10 มิ.ย. 2019 เวลา 16:22 • ประวัติศาสตร์
The legend of Philosopher คนที่ 7 : ซุนวู
ปราชญ์ แห่งพิชัยยุทธ์
1
ผู้ให้กำเนิดตำราพิชัย สงคราม ซุนวู
"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง"
ซุนวู
-ประวัติโดยย่อ-
ซุนวูนั้น เกิดในช่วงก่อนคริสศักราช 600 ปี หรือเปรียบง่ายๆก็ยุคเดียวกับ เล่าจื๊อ และขงจื๊อนั่นเอง เพียงแต่ว่า เกิดก่อน บุคคลทั้งสอง
ซุนวู เป็นชาวเล่ออาน ซึ่งอยู่ในแคว้นฉี ต่อมาแคว้นฉีเกิดการกบฏจราจล ซุนวูจึงหลบหนีเข้าไปอยู่ที่แคว้นอู๋ โดยทำหน้าที่ฝึกทหารให้แก่ อู๋อ๋องเหอหลี อ๋องแห่งแคว้นอู๋ ซุนวูได้เสนอแผนพิชัยสงคราม 13 บท ให้กับ อู๋อ๋องเหอหลี จนอู๋อ๋องเหอหลี แต่งตั้งให้ซุนวูเป็นแม่ทัพ ยกพลหนึ่งแสนไปตีแคว้นฉู่ และสามารถตีแคว้นฉู่ที่ใหญ่ กว่าเข้มแข็งกว่าได้สำเร็จ แต่ก็ไม่สามารถจับตัวอ๋องแคว้นฉู่ที่หลบหนีไปได้
อ๋องแห่งแคว้นเยว่ เห็นโอกาสเหมาะ จึงฉวยโอกาสเข้าตีแคว้นอู๋ที่ว่างเปล่า อู๋อ๋องเหอหลีจึงรีบยกทัพกลับทันที ทำให้อ๋องแคว้นฉู่หนีไปทำ อู่อ๋องเหอหลี จึงเจ็บใจเป็นอย่างมากและทำให้เกิดความแค้นกับ อ๋องแห่งแคว้นเยว่
ต่อมา อ๋องแห่งแคว้นเยว่ ถึงแก่กรรม โกวเจี้ยนผู้บุตรได้ขึ้นครองแคว้นแทน อู๋อ๋องเหอหลีจึงคิดฉวยโอกาสไปนี้ไปตีแคว้นเย่ว ซุนวูได้ทำการคัดค้าน แต่อ๋องเหอหลีไม่รับฟัง ยกทัพสามหมื่นไปตีแคว้นเยว่ และเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และตนเองก็ถูกอาวุธจนบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่กรรมระหว่างการเดินทางกลับแคว้นอู๋
อู๋อ๋องฟูซาจึงได้ขึ้นครองแคว้นสืบต่อจากอู๋อ๋องเหอหลีผู้บิดา อู๋อ๋องฟูซาแรกทีเดียวดำเนินการอย่างเข้มแข็งหมายจะล้างแค้นให้บิดาให้ได้ รบชนะแคว้นเย่วถึงขั้นจับเย่วอ๋องโกวเจี้ยนได้
แต่ต่อมาความประพฤติกลับเหลวไหล หลงแต่สุราและนารีจากแผนนางงามไซซี ของเย่วอ๋อง จนในที่สุดต้องฆ่าตัวตาย เมื่อซุนวูเมื่อได้รู้ถึงนิสัยที่แท้จริงของอู๋อ๋องฟูซา คิดว่าต่อไปภายภาคหน้าแคว้นอู๋ต้องล่มสลายแน่ จึงลาออกจากราชการไปในที่สุด
คนส่วนใหญ่อาจเคยได้ยินประโยค​ ที่ว่า​ "รู้เขารู้เรา​รบร้อยครั้ง​ชนะร้อยครั้ง"
แต่!! รู้รึเปล่าครับว่าแท้จริงนี้คือการรวม​ ประโยคสองประโยคเข้าด้วยกัน​ คือ
"การชนะร้อยทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย จึ่งถือว่าเป็นวิธีอันวิเศษยิ่ง" กับ
"หากรู้เขารู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงตัวเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธนั้นแล"
ฉะนั้นคำสอน"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"จึงไม่มีปรากฏในตำราพิชัยสงครามแต่อย่างใด
3
ประวัติและผลงานของซุนวูนั้นมีโดดเด่นแค่เพียงอย่างเดียว นั่นคือการได้เขียนตำราพิชัยสงคราม ซุนวูขึ้นมา และเป็นมรดกตกทอดชิ้นสำคัญที่ส่งมาถึงชนรุ่นหลังในยุคปัจจุบันนี้
ดังนั้นผมจะให้ทุกท่านมาทำความรู้จัก กับ 13 บทของตำราพิชัยสงคราม ซุนวูกันครับ
-ตำราพิชัยสงคราม ซุนวู-
บทที่ 1 การประมาณสถาณการณ์
ซุนวู มีพื้นฐาน ของการประมาณสถานการณ์อยู่ทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้
1. สงคราม พึงรู้และประกอบวางแผนการรบและพิจารณาบนระบบความคิด ดินฟ้าอากาศ ภูมิประเทศ แม่ทัพ รวมถึงวิธีการจัดทัพ
2. ต้องประมาณการณ์ให้ถูก รู้ว่าแม่ทัพใดชำนาญศึก ฤดูไหนจะทำให้ได้เปรียบ กองกำลังกลุ่มไหนเข้มแข็งที่สุด วิธีการบัญชาการที่ดีที่สุด ถ้ารู้และประมาณการณ์ได้ ก็จะทำให้ชนะ
3.การฟัง การฟังมีประโยชน์ จะช่วยให้รับรู้สถานการณ์ ความช่วยเหลือจากภายนอก และผลกระทบ
4.สงครามเป็นวิชาของการล่อลวง เมื่อพร้อมจงทำว่าไร้ความสามารถ เมื่อเคลื่อนไหว จงทำประหนึ่งหยุดนิ่ง เมื่ออยู่ใกล้ข้าศึก จงทำประหนึ่งว่าอยุ่ไกล แต่เมื่ออยู่ไกล จงทำเหมือนว่าอยู่ใกล้
5.พึงออมกำลังไว้ จนกว่าจะแน่ใจในชัยชนะ ให้ประเมินความได้เปรียบเสียบเปรียบก่อนออกรบ ก่อนวางแผน และมีไม้ตายไว้เสมอ
บทที่ 2 การทำสงคราม
การทำศึกนั้นย่อมมีต้นทุน การเคลื่อนพลย่อมอาศัยแรง การรักษากำลังต้องอาศัยเสบียง การใช้อาวุธ ต้องอาศัยยุโธปกรณ์ การกรำศึกนานย่อมต้องอาศัยกำลังใจ หากไม่รู้ถึงต้นทุนพวกนี้การทำศึกย่อมมีแต่ความพ่ายแพ้ ไม่ควรทำศึกนานจนเกินไป เพราะมีแต่จะทำให้กองทัพอ่อนแอลงทุกวันๆ เสบียงของศัตรูนั่นคือรางวัลของเรา "ฆ่าข้าศึกจะทำให้พวกเขาเดือดดาล ยึดทรัพย์สิน จะทำให้ขาดกำลัง"
2
บทที่ 3 วางแผนโจมตี
ต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ควรบุก และเมื่อไหร่ไม่ควรบุก ความสามัคคีเป็นเรื่องสำคัญ จะทำให้กองกำลังเข้มแข็งได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ชัยชนะได้มากจากการใช้กำลังขนาดใหญ่และขนาดเล็กอย่างเหมาะสม
ชัยชนะได้จากการที่ทุกคนต่างมีเป้าหมายเดียวกัน
ชัยชนะได้มาากการหาโอกาสในปัญหาให้พบ และชัยชนะได้มาจากผู้นำที่เชี่ยวชาญ
1
บทที่ 4 การวางกำลัง
การรบให้ชนะเป็นเรื่องของการใช้คน เราต้องเทคนใส่เข้าไปในสมรถูมิให้เหมือนกระแสน้ำที่ถั่งโถมเข้าท่วมท้นช่องเขา มันเป็นเรื่องของการวางกำลัง บางครั้งที่ไม่สามารถเอาชนะได้ให้ตั้งรับ แต่เมื่อถึงเวลาให้โจมตี ตั้งรับเมื่อกำลังไม่พอ โจมตีเมื่อกำลังเกินพอ
บทที่ 5 พลานุภาพ
เสียงเพลงมีอยู่ไม่กี่เสียง หากเพียงแต่ปรับแต่งมันจะได้บทเพลงแห่งชัยชนะมากมายฟังได้ไม่รู้จบ
สีมีอยู่ไม่กี่สีเพียงแต่ว่าผสมกัน จักได้สีสันแห่งชัยชนะมากมายให้ดูไม่รู้จบ
รสมีอยู่เพียงไม่กี่รส แต่เรายังสามารถผสมมันจนได้รสชาติแห่งชัยชนะมากมาย​ ไม่รู้จบ
จงรบด้วยพลานุภาพ รูปแบบการรบมีเพียงสามัญและพิศดาร แต่สามัญและพิศดารกลับพลิกผันไม่รู้จบ
สามัญและพิศดารให้กำเนิดซึ่งกันและกันเหมือนวงกลมที่ไม่มีจุดเริ่มต้นหรือสิ่นสุด ย่อมสอดประสานผสมปนเปกันได้ไม่รู้สิ้น
บทที่ 6 จุดอ่อนจุดแข็ง
"ต้องรู้จักพื้นที่การรบ เข้าใจจังหวะการศึก"
ไปถึงสนามรบก่อนข้าศึก เพื่อเตรียมตัวชิงความได้เปรียบ วางแผนวางกำลัง จงรุกเข้าไปในตำแหน่งที่เขาไม่สามารถปกป้อง จู่โจมผ่านจุดอ่อน ถอนกำลังยามข้าศึกไม่สามารถขับไล่ รวดเร็วให้เกินกว่าที่ข้าศึกจะไล่ได้ทัน และจงปรับตัวให้เหมือนน้ำ คือเปลี่ยนแปลงได้ตามภาชนะที่ใส่
1
บทที่ 7 การสัปประยุทธ์
จงเข้ารบเมื่อได้เปรียบ การรบเพียงเพื่ออยากรบจักเป็นภัย ใช้ตำแหน่งลวง เพื่อล่อตำแหน่งจริง ในสมรภูมิ ต้องรู้จักควบคุมขวัญกำลังใจ ในตอนเช้าพลังงานเต็มเปี่ยม เพื่อผ่านไปอาจโรยรา เมื่อตกเย็นอาจสิ้นแรง ควรใช้กำลังอย่างชาญฉลาด หลีกเลี่ยงข้าศึกเมื่อฮึกเหิม จู่โจมเมื่อข้าศึกเกียจคร้านอิดโรย เหล่านี้ คือ หนทางการคุมพลัง
บทที่ 8 ความสามารถในการปรับตัว
แม่ทัพต้องเชี่ยวชาญการปรับตัวให้ได้เปรียบจึงจะเป็นผู้รู้การศึก การวางแผนต้องปรับตามเงื่อนไขของโอกาสและอุปสรรค อาจใช้วิธีที่แตกต่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างเดียวกัน ปรับเปลี่ยนข้าศึกต้องรู้จุดอ่อน​ อยากให้ข้าศึกตามต้องเอาประโยชน์มาล่อ​
บทที่ 9 การเดินทัพ
การเดินทัพต้องอาศัยการสังเกต สภาพการรอบข้างเป็นอย่างไร เมื่อจะยกทัพข้ามเขาจะต้องเดินใกล้หุบเขาที่มีแหล่งน้ำและหญ้า ให้พึงระวัง เมื่อจะยกทัพผ่านเขตหนองบึงต้องรีบผ่านไปโดยเร็ว เปรียบได้กับการรู้จักพื้นที่ รู้จักสภาพรอบด้านในทิศทางที่เราจะมุ่งไปข้างหน้า หนองน้ำคืออุปสรรคทำให้เราก้าวไปได้ช้า เราจึงต้องรีบก้าวผ่านไปให้ไวที่สุด
บทที่ 10 ภูมิประเทศ
บางภูมิประเทศสะดวก บางแห่งเหมือนกับดับ บางแห่งเกื้อหนุน บางแห่งคับแคบ บางแห่งขัดขวาง บางแห่งอยู่ไกลหากมองให้ออกว่า แต่ละแห่งอยู่ในรูปแบบไหนก็จะสามารถจัดวางรูปแบบการรับมือได้อย่างปลอดภัย
บทที่ 11 เก้ายุทธภูมิ
มียุทธภูมิอยู่ 9 แบบ ที่จำเป็นจะต้องรู้ไว้ว่า ยุทธภูมิแบบไหนเป็นยุทธภูมิกระจาย, ยุทธภูมิเบา, ยุทธภูมิช่วงชิง, ยุทธภูมิเปิด, ยุทธภูมิสามประสาน, ยุทธภูมิอันตราย, ยุทธภูมิวิบาก, ยุทธภูมิโอบล้อม, ยุทธภูมิคับขันต้องเรียนรู้ทั้ง 9 แบบ เพื่อหาวิธีรับมือ และใช้ประโยชน์จากยุทธภูมินั้นๆ
บทที่ 12 โจมตีด้วยไฟ
1
ใช้ไฟเพื่อเป็นตัวช่วยในการโจมตี หนทางแรกคือ เผาไพร่พล หนทางที่สอง เผาเสบียง หนทางที่สามเผายานพาหนะสำหรับขนส่ง หนทางที่สี่เผาคลังเก็บยุทโธปกรณ์ หนทางที่ห้า เผาที่พัก การจะใช้ไฟจำเป็นจำต้องดูภูมิอากาศ ทิศทางลม ศึกษาเป็นอย่างดี มิฉะนั้นไฟที่ใช้อาจจะย้อนกลับมาทำร้ายได้
บทที่ 13 ใช้สายลับ
สายลับคือคนที่จะเข้าไปแทรกแทรงอยู่ในฝ่ายตรงข้ามและนำข้อมูลกลับมาให้กับทางเราหรือทำให้ทัพของศัตรูได้ข้อมูลผิดๆไป หรืออาจจะเปลี่ยนใจคนภายในของศัตรูก็เป็นไปได้ เจ้าเมืองจะปราดเปรื่องและเม่ทัพจะมีคุณค่า ต่อเมื่อรู้จักกำหนดให้คนที่เก่งที่สุดและฉลาดที่สุดทำหน้าที่เป็นสายลับ
ก็จบแล้วนะครับสำหรับนักปราชญ์ คนสุดท้ายของฝั่งตกวันออก
ต่อไปเราจะกลับไปสู่ฝั่งตะวันตกกัน และพบกับการล่มสลายของ กรีกโบราณ สู่ยุครุ่งเรืองของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งก็มาตามอ่านกันได้นะครับว่าจะพบกับ นักปรัชญาคนไหนกันบ้าง
หนังสือ​ : ตำราพิชัยสงครามของซุนวู​
สำนักพิมพ์​ เอ.ฮาร์.บิซีเนส​เพรส จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา