Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
•
ติดตาม
23 พ.ค. 2019 เวลา 15:15 • การศึกษา
อาหารประหลาดนาม ”เยลลี่หนอนทะเล” !!! มาจากสัตว์หน้าตาไม่น่ารักอีกตัว เห็นแล้วต้องบอกเลยว่า สะพรึง กับหอยดึกดำบรรพ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ถึงตอนนี้ พวกมันทั้งสองมีเลือดสีม่วงเช่นกัน ต่อกับตอนที่แล้วเลย เชิญรับชม “ตอนที่ 6 ที่มาของเลือดสีม่วง” !!!
🤣🤣 ใครกลัวหนอนต้องทำใจก่อนรับชมค่ะ 🤣🤣
I don’t own this photo. I remix original photo by add some text, crop, and change color. Original photo reference : https://commons.m.wikimedia.org/wiki/File:Biuret_Test_2.jpg
สัตว์ที่เป็นเจ้าของเลือดสีม่วงนอกจากหนอนพีนิส (Penis worm) ที่ได้กล่าวไปเมื่อวานแล้ว มีอยู่อีก 2 ชนิด ได้แก่...
1. หนอนถั่ว (Peanut Worm หรือ พีนัสเวิร์ม)
เป็นหนอนที่ชอบกินซากพืชและสัตว์เป็นอาหารนั่นเอง มันเป็นสัตว์ทะเลที่ชอบอาศัยอยู่ตามซากปะการังและเปลือกหอยเพื่อใช้เป็นที่หลบภัย ผิวหนังบางๆ ของมันทำให้เราเห็นเลือดสีม่วงในตัวมันได้ชัดเลยทีเดียว อีกทั้งมันยังเป็นสัตว์ที่เกิดในยุค cambrian เรียกว่าสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีลมหายใจก็ไม่แปลกเลย (กำเนิดเมื่อ 600 ล้านปีก่อน)
รูปหนอนถั่ว = Photo reference : (Vmenkov) https://www.vox.com/xpress/2014/10/31/7133779/blood-blue-green-purple
มันยังเป็นอาหารจานเด็ดของภัตตาคารในฟิลิปปินส์ ด้วย 2 เมนูเปิบพิสดารชื่อว่า “เยลลี่หนอนทะเล และ ซุปหนอน” หน้าตาไม่ค่อยน่าทานเลยว่าไหมคะ แต่มีคนเขาว่ากันว่าอร่อยนักเชียว ใครใจกล้าก็ไปลองแล้วมาบอกแอดหน่อยละกันว่าเป็นไง 😂😂😂
อาหารเมนูเยลลี่หนอนทะเล 😂 = Photo reference : (WIKIPEDIA CC BY SOHOME JACARANDA LILAU) https://www.spokedark.tv/re/peanut-worms-2/
อาหารเมนูซุปหนอน = Photo reference : (WIKIPEDIA CC BY CESTBEAUCEBU) https://www.spokedark.tv/re/peanut-worms-2/
มาต่อที่สัตว์ตัวต่อไปเลย...
2. หอยตะเกียง (Brachiopods หรือ แบรคิโอพอด)
หอยตะเกียงถือกำเนิดมาในยุคแคมเบียน (cambrian) ราวๆ 600 ล้านปีก่อน (ยังไม่มีไดโนเสาร์เกิดเลย) เป็นรุ่นพี่ของเจ้าหนอนพีนิสในตอนที่ 5 เลยค่ะ เรียกได้ว่าเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่อึด รอดมาถึงปัจจุบันจริงๆ มันเป็นหอยที่มีสองฝา (ไม่ถูกจัดอยู่ในพวกหอยกาบคู่) และยังหน้าตาเหมือนฟอสซิล บรรพบุรุษของมัน แทบจะเรียกได้ว่า copy กันมาเห็นๆ
ฟอสซิล Terebratula maxima, Charlesworth, 1837 = Photo reference : https://www.bgs.ac.uk/discoveringGeology/time/Fossilfocus/brachiopod.html
มันชอบยึดเกาะอยู่เป็นที่และกินสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ลอยมาตามท้องทะเล ลิงกูลา (Lingula) คือชื่อของหอยตะเกียงชนิดที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตรอดมาถึงปัจจุบัน เจ้าตัวนี้นี่แหละค่ะที่นักวิทยาศาสตร์รัสเซียกล่าวว่า มันเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์
คุณเยเลน่า (Yelena Temereva) หัวหน้าทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยมอสโคว (Moscow State University) ยืนยันว่าพวกมันมีร่างกายสมมาตรแบบแบ่งครึ่งในแนวตั้งเช่นเดียวกับร่างกายมนุษย์
หอยลิงกูลาในปัจจุบัน = Photo reference : https://sputniknews.com/art_living/201504231021284609/
โดยทั้งเจ้าหนอนพีนิส หนอนถั่ว และหอยตะเกียงที่กล่าวมาข้างต้น แอดสังเกตเห็นได้เลยว่าสัตว์สามชนิดดึกดำบรรพ์ของเรานั้นเกิดมาจากยุคเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน (600-500ล้านปีก่อน) ดังนั้นที่มาที่สัตว์ทั้งสามตัวมีเลือดสีม่วงเหมือนกันต้องมีความเกี่ยวโยงกับปัจจัยและสภาพแวดล้อมในยุคนั้นแน่ๆ
เลือดสีม่วงถือเป็นเลือดของสัตว์โบราณเลย เรามาดูกันดีกว่าว่ามันต่างจากเลือดของเราอย่างไรบ้าง
ในเลือดของพวกมันมีโปรตีนลำเลียงเลือดที่ชื่อว่า “ฮีเมอริติน” (hemerythrin) ต่างจากฮีโมโกลบินของมนุษย์ เพราะเวลามันจับตัวกับออกซิเจนมันจะเปลี่ยนสีกลายเป็นสีม่วง และเวลาที่มันไม่ได้จับกับออกซิเจนแล้ว จะเปลี่ยนสีกลับเป็นสีใส โอ้! ประหลาดมากๆ
รูปโครงสร้างโปรตีนก่อนจับและหลังจับตัวกับออกซิเจน = Photo reference : https://en.m.wikipedia.org/wiki/Hemerythrin#/media/File%3AHemerth.png
ฮีเมอริตินชอบจับตัวกับออกซิเจนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งกลับกันกับฮีโมโกลบินซึ่งชอบจับตัวกับ คาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า แต่ทั้งนี้ความสามารถในการจับตัวกับออกซิเจนนั้นแค่ 1/4 ของฮีโมโกลบินเท่านั้น
ยกเว้นเลือดของเจ้าหอยตะเกียงเท่านั้นที่มีตัวช่วยในการจับออกซิเจน (cooperative binding of O2) เหมือนในฮีโมโกลบิน ทำให้ประสิทธิภาพในการจับออกซิเจนดีไม่น้อยกว่ากันเลย
เลือดของหอยตะเกียงนับว่าเป็นเลือดม่วงที่ต่างจากพวกพ้องอยู่มาก และก็ไม่แปลกใจเลยว่า cooperative binding of O2 ของเลือดคนเรามีที่มาจากบรรพบุรุษนี่เอง
และเลือดของมันมีคุณสมบัติพิเศษยิ่งนัก เพราะเป็นระบบภูมิต้านทานที่เลิศล้ำ สามารถปรับตัวได้ในสภาวะออกซิเจนต่ำ (มีโปรตีนชื่อ Staphylococcus aureus protein ในเลือดทำหน้าที่เป็นตัวกักเก็บสำรองอากาศไว้ใช้) และเป็นกุญแจไปสู่วิธีที่สัตว์พวกนี้ใช้ในการงอกใหม่ หรือ ซ่อมแซมร่างกายส่วนหน้าของตนเองเมื่อได้รับความเสียหาย
สีม่วงของเลือดมีที่มาที่ค่อนข้างมหัศจรรย์ แอดคิดว่านะ อ้างอิงจากงานวิจัยเรื่อง Color from Structure ของมหาวิทยาลัยเยล (Yale University ศึกษาโดย evolutionary ornithologist Richard Prum) >>> เพราะในยุค cambrian - cambrian explosion นั้นเป็นยุคที่ก่อเกิดสีขึ้น สัตว์หลายชนิดเริ่มมีตา และสีสันตามลำตัว แทนที่จะมีแต่สีใสหรือไร้สีสัน พวกมันเริ่มมองเห็นสีต่างๆ และตอนนั้นเองที่สัตว์ 3 ชนิดของเรามีเลือดสีม่วงบวกกับลำตัวส่วนที่บาง ทำให้ผิวมีสีที่กลมกลืนกับสีท้องทะเลและไม่เป็นที่จับตาของนักล่า
.
.
.
เรื่องราวที่น่าสนใจของเลือดยังไม่จบเพียงเท่านี้ ติดตามตอนต่อไป “ตอนที่ 7 เลือดไร้สีมีด้วยหรือนี่?”
แหะๆ ขออภัยด้วยนะคะ ช่วงนี้โพสดึกหน่อย เพราะแอดงานเยอะเหลือหลาย จะพยายามโพสให้ได้วันละโพสนะคะ
Reference / อ้างอิง
1.
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Hemerythrin
2.
http://www.wildsingapore.com/wildfacts/worm/sipuncula/sipuncula.htm
3.
https://th.m.wikipedia.org/wiki/แบรคิโอพอด
4.
https://www.dmcr.go.th/detailAll/23981/nws/141
5.
https://www.spokedark.tv/re/peanut-worms-2/
6.
https://sputniknews.com/art_living/201504231021284609/
7.
https://www.bgs.ac.uk/discoveringGeology/time/Fossilfocus/brachiopod.html
8.
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Sipuncula
9.
https://www.the-scientist.com/cover-story/color-from-structure-39860
10.
https://www.acs.org/content/dam/acsorg/education/resources/highschool/chemmatters/issues/best-of-chemmatters/sample-lesson-plan-the-many-colors-of-blood.pdf
เนื้อหาเรียบเรียงโดย : โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
วันที่ 23 พ.ค. พ.ศ. 2562
แอดไม่ได้เป็นเจ้าของภาพแต่อย่างใดค่ะ ลิงค์ที่มาของภาพปรากฎอยู่ใต้ภาพค่ะ
*** รับปรึกษาปัญหาเกี่ยวสัตว์น้ำ ปลาป่วย อุปกรณ์ เครื่องกรอง ชนิดพันธุ์ปลา ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ
เฟสบุ๊คเพจ : โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์
https://m.facebook.com/โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว-จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์น้ำ-1149518831877436/?ref=bookmarks
6 บันทึก
36
16
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เลือดมีกี่สี???
6
36
16
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย