21 พ.ค. 2019 เวลา 05:06 • การศึกษา
มาถึงเลือดสีเขียวตอนต่อไปแล้ว “ตอนที่ 4 เลือดสีเขียว หนทางช่วยมนุษยชาติต้านโรคดีซ่านและมาลาเรีย” โอ้!!! จะเป็นเลือดของสัตว์ชนิดใดกัน และจะช่วยมนุษยชาติได้จริงหรือไม่ ไปรับชมกันเลยค่ะ...
I don’t own this photo. I’ve made some modification to the photo by changed photo color to become lighter and add some text on the top. Original photo reference : https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:Spinach_atfer_chromatography.jpg
นอกจากสัตว์ทะเลเลือดเขียวในตอนที่แล้ว ตอนนี้เรามารู้จักสัตว์บกเลือดเขียวกันบ้างค่ะ เจ้าตัวนั้นก็คือ “สกิ้งส์” หรือจิ้งเหลนจำพวกหนึ่งจากนิวกินี และเกาะโซโลมอน ประเทศอินโดนีเซีย
ตำแหน่งที่อยู่อาศัยของ Prasinohaema prehensicauda = Photo reference : https://www.iucnredlist.org/species/178273/21646431
พวกมันมาจากจีนัสพาซินโนเชมา หรือ Prasinohaema โดยคำว่า Prasinohaema นี้แปลว่า “สีเขียว” ในภาษากรีก ซึ่งมีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ด้วยกันที่มีเลือดสีเขียวได้แก่
1. Prehensile Green Tree Skink ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Prasinohaema prehensicauda สังเกตเวลาที่มันอ้าปาก ผิวหนังที่บางภายในปากแสดงให้เห็นสีเขียวของเลือดอย่างเด่นชัดเลย
รูปถ่าย โดยคุณคริสต์โตเฟอร์ ออสติน = Photo reference : (Christopher Austin)
2. Common Green Tree Skink ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Prasinohaema flavipes โดยมันมีหลายสีและหลายลาย ปรากฎตามรูปเลย
รูปถ่ายโดยคุณเฟร็ด เคราท์ = Photo reference : (Fred Kraus) https://www.researchgate.net/figure/Colour-pattern-variation-in-Prasinohaema-flavipes-Dorsal-views-of-unicolour-morph-BPBM_fig1_258371608
3. Green Tree Skink ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Prasinohaema virens (เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างมาก โดยในประเทศออสเตรเลียนำเข้าเพื่อการศึกษาเท่านั้น
Photo reference : http://reptile-database.reptarium.cz/species?genus=Prasinohaema&species=virens
4. Parker's Green Tree Skink ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Prasinohaema parkeri
5. Semon's Green Tree Skink ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Prasinohaema semoni
เป็นต้น
โดยเลือดของพวกมันมีสีเขียวสว่างอย่างสีเปลือกมะนาวเลย และสีเขียวของเลือด เกิดขึ้นจากสีของบิลิเวอร์ดีน (biliverdin)ในเลือด โดยที่เลือดของจิ้งเหลนนั้นก็มีฮีโมโกลบินแบบมนุษย์ แต่ที่ไม่เป็นสีแดงก็เพราะจำนวนบิลิเวอร์ดินน้ันมีความเข้มข้นมากว่าจนสีเขียวกลบสีแดงไป
รูปถ่ายเลือดจิ้งเหลนพาซิโนเชมา โดยคุณคริสต์โตเฟอร์ ออสติน = Photo reference : (Christopher Austin) https://www.theatlantic.com/science/archive/2018/05/why-do-these-lizards-have-green-blood/560543/
บิลิเวอร์ดีนคืออะไร ยกตัวอย่างในคนเรา เซลล์เม็ดเลือดแดงของเรามีอายุการใช้งานแค่ 4 เดือนเท่านั้น เมื่อเซลล์ตายลงร่างกายจะรีไซเคิลธาตุเหล็กในเลือด เพื่อไปสร้างเม็ดเลือดขึ้นมาใหม่ โดยกระบวนการนั้นเองจะเปลี่ยนให้เซลล์ที่ตายกลายเป็นบิลิเวอร์ดีน (มีสีเขียว) และเปลี่ยนเป็นบิริรูบิน (bilirubin ซึ่งมีสีเหลือง)
ทั้งบิลิเวอร์ดีนและบิลิรูบินเป็นพิษทั้งคู่ ดังนั้นเมื่อคุณเกิดรอยฟกช้ำ หรือเกิดแผล จะสังเกตเห็นน้ำเหลืองน้ำหนองสีเหลืองหรือเขียวไหลออกมา เพราะมันเป็นสารที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ตายลงนั่นเอง
1
แต่ตับของคนเราขับสารพิษพวกนี้ออกไปอย่างรวดเร็ว จึงไม่เหลือพิษในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่เจ้าจิ้งเหลนพาซิโนเชมาไม่ได้ทำแบบนั้น มันต้องการให้เลือดของมันมีบิลิเวอร์ดีนในปริมาณที่สูงมาก มีความเข้มข้นมากกว่าขีดจำกัดที่มนุษย์รับได้ถึง 40 เท่า ซึ่งถ้าเป็นมนุษย์คงจะตายไปแล้ว
บิลิเวอร์ดีนนั่นสามารถทำลาย DNA เซลล์ และระบบประสาท ถ้าคนเรามีบิลิเวอร์ดีนหรือบิลิรูบินในเลือดสูงทำให้เป็นโรคดีซ่าน (jaundice) หรือสภาวะตัวเหลืองนั่นเอง แต่สำหรับจิ้งเหลนพาซิโนมานั้นสบายมาก พวกมันไม่มีอาการผิดปกติหรือล้มป่วยแต่อย่างใด
หนึ่งในนักวิจัยแชคแชรี่ ร็อดดริคซ์ (Zachary Rodriguez) จากแลปคริสต์ ออสติน (Chris Austin's lab) ยืนยันว่าพวกมันวิวัฒนาการเพื่ออดทนต่อพิษบิลิเวอร์ดีน แถมยังปลอดจากสภาวะดีซ่านด้วย
ที่แลป พวกเขาศึกษาจิ้งเหลนทั้งหมด 51 ชนิด รวมทั้งชนิดที่มีเลือดสีเขียวด้วย พบว่าพวกมันมีบรรพบุรุษที่มีเลือดสีแดงเหมือนๆ กัน
โดยเลือดสีเขียวนี้มีประโยชน์ในการต้านโรคมาลาเรีย (Plasmodium) โดยมาลาเรียนั้นมี 100 กว่าสายพันธุ์ที่มีผลทำให้จิ้งเหลนรุ่นบรรพบุรุษนั้นป่วย จิ้งเหลนถูกรุกรานอย่างหนักโดยโรคมาลาเรีย ทำให้มันวิวัฒนาการเลือดสีเขียวที่สามารถฆ่าเชื้อมาลาเรียได้
แม้เชื้อมาลาเรียจะถูกกำจัดไปแต่ก็ใช่ว่าจิ้งเหลนจะไม่ป่วยจากมาลาเรียเลย โดย 1 ในสายพันธุ์ (สายพันธุ์ P. minuoviride) ของมาลาเรียก็พัฒนาตนเองเพื่อต้านทานเลือดเขียวของจิ้งเหลนเช่นกัน เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้จิ้งเหลนทั้งหมดสามารถป่วยได้ แต่โชคดีที่ไม่มีสัตว์เลือดแดงชนิดไหนป่วยจากมาลาเรียสายพันธุ์นี้เลย
โดยโรคมาลาเรียมีแค่ 5 สายพันธุ์ที่มีผลทำให้เกิดอาการป่วยในสัตว์เลือดแดงอย่างมนุษย์ นับว่าโชคดีกว่าจิ้นเหลนอยู่มากเลย
แต่ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ตั้งมั่นที่จะศึกษาเจ้าจิ้นเหลนเลือดเขียวพวกนี้ ว่าทำไมพวกมันถึงไม่ป่วยจากพิษของบิลิเวอร์ดีน เพื่อนำมาใช้รักษาในผู้ป่วยโรคดีซ่าน และนำเลือดของมันมาศึกษาถึงวิธีการที่มันกำจัดเชื้อมาลาเรียได้อีกด้วย
ต้องขอบคุณคุณณคริสต์โตเฟอร์ ออสติน(Christopher Austin) ผู้ก่อตั้งแลปคริสต์ ออสติน และริเริ่มศึกษาเรื่องเลือดสีเขียว หวังว่าพวกเขาจะพบหนทางที่จะมาช่วยมนุษย์ในไม่ช้า
.
.
.
เรื่องราวของเลือดยังไม่จบลง ติดตามตอนต่อไป “ตอนที่5 สัตว์น้ำดึกดำบรรพ์เลือดสีม่วง”
1
Reference / อ้างอิง
เนื้อหาเรียบเรียงโดย : โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
วันที่ 21 พ.ค. พ.ศ.2562
แอดไม่ได้เป็นเจ้าของภาพแต่อย่างใดค่ะ ลิงค์ที่มาของภาพปรากฎอยู่ใต้ภาพค่ะ
*** รับปรึกษาปัญหาเกี่ยวสัตว์น้ำ ปลาป่วย อุปกรณ์ เครื่องกรอง ชนิดพันธุ์ปลา ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ
เฟสบุ๊คเพจ : โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา