยชาติต้านโรคดีซ่านและมาลาเรีย”
reference / อ้างอิง
เนื้อหาโดย : โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
วันที่ 20 พ.ค. พ.ศ.2562
แอดไม่ได้เป็นเจ้าของภาพแต่อย่างใดค่ะ ลิงค์ที่มาของภาพปรากฎอยู่ใต้ภาพค่ะ
*** รับปรึกษาปัญหาเกี่ยวสัตว์น้ำ ปลาป่วย อุปกรณ์ เครื่องกรอง ชนิดพันธุ์ปลา ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ
เฟสบุ๊คเพจ : โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา