18 มิ.ย. 2019 เวลา 18:14 • สุขภาพ
อะไรคือโรคนอนไม่หลับ Insomnia?
อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2018 ประมาณเวลาการอ่าน: 3 นาที
มีคนอ่านบทความนี้แล้ว 1,160,504 คน
แชร์บทความนี้
Facebook
ขอบคุณ รูปภาพจาก www.google.com
ปัจจัยหลายๆอย่างที่แตกต่างกันสามารถส่งผลให้เกิดภาวะ
ความผิดปกติในการนอนหลับได้ ไม่ว่าจะเป็นอาการนอน หลับยาก หรืออาการหลับไม่สนิท ผู้ที่มีอาการของโรคนอนไม่หลับมักพบว่าตนเองตื่นนอนเร็วเกินไปในตอนเช้า และไม่สามารถกลับไปนอนหลับต่อได้ ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย จากการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ แม้ว่าจะมีเวลานอนที่เพียงพอเแล้วก็ตาม โรคนอนไม่หลับไม่สามารถประเมินได้ด้วยความนาน หรือจำนวนชั่วโมงของการนอนหลับ เนื่องจากในแต่ละบุคคลต้องการปริมาณการนอนหลับที่แตกต่างกัน บางคนอาจต้องการการนอนหลับพักผ่อนที่มากกว่าคนส่วนใหญ่ ช่วงระยะเวลาการเกิดโรคนอนไม่หลับมีความหลากหลาย อาจเกิดในระยะเวลาสั้นๆ หรือเกิดต่อเนื่องเป็นระยะยาว ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
โฆษณาจาก HonestDocs
ปัญหากวนใจของหลายคน ถ้ารักษาอย่างถูกวิธีก็มีโอกาสหาย ใบหน้ากระจ่างใส!
แพ็คเกจรักษาสิวเริ่มต้น 400 บาท ลดสูงสุด 50%
คลิก
%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%a7internal ad %281%29
ความชุกของโรค
ในประเทศสหรัฐอเมริกา โรคนอนไม่หลับเป็นโรคที่พบมากที่สุดในกลุ่มโรคความผิดปกติของการนอน The American Academy of Sleep Medicine ได้ประมาณการว่าสามสิบเปอร์เซ็นต์ ของผู้ใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกามีอาการของโรค นอนไม่หลับ และสิบเปอร์เซ็นต์เป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง โดยโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง หมายถึง การพบความผิดปกติของการนอนที่เป็นมานานอย่างน้อยสี่สัปดาห์ขึ้นไป โดยโรคนี้จะพบได้มากในผู้หญิง และวัยสูงอายุ
อาการของโรคนอนไม่หลับ
ส่วนใหญ่อาการที่พบมีดังนี้
นอนหลับยาก
นอนหลับไม่สนิท นอนหลับๆตื่นๆ
คุณภาพในการนอนไม่สม่ำเสมอ (บางคืนนอนหลับยาก สลับกับบางคืนนอนหลับได้ดี)
ง่วงระหว่างวัน
อ่อนเพลีย รู้สึกไม่ค่อยมีแรง
หลงลืมง่าย
ไม่มีสมาธิ
หงุดหงิดฉุนเฉียว
ขี้วิตกกังวล
ซึมเศร้า เบื่อหน่าย
ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงานลดลง
มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการนอน
โรคนอนไม่หลับเกิดจากอะไร?
โรคนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบบ่อยมีดังนี้
สภาพแวดล้อมในการนอนเปลี่ยนแปลง (อุณหภูมิ,แสงสว่าง,เสียงรบกวน)
ความเครียดและความวิตกกังวลจากปัญหาชีวิต (สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก,การหย่าร้าง,ภาวะตกงาน)
ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน,นิโคติน,หรือแอลกอฮอล์มากเกินไป
การรับประทานยาบางชนิด (ยาโรคหัวใจและความดัน,ยาแก้แพ้,ยาเสตียรอยด์)
การนอนหลับไม่เป็นเวลา (การนอนหลับหรือตื่นนอนที่เร็วหรือช้าไม่เท่ากันในแต่ละวัน หรือเป็นแค่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง)
ความคิดวิตกกังวลว่าตนเองจะนอนไม่หลับ
ความอ่อนเพลียจากการเดินทางโดยเครื่องบิน
ภาวะความเจ็บป่วยบางอย่างก็สามารถทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับได้เช่นกัน เช่น
ปัญหาสุขภาพจิต (โรคซึมเศร้า,โรควิตกกังวล,โรคเครียดหลังประสบเหตุการณ์ร้ายแรง)
ความเจ็บปวดที่เกิดจากปัญหาสุขภาพ (ข้ออักเสบ,ภาวะช่องโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ)
ปัญหาทางระบบประสาท (โรคพาร์กินสัน,โรคอัลไซเมอร์)
โรคความผิดปกติในการนอนหลับอื่นๆ (ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ,กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข, ภาวะขากระตุกขณะนอนหลับ)
ภาวะแทรกซ้อนของโรคนอนไม่หลับ
โรคนอนไม่หลับสามารถส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย สับสน ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิตประจำวัน และทำให้ประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว การทรงตัว และความจำลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ จะพบได้มากกว่าในผู้ที่เป็นโรค เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นโรค
โรคนอนไม่หลับสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆได้ รวมทั้ง
โรคเบาหวาน
โรคอ้วน
โรคความดันโลหิตสูง
โรคซึมเศร้า
โรควิตกกังวล
พฤติกรรมการใช้ยาในทางที่ผิด
การตั้งครรภ์และโรคนอนไม่หลับ
โรคนอนไม่หลับเป็นโรคที่พบได้มากในหญิงตั้งครรภ์ โดย The American Pregnancy Association พบว่าแปดสิบเปอร์เซ็นต์ของหญิงตั้งครรภ์มีอาการนอนไม่หลับ โดยไม่ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์
สาเหตุที่พบได้มากขณะตั้งครรภ์ ได้แก่
ความไม่สะดวกสบายในการนอน เนื่องจากขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้น
อาการแสบร้อนกลางอก
อาการปวดหลัง
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป
ความตื่นเต้นต่อการมีบุตร
ขั้นตอนดังกล่าวต่อไปนี้ อาจจะสามารถช่วยลดภาวะนอนไม่หลับในหญิงตั้งครรภ์ได้
ลองเปลี่ยนท่านอน
ฝึกการผ่อนคลาย หรือใช้เทคนิคการหายใจ (รวมถึงเทคนิคที่คุณอาจจะเคยได้เรียน ในชั่วโมงอบรมเรื่องความพร้อมในการคลอดบุตร)
ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน
การรับประทานขนมขบเคี้ยว หรืออ่านหนังสือก่อนนอน จะสามารถทำให้ง่วงนอน และนอนหลับได้ง่ายขึ้น
โรคนอนไม่หลับถึงตาย (Fatal Familial Insomnia : FFI)
โรคนอนไม่หลับถึงตาย (FFI) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก ส่งผลต่อ สมอง และเส้นประสาท ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนอนไม่หลับถึงตาย จะเริ่มมีอาการในช่วงวัยกลางคน
โฆษณาจาก HonestDocs
ปัญหากวนใจของหลายคน ถ้ารักษาอย่างถูกวิธีก็มีโอกาสหาย ใบหน้ากระจ่างใส!
แพ็คเกจรักษาสิวเริ่มต้น 400 บาท ลดสูงสุด 50%
คลิก
%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%a7internal ad %281%29
อาการที่พบในโรคนอนไม่หลับถึงตาย ได้แก่
อาการนอนไม่หลับที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น
อาการฝันเด่น (vivid dreams)
ความดันโลหิตสูง
หายใจเร็ว
มีน้ำตามาก(teary eyes) โดยที่ไม่ได้เกิดจากการร้องไห้
มีปัญหาในการขับปัสสาวะ
สูญเสียการประสานงาน หรือการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ปัจจุบันไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาดจากโรค แต่มีวิธีการรักษาแบบประคับประคอง ที่สามารถช่วยลดอาการของโรคได้
ที่มาจาก
โฆษณา