3 มิ.ย. 2019 เวลา 15:15 • ประวัติศาสตร์
The Legend of Philosopher คนที่ 6 : เล่าจื๊อ
"สุขภาพคือสิ่งที่ล้ำค่าที่สุด ความพึงพอใจคือสมบัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ความมั่นใจคือเพื่อนที่ดีที่สุด และการไม่เป็นสิ่งใดเลยคือความสุขที่สุด"
2
บิดาผู้เขียนตำรา เต้าเต๋อจิง
ผู้เป็นต้นกำเนิดของ "ลัทธิเต๋า"
เล่าจื๊อ
ประวัติโดยย่อ
เล่าจื๊อ เกิดใน ปีไหนไม่มีบันทึกไว้ แต่ตามหลักฐานที่มีนั้นถูกสันนิษฐานไว้ว่า เกิดในช่วงศตวรรษที่ 6 (ช่วงก่อนคริสศักราช) ในช่วงของสงครามปรัชญา และสงครามการเมืองยุคชุนชิว
ชีวิตลองเล่าจื๊อ นั้นไม่ได้มีอะไร ที่พิเศษแต่อย่างใด แต่ที่ทำให้ เป็นที่จดจำเพราะ ได้เขียนตำรา เต้าเต๋อจิงขึ้นมา และนั่นคือ รากฐานในการสร้างลัทธิเต๋านั่นเอง
เล่าจื๊อ นั้น ทำหน้าที่เป็นซิ้วชั้งจือกี้ซือ ซึ่งจะแปลเป็นไทยว่าผู้รักษาจดหมายเหตุ หรืออาลักษณ์ หรือผู้รักษาหอพระสมุดหลวง
หรือจะให้เห็นภาพง่ายๆ ก็บรรณารักษ์ห้องสมุดหลวงนั่นเอง
เพราะเหตุนี้เอง เล่าจื๊อจึงมีความรู้มาก เพราะทำงานในห้องสมุด อ่านหนังสือเป็นจำนวนมาก
ครั้งหนึ่งที่ ขงจื๊อได้สนทนากับเล่าจื๊อ ณ ห้องสมุดนั้น ถึงกับกลว่าวว่า "การสนทนากับเล่าจื๊อ แค่ไม่นานนั้น ได้ความรู้มากกว่าการอ่านหนังสือหลายๆเล่มรวมกันเสียอีก"
คำว่า เล่าจื๊อ แปลว่า อาจารย์ผู้อาวุโส เพราะฉะนั้นจึงน่าจะเป็นคำยกย่องมากกว่าว่าจะเป็นชื่อตัว ชื่ออันแท้จริงของอาจารย์ผู้เฒ่านี้คือไหลตัน (Lai Tan) แต่เขาได้รับการเอ่ยถึงด้วยความเคารพว่า ไหลจื๊อ (Lai Txu) ต่อมาภายหลัง ได้มีการเพิ่มคำว่า เล่า (lao) หรือผู้เฒ่า ผู้อาวุโสเพิ่มเข้าไปกลายเป็น เล่า
ืัที่มาของตำรา เต้าเต๋อจิง
เล่าจื๊อรับราชการอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฎ เล่าจื๊อสังเกตเห็นความเสื่อมของกษัตริย์ราชวงศ์จิว ก็เลยลาออกจากราชการ ออกเดิรทางมุ่งตรงไปทางทิศตะวันตก โดยความเชื่อมั่นว่าจะได้พบ “พระผู้ศักดิสิทธิ์ที่สุด” ในทิศตะวันตก (ลัทธินิยมของชาติโบราณในสมัยดึกดำบรรพ์ โดยมากถือว่าแดนทางตะวันตกเป็นแดนที่วิญญาณของผู้ตายไปสู่ แต่ “พระผู้ศักดิสิทธิ์ที่สุด” เมื่อมาถึงด่านหั้นกูกวน
1
ยินสีนายด่านผู้เป็นเต้าหยินก็ออกมากระทำปัจจุคมนาการ ต้อนรับท่านศาสดาจารย์เป็นอันดี ในการสนทนา ยินสีได้ทราบว่าเล่าจื๊อลาออกจากราชการจะไปอยู่ป่าแสวงหาความสุขส่วนตัว ก็ขอให้เล่าจื๊อ​ รจนาคัมภีร์ขึ้นเล่มหนึ่งก่อนที่จะไป​
เล่าจื๊อก็รับคำและได้รจนาคัมภีร์ที่เรียกว่า เต้าเต๋อจิงขึ้นเล่มหนึ่ง แบ่งออกเป็นสองหมวด หมวดหนึ่งว่าด้วยเต๋า (แปลว่าทาง) อิกหมวดหนึ่งว่าด้วยเต็ก (แปลว่าความดี) เป็นอักษรราว ๕๐๐๐. เมื่อเขียนเสร็จแล้วเล่าจื๊อก็มอบคัมภีร์ให้ไว้กับยินสี กล่าวคำอำลา เสร็จแล้วก็ออกเดิรทาง สาบสูญไปตั้งแต่นั้น
หลักความคิดของเล่าจื๊อ
เล่าจื๊อสอนให้คนเราดำเนินชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติให้มากที่สุด คนจะทำดีและทำชั่วไม่ต้องมีกฎหมายบังคับ แต่ปล่อยให้ธรรมชาติให้คุณและลงโทษเอง ให้เอาธรรมะเข้าสู้อธรรม เอาความสัตย์เข้าสู้อสัตย์ เอาความดีเข้าสู่ความชั่ว ดังที่ว่า “คนที่ดีต่อเรา เราก็ดีต่อ คนที่ไม่ดีต่อเรา เราก็ดีต่อด้วย เพราะฉะนั้นทุกคน จึงควรเป็นคนดี คนที่ซื่อสัตย์ต่อเรา เราก็ซื่อสัตย์ต่อด้วย คนที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อเรา เราก็ซื่อสัตย์ต่อด้วยเพราะฉะนั้น ทุกคน จึงควรเป็นคนซื่อสัตย์”
คำสอนของเล่าจื๊อ
คำตอบของทุกคำถามในชีวิตอยู่ในตัวคุณ แค่คุณลองมองเข้าไปในตัวเอง คุณจะพบกับทุกคำตอบที่คุณแสวงหา
การปล่อยวางทำให้เราพบกับอิสรภาพที่แท้จริง เราเอาชนะทั้งตัวเองและโลกภายนอก ไม่ใช่ด้วยการต่อสู้ แต่ด้วยการยอมรับ
ชื่อเสียงเกียรติยศ และความโลภต่างๆ จะไม่มีวันนำความสุขที่แท้จริงของการรู้จักตัวเองมาให้คุณได้เลย
ความชั่วร้ายจะสลายตัวไปเองแค่คุณไม่ไปสนใจมัน
ความเมตตากรุณาต่อผู้อื่นจะชนะในท้ายที่สุดเสมอ ไม่ว่าความชั่วร้ายจะปกคลุมนานเท่าไหร่ก็ตาม
เมื่อคุณพึงพอใจในสิ่งที่คุณเป็น โดยไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบหรือแข่งขันกับใคร ทุกคนจะเคารพคุณ
คนที่ฉลาด คือคนที่รู้ว่าตัวเองไม่รู้อะไร
ถ้าคุณเข้าใจว่า ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา มันก็ไม่มีอะไรให้คุณต้องยึดติด ถ้าคุณไม่กลัวความตาย มันก็ไม่มีอะไรที่คุณไม่สามารถทำได้
ผู้นำที่ดีนั้นรู้ตัวดีว่าเขาไม่ได้อยู่เหนือลูกน้องของเขาเลย แต่เป็นหนึ่งในพวกเดียวกันต่างหาก
จบไปอีกคน​ สำหรับนักปรัชญา​ฝั่งเอเซีย​ คนต่อไปจะเป็นใครรอติดตามได้ครับ
ืีที่มา
เรียบเรียง ฉุดคิด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา