Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฉุดคิด
•
ติดตาม
30 มิ.ย. 2019 เวลา 08:41 • ประวัติศาสตร์
The legend of Philosopher คนที่ 9 : Cicero
ปราชญ์ ผู้มีวาทะศิลป์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในยุคโรมัน
ผู้ยึดมั่นในระบอบสาธารณรัฐ
ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับ ซีซาร์
ผู้ มีอิทธิพลต่อภาษาละติน
ซิเซโร
1
นักเขียน นักพูด นักกฎหมาย
-ประวัติ-
ซิเซโร เกิดในช่วง 106-43 ปีก่อนคริสกาล มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับ ซีซาร์ผู้ที่ได้ขึ้นมาครอบครอง จักรวรรดิโรมันอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง
เขาเกิดในเมือง Arpinum เป็นลูกชายของ Marcus Tullius Cicero ซึ่งก็มีฐานะดีและร่ำรวย ด้วยความชอบการอ่านหนังสือ และศึกษาด้านการพูด ตั้งแต่เด็ก จนพ่อเขาเห็นแวว จึงส่งไปเรียนยังโรม เพื่อส่งเสริมลูกของเขาอย่างเต็มที่
ซิเซโร เป็นคนเก่ง จึงได้เข้ารับราชการในกรุงโรมตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเขารับหน้าที่เป็นทนายความ
ซึ่งผลงานการว่าความของเขา ก็ทำให้เขามีชื่อเสียงพอสมควร ณ กรุงโรม หลังจากนั้นเขาได้ออกเดินทางไปศึกษาต่อที่กรีซ และเอเซียไมเนอร์ ใช้ระยะเวลา 4 ปี(ช่วงนี้บางข้อสันนิษฐานบอกว่า เป็นการหนีทางการเมืองของเขาที่ไม่อยากไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามของ ซัลลา) ก็เดินทางกลับมายังโรม
เมื่อกลับมาเค้าได้รับตำแหน่งเควเอสเตอร์ (Quaestors ~ เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการเงินของโรมัน)
ครั้งหนึ่งเขาขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ทางการเมืองครั้งแรกของเขา เพื่อสนับสนุน นโยบายขยายอาณาเขตของ นายพลปอมเปย์ จนในที่สุด เขาก็ได้ขึ้นรับตำแหน่ง กงสุล ระหว่างที่เขาอยู่ในตำแหน่งกงศุล เขาสามารถจับตัวคาติลีน (Catiline) และผู้สมรู้ร่วมคิดอีกห้าคนที่ต้องการจะก่อกบฏในโรมันได้ ทั้งหมดถูกตัดสินลงโทษตามคำสั่งของซิเซโร่ โดยที่ไม่มีการสอบสวน
ในตอนนั้นเองตัวเขาเองก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ที่มีอิทธิพล มากๆแล้วในขณะนั้น
ซึ่งนั่นทำให้ ได้รับเชิญจาก ปอมปีย์ (Pompey), คราสซัส (Crassus) และซีซาร์ (Julius Caesar) ที่จะร่วมมือกันขึ้นมาเป็นใหญ่ในโรมัน (First Triumvirate) ซึ่งทั้งสามได้พยายามโน้มน้าวให้ซิเซโร่ ร่วมมือกับพวกเขาด้วย แต่ด้วยความที่เขา ยึดมั่นในระบบสาธารณรัฐ ไม่เห็นด้วยในการยึดอำนาจและเผด็จการ เขาจึงตอบปฎิเสธคำชวนนี้ไป
1
เสือทั้งสามตัวจึงวางแผนที่จะยึดอำนาจต่อไป
โคลเดียส (Clodius) คนสนิทของซีซ่าร์ ได้เสนอร่างกฎหมายขึ้นมาข้อหนึ่ง
ใจความว่า ผู้ใดก็ตามที่ลงโทษชาวโรมันโดยที่ไม่มีการไต่สวนจะถูกลงโทษด้วยการยกเลิกสถานะพลเมืองของโรมัน
ซึ่งแน่นอนว่ากฏหมายนี้เป็นเครื่องมือในการโจมตีซิเซโร่โดยตรง
2
ในที่สุดเมื่อกฏหมายผ่าน และออกบังคับใช้
ซิเซโร่จึงถูกยึดทรัพย์สินย์ทั้งหมด รวมถึงที่ดิน และถูกห้ามไม่ให้เข้ามายังอิตาลีในรัศมี 500 ไมล์
1
ในช่วงเวลานี้เขาใช้เวลาว่างเขียน On the Orator, On the Republic และ On the Laws ขึ้นมา ซึ่งก็เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าต่อมาในอนาคต
ระหว่างนั้น คราสซัส (Crassus) ได้เสียชีวิตลง ทำให้ เกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่าง ซีซ่าร์ และ ปอมปีย์ สุดท้ายแล้ว ซีซ่าร์ ได้รับชัยชนะ และครอบครองอาณาจักรโรมัน
เมื่อผู้มีอำนาจมีเพียงคนเดียวแล้ว ซีซาร์ ได้ อภัยโทษ แก่ ซิเซโร่ อนุญาตให้เขากลับมายังโรมได้ แต่ว่าไม่อนุญาตให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีก ซิเซโร่จึงใช้ชีวิตที่เหลือในการศึกษาปรัชญา และเขียนหนังสือ
ต่อมา ซีซ่าร์ ถูกลอบสังหาร ทำให้อำนาจถูกเปลี่ยนมืออีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ผู้มาแย่งชิงอำนาจกันได้แก่ มาร์ค แอนโทนี่ (Mark Antony) , อ๊อคเตเวียน (Octavian) และเลปิดัส (Marcus Lepidus)
เมื่ออำนาจเปลี่ยนขั้ว ทำให้เขาได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งครั้งนี้ ได้นำไปสู่ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ของตัวเขาเอง นั่นคือ
ในที่ประชุมของสภาซีเนต (Senate) ของโรมัน ซิเซโร่ได้กล่าวสุนทรพจน์ ที่รู้จักกันว่าฟิลิปปิก (Philippics) ซิเซโร่กล่าวสนับสนุนอ๊อคเตเวียและโจมตีมาร์ก แอนโทนี
ซึ่งภายหลังกลับกลายเป็นว่า ทั้งสามคน แอนโทนี่ อ๊อคเตเวียน และเลปิดัส ดันแบ่งผลประโยชน์กันลงตัว กลายเป็นมิตรต่อกันสามฝ่าย
นั่นจึงทำให้ถึงเวลากลับมาแก้แค้นของ มาร์กแอนโทนี
มาร์กแอนโทนี ออกคำสั่งให้ จับตัว ซิเซโร่ มาประหาร และนั่นก็ถือเป็นจุด สิ้นสุดชีวิตของ ซิเซโร่
ตลอดชีวิตของ ซิเซโร่ ต้องยุ่งเกี่ยวกับทางการเมืองอยู่หลายต่อหลายครั้ง แต่เขาก็ยังยืนกรานที่จะสนับสนุนการปกครองแบบ สาธารณรัฐมากกว่าการปกครองแบบเผด็จการ ด้วยอุดมการณ์นี้ จึงทำให้เขาเลือกสนับสนุน คนที่จะสามารถ สร้าง สาธารณรัฐให้เกิดขึ้นมาได้มากกว่า และมันก็นำมาซึ่งจุดจบของชีวิตเขาเองด้วยเช่นกัน
1
ในด้านผลงานต่างๆนั้น จะมีจดหมายที่เขาได้เขียนขึ้นไว้ และถูกค้นพบในภายหลัง ซึ่งก็เกี่ยวกับปรัชญาในด้านต่าง
อย่างไรก็ดี เขาเหมือนเป็นแสงสว่างให้กับนักปรัชญา ในยุคต่อๆมา ซึ่งแม้จะมีแค่เพียงน้อยนิดในยุคของจักรวรรดิโรมัน เพราะการปกครองที่เป็นแบบเผด็จการเสียส่วนใหญ่ ไม่เปิดรับความเห็นขั้วตรงข้าม และใช้อำนาจ จัดการศัตรู ที่มีโดยทันที
เจอกันสัปดาห์หน้าครับผม
ที่มา
https://en.wikipedia.org/wiki/Cicero
https://www.history.com/topics/ancient-history/marcus-tullius-cicero
https://www.notablebiographies.com/Ch-Co/Cicero-Marcus-Tullius.html
http://hoboctn.com/2014/10/11/cicero/
12 บันทึก
38
3
18
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
The legend of Philosopher
12
38
3
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย