10 มิ.ย. 2019 เวลา 15:55 • สุขภาพ
โรคหัด ในอดีตเป็นโรคติดต่อที่พบได้ทั่วโลก แต่เมื่อมีวัคซีนเกิดขึ้นการเกิดโรคก็ลดลงไปได้ถึง 99%
3
โรคหัดเกิดจาก Measles virus ซึ่งจะทำให้มีอาการไข้ อาการทางจมูก เช่น ไอ น้ำมูกไหล ตาแดงและออกผื่นได้ นอกจากนี้หากมีอาการรุนแรงซึ่งมักพบในทารกและเด็กเล็ก
1
ด้านความรุนแรงของโรคพบว่า
- ¼ ของผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
- 1 ใน 1000 คนเกิดภาวะสมองบวม
- ใน 1000 รายพบอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1-3 คนแม้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างดีที่สุดแล้วก็ตาม
1
ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ปอดอักเสบ ลำไส้อักเสบ หรือสมองอักเสบได้
การแพร่กระจายนั้นติดต่อผ่านทางการสูดดมละอองฝอยในอากาศและเข้าสู่ทางเดินหายใจเพื่อก่อโรคซึ่งพบว่า 60% เกิดขึ้นในสถานที่ได้แก่ โรงเรียน สถานสงเคราะห์ เรือนจำและโรงงาน
2
การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีนหัดรวม หรือ MMR (หัด หัดเยอรมัน คางทูม) ซึ่งเป็นวัคซีนขั้นพื้นฐานของไทยและกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายในการกำจัดโรคหัดให้ได้ภายในปี 2563 จึงได้วางมาตรการในการสร้างภูมิคุ้มกันโดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มแรกที่อายุ 9 เดือนและวัคซีนเข็มที่สองที่อายุ 2 ปีครึ่ง นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มความครอบคลุมของวัคซีนและควบคุมพื้นที่ระบาดให้ดีขึ้นอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2556. สำนักงานโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข.
2. Measles: It Isn’t Just a Little Rash Infographic. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 2018.
โฆษณา