ก็อย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่า พิเคราะห์สามก๊ก ของ อ.อี้จงเทียนนี้ เป็นรูปแบบในการนำเสนอ ถึงบุคคลสำคัญๆ ในประวัติศาสตร์สามก๊ก จึงมีความแตกต่าง ไปจากข้อมูลเดิมที่เรารับทราบกันในรูปแบบพงศวดารหรือวรรณกรรณ
ดังนั้นหากเราไม่แยกทั้งสองอย่างออกจากกัน แน่นอน ต้องเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่า คนนั้นต้องเป็นแบบนั้นสิ คนนี้ต้องเป็นแบบนี้สิ แต่หากเราไม่มองเป็นกลาง แล้วยึดติดว่าสามก๊กต้องเป็นในแบบวรรณกรรมเท่านั้น ก็อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนและความเข้าใจผิด ในตัวของบุคคล ต่าง ๆในสามก๊กไปด้วย
อย่างเช่น จิวยี่และขงเบ้ง ซึ่งภาพลักษณ์ของจิวยี่ในวรรณกรรมนั้น เป็นคนจำพวก ขี้อิจฉาริษยา ใจคอคับแคบ แต่ในบันทึก จดหมายเหตุสามก๊กของ เฉินโซ่ว ไม่บงบอกถึง บุคคลิกลักษณะนี้เลย กลับบอกถึง
คุณลักษณะ ที่ว่า จิวยี่ ทั้งองอาจ ฉลาดและกล้าหาญ มากกว่า
ส่วนจูกัดเหลียง ขงเบ้ง อ.อี้จงเทียน ให้ความเคารพและยกย่องในตัวขงเบ้งเป็นอย่างมาก แต่ก็มีหลายเรื่องที่ หลายเหตุการณ์ที่มีอยู่ในวรรณกรรม แต่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น เนินเผาที่พกบ๋อง เพลิงเผาที่ซินเอี๋ย
เรือฟางยืมเกาทัณฑ์ เรียกลมอาคเนย์ และก็กลเมืองร้าง ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับขงเบ้ง เป็นเพียงการปั้นเติมเสริมแต่ง เพื่อให้ขงเบ้งดูเป็น อัจฉริยะรอบด้านมากขึ้น แต่แท้จริงแล้ว ขงเบ้งเป็นผู้ที่มีความสามารถมากในเรื่อง นโยบาย การปกครอง มากกว่าในเรื่องของการทหาร
ซึ่งในวรรณกรรมที่เป็นแบบนี้ก็ไม่ผิด เพราะในการเล่าเรื่อง ในเชิงแบบนิยายหรือวรรณกรรมนั้น
เพื่อให้เรื่องราว มีอรรถรสและชวนหน้าติดตาม จึงจำเป็นให้ต้องมีตัวเอก ตัวร้ายในแต่ละสถานะการณ์ และเพื่อให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น จำเป็นต้องปั้นเติมเสริมแต่งตัวเอกมีภาพลักษณ์ที่เด่นชัดมากขึ้น โดยองค์ประกอบต่างๆ และตัวร้ายก็ต้องชัดเจนมากขึ้น เสริมภาพลักษณ์ที่เป็นเชิงลบมากขึ้น
ดังนั้นมุมมองในพิเคราะห์สามก๊ก จะทำให้คุณผู้ฟัง เห็นถึงความแตกต่าง ของบุคคลต่างๆ ในประวัติศาสตร์สามก๊ก และเข้าใจในตัวบุคคลเหล่านั้นมากยิ่งขึ้น
สุดท้ายก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทั้งหมดนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อคุณผู้ฟังได้ไม่มากก็น้อยนะครับ สวัสดีครับ