16 มิ.ย. 2019 เวลา 12:45 • ธุรกิจ
Learning Visual Diary#1:
8 Principle of Innovation Culture inside Google
สวัสดีทุกท่าน🙏 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปฟังสัมมนาเรื่อง Data science ที่ Chula จัดที่ Google (ชื่อโครงการว่า Chula MOOC Achieve) ซึ่งผมอยากจะมานั่งสรุปให้ฟังมากมาย แต่ปัญหาคือ ผมฟังไม่รู้เรื่องเลย😰แต่ก็ยังพอมี key takeaway ได้บ้าง แน่นอนว่ามันจะไม่เกี่ยวกับ​data science เลยสักนิด เข้าเรื่องเลยนะ ผมจะมาคุยเรื่อง Google Culture กัน อะไรคือเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์เปลี่ยนโลกชิ้นแล้วชิ้นเล่าของ Google ลองรับชมครับ
คือมันอย่างนี้ครับ...
คงไม่มีใครเถียงเนอะว่า Google เป็นบริษัทที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันอย่างมาก ลองนึกย้อนไปซัก10ปี บริการของ Google คงเหมือนเป็นเวทมนต์ 🧙‍♂️แม้แต่ตอนนี้บางบริการของ Google ก็ยังเป็นเหมือนเวทมนต์อยู่ดี วันนี้เรานั่งหน้าจอก็สามารถไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ 🏛หรือดำน้ำที่ชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย🏝ได้ผ่าน Google Arts & Culture หรือ Google Earth 🌎
หลังจากที่ได้ฟังพนักงาน Google โม้ ซึ่งฟังไม่ค่อยรู้เรื่องผมได้หาข้อมูลเพิ่มนิดหน่อย(ก็หาจาก Google นั่นแหละ)บวกความเห็นส่วนตัว และสรุปเป็น 8 Principle of Innovation Culture inside Google ลองติดตามกันนะครับ
1
1. Think 10x ข้อแรกนี่ดังและ powerful มาก 💪ข้อนี้ไม่ต้องเป็นติ่ง Google ก็คงเคยได้ยินบ้าง ปรัชญาในการคิดนวัตกรรมของ Google เขามองว่าบริการใหม่ที่จะทำต้องสามารถโตขึ้นได้ 10เท่า ใช่ครับ 10เท่า 🔟ไม่ใช่โต 10% สิ่งนี้มันกดดันให้ Googler (พนักงาน Google) จำเป็นต้องคิดอะไรที่มันใหม่และเปลี่ยนทุกอย่างและทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงคู่แข่งด้วยซ้ำ คำถามว่าแล้วเคยพลาดใหม 🙅🏾‍♂️แน่นอนครับว่ามีพลาดแต่ Google ไม่เคยมองเรื่องพลาดเป็นเรื่องผิด จนมีคำกล่าวที่พูดกันว่า “Never fail to Fail” ซึ่งสะท้อนทัศนคติของ Goolgler ได้ดี เรื่องพลาดเราจะยกไปคุยในข้อสองครับ
2. Launch,then keep listening ข้อนี้ต่อเนื่องจากเรื่องพลาดครับ Google บริหารจัดการความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร เคล็ดลับ คือ การทำ ‘beta’ ครับ ทุกๆ projects ของ Google จะต้องมีการทำ beta launch 🚀 คือการออกผลิตภัณฑ์แบบไม่สมบูรณ์เพื่อให้ทีมงานสามารถได้ทราบ real feedback จากลูกค้าและนำไปพัฒนาต่อครับ Googler เชื่อเรื่องลงมือทำและ feedback loop ครับ
3. Share everything you can ที่ Google จะมีการประชุมรายสัปดาห์เพื่อให้ทีมมีการแชร์ progress ของแต่ละ project ตลอดเวลา และ Googler สามารถขอแชร์ know how จาก project อื่นๆได้ตลอดเวลา ที่ Google เล่าให้ผมฟังว่า พนักงานของ Google จะทราบว่ามีคนที่ทำงานในตำแหน่งหรือ function เดียวกับเขาที่ใหนบ้างประเทศอะไร และเราสามารถขอนัดเวลาเพื่อให้เขาช่วยแชร์ข้อมูลกันได้ผ่าน video conf 📺 นอกจากนี้ Google ยังให้ความสำคัญกับการทำ Space for Collaborate เช่น มีการทำ Lunch area 🥘พนักงานก็ได้ทานข้าวด้วยกันแชร์กัน มีกิจกรรมต่างๆมากมายที่ไม่เกี่ยวกับงาน อันนี้ Googler ที่เล่าให้ฟังบอกว่าถือเป็นเคล็ดลับเลย เพราะเมื่อเขาเห็น country manager มาเต้น BNK กับเขา 🕺💃เขาก็รู้สึกว่าเวลาคุยกับนายก็ไม่เกร็งละ คือมันรู้จักกันมากขึ้นเมื่อเราได้เห็นคนคนนั้นหลายๆมุมที่ไม่ใช่แค่เรื่องงาน
1
4. Hire the right people ทุกที่ก็คงพูเหมือนกัน คือ เรื่องคนนี่แหละสำคัญสุด 👥 แต่ที่ Google ก็มีแนวคิดเรื่องนี้ที่น่าสนใจ เริ่มงานคุณสมบัติของ Googler มี4 อย่างคือ ต้องมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ role มีความเป็นผู้นำ มี logic ในการแก้ปัญหา และมีความ Googlyness อันนี้แปลไม่ได้จริงเขาใช้คำว่ามีความเป็น google มากแค่ใหน งงมะ ผมว่าอธิบายได้จากวัฒนธรรมการสร้างทีมของเขา ซึ่งน่าสนใจและมี 4 ข้ออีกละ (1) psychological safety แปลว่า รู้สึกปลอดภัยทางอารมณ์มั้ง คือประมาณว่า แสดงความเห็นหรือถามคำถามได้ไม่ต้องกลัวคนมองอะไรงี้ครับ👀ไม่ต้องกลัวโดนแทง (2) Open communication ก็คล้ายเมื่อกี้คือ องค์กรสื่อสารเปิดเผยได้ทั้งบนลงล่างและล่างขึ้นบน จริงๆที่ Google ก็เปิดโอกาสให้ทำได้ผ่าน Space for Collaborate. ที่เล่าไปเมื่อก่อนหน้าด้วย (3) Empathy เห็นอกเห็นใจ เข้าใจกัน และ (4) Vision and Meaning คือ งานที่ทำต้องมีคุณค่าร่วมกันของทั้งทีม มีความหมายมีนัย
5. Use 70/20/10 model ข้อนี้พูดถึงวิธีการแบ่งสัดส่วนการทำงานครับ
-70 for dedicated project to core business
-20 for related project to core business
-10 for unrelated project to core business
ซึ่งการแบ่งสัดส่วนงานแบบนี้ Google เชื่อว่าจะช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรมากขึ้น เรื่องนี้มาคุยกันต่อในข้อต่อไปครับ
6. Look for idea everywhere ข้อนี้เป็นเรื่องการสร้างไอเดียใหม่ Google เชื่อว่าไอเดียสามารถมาได้จากทุกจุดขององค์กร ซึ่งทาง Google ได้ทำผ่าน 2 โครงการ อันแรกเขาเรียกว่า 20% Project คือการส่งเสริมให้ Googler ทำงาน 20% ที่ไม่เกี่ยวกับงานตัวเอง และ โครงการอีกอัน คือ Area120 คือโครงการ incubator หรือให้ทุนพนักงานในการพัฒนาโครงการใหม่ๆนั่นเอง 🚀 เขามองว่าทุกคนมีโอกาสเสนอไอเดียไม่ว่าจะมี role อะไร 💡
7. Use data not opinion ข้อนี้ถือเป็นหนึ่งในความเชื่อที่สำคัญมากๆ Googler จะเชื่อว่าข้อมูลชนะข้อคิดเห็นเสมอ ดังนั้นทุกเรื่องต้องมีข้อมูล นอกจากนี้ เขามีความเชื่อว่า การมีdata มันทำให้เรารู้สึกว่าเรื่องที่เจออยู่มันอยู่ในการควบคุมนั่นเอง คือเจอปัญหาไม่สำคัญ สำคัญคือเราควบคุมมันได้ใหม
8. Focus on user not competition สุดท้ายคือปรัชญาในการพัฒนาของ Google ต้องมาจากความต้องการของลูกค้า (เขาเรียกว่า user ตามสไตล์ tech) ไม่ได้ถูกสร้างจากแรงกดดันจากการแข่งขัน ข้อนี้มีตำนานว่าเป็นต้นกำเนิดของ Gmail ที่เราใช้กัน เพราะ Google มองว่า size ของ mailbox เป็นปัญหา สมัยนั้นบางคนอาจจะไม่ทัน mail ฟรีที่ฮิตสุดคือ hotmail และให้ mailbox size 2-4 MB เพื่อขจัดปัญหานี้ Google มองว่าควรจะทำ mail บน cloud ☁️ ที่ไม่มีวันเต็มดังนั้น Google เลือกจะให้ size ของ mailbox ระดับ GB แทน แทนที่จะคิดว่าให้ซักหลายสิบ MB ก็ชนะ hotmail ไปมากแล้ว แต่ Google ก็เลือกจะกำจัดปัญหานี้ออกไปมากกว่าจะมุ่งที่การแข่งขัน (สุดท้ายก็กลายเป็นมาตรฐาน ปัจจุบัน hotmail ไม่มี limit size แล้วนะครับ)
ปัจจุบัน Google มีบริการถึง 8 อย่างที่มีผู้ใช้มากกว่าพันล้านแล้วนะครับ (ลองเดาเล่นๆก็สนุกดี)​ จะเห็นว่าโดยรวมแล้ว แทบทั้งหมดจะเป็นเรื่อง mindset ซะส่วนใหญ่ บางเรื่องผมก็คิดว่าเอามาปรับใช้ได้ก็ไม่เลวเหมือนกัน ไม่ใช่เฉพาะกับเรื่องงานนะครับ แต่หมายถึง mindset ส่วนตัวด้วย
อย่างที่บอกไว้แต่แรกนะครับ เรื่องที่เขียนวันนี้ผมฟังมาและอ่านเพิ่ม เติมความ​ห็น บางเรื่องอาจจะผิดก็ได้นะครับ ใครมีข้อมูลก็แชร์กันได้นะครับ
Happy weekend
ขอบคุณครับ
ชัชฤทธิ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา