7 ก.ค. 2019 เวลา 12:56 • ประวัติศาสตร์
The legend of Philosopher คนที่ 10 : Saint Augustine of Hippo
ผู้หันหลังให้กับพระเจ้า ในแรกเริ่ม แต่จบด้วย การเป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่
ผู้ตั้งคำถามว่า เหตุใด พระเจ้าจึงต้องยอมให้โลกนี้มีความชั่วร้าย
ผู้เป็นหนึ่งในนักบุญ ที่มีอิทธิพลต่อ คริสต์ศาสนาเป็นอย่างมาก
นักปรัชญาและนักบุญคริสตจักร
Saint Augustine of Hippo
-ประวัติ-
ออกัสตินแห่งฮิปโป เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 354 ที่เมืองทากาส Thagaste ซึ่งอยู่ในทวีปแอฟาริกาเหนือในปัจจุบัน บิดาชื่อ ปาตริซิอุส(Patricius) มารดาชื่อ มอนิกา (Monnica) มารดาของเขานั้นนับถือศาสนาคริสต์ เลื่อมใสอย่างจริงจัง และอุทิศตอนให้กับคริสตจัตร นางจึงเลี้ยงดู ออกัสติน เป็นอย่างดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ออกัสตินจะนับถือศาสนาคริสต์ตามนาง
บุคลิกของออกัสตินนั้น เป็นคน กระชับกระเฉง ใจร้อน ดื้อรั้น และโมโหง่าย แต่มีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด
ตอนอายุ 11 ออกัสตินถูกส่งไปเรียนที่ Madaurus เมือง Numidian ที่นั่นเขาเริ่มคุ้นเคยกับวรรณคดีละตินรวมถึงความเชื่อและการปฏิบัตินอกรีต
เมื่อเรียนจบอายุ 16 ปี บิดาของเขาได้บอกว่า ไม่มีเงินพอที่จะส่งเขาเรียนต่อไปได้อีก เขาจึงทำตัวเหลวแหลกคบเพื่อนเกเร ทำให้พ่อแม่ต้องลำบากใจในช่วงนั้น แต่นับว่ายังมีความโชคดี บังเอิญว่าเพื่อนคนหนึ่งทราบถึงปัญหาทางการเงินของ ออกัสติน จึงเสนอให้ไปอาศัยอยู่ด้วยกันและจะออกค่าเล่าเรียนให้ ออกัสตินไปที่คาร์เธจเพื่อศึกษาต่อในวาทศาสตร์
การมาศึกษาต่อใน คาร์เธจนี้ถือเป็นช่วงที่ชีวิตของ ออกัสติน เหลวแหลกมากที่สุด เพราะ มัวแต่หมกมุ่นในเรื่องที่ไม่ดีต่างๆ โดยเฉพาะ เรื่องทางเพศ ในวัย 17 ปี เขา เริ่มมีสัมพันธ์กับหญิงสาวคนหนึ่ง ในขณะที่แม่ของเขาต้องการให้เขาแต่งงานกับเพื่อนร่วมห้องอีกคนหนึ่ง ภายหลังเขามีบุตรด้วยกันกับหญิงที่เขาสานสัมพันธ์ด้วย หนึ่งคน แต่ก็ต้องแต่งงานกับคนที่แม่จัดเตรียมไว้ให้
2
ชีวิตถึงคราวพลิกผัน เมื่อบิดาของเขาเสียชีวิตลง ในวาระสุดท้ายของบิดา นั้นได้เข้าพิธีชำระบาป และแม่ของเขาได้บอกว่า การตายของบิดาส่วนหนึ่งนั้นมีสาเหตุมาจากการทำตัวเหลวแหลกของ ออกัสตินนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เขาจึง เปลี่ยนแปลงตัวเองกลับมาตั้งใจเรียน อีกครั้ง
หลังจากบิดาเสียชีวิต ตัวเขาได้หันมาสนใจศึกษาในศาสนาคริสต์ แต่ด้วยความที่เขายังมีข้อสงสัยมากมมายในคำสอนของ คริสตศาสนา จึงทำให้เขาไม่ปักใจเชื่อ และหันหลังให้แทน
เขาได้หันไปนับถือลัทธิ มานิเชียน (Manichaeans) ซึ่งมีความเชื่อว่า พระเจ้าไม่ได้มีอำนาจสูงสุด โดยเขาได้อยู่ในลัทธิ นี้เป็นเวลาถึง 10 ปี แต่ด้วยการที่ยิ่งศึกษา ยิ่งรับรู้ จึงทำให้เขารู้ว่า ลัทธินี้ไม่ได้ตอบโจทย์ที่เขาต้องการ
จนเมื่อเขาได้เดินทางมาที่โรม และพบกับ ท่านอัมโบรส (Ambrose) พระสังฆราชแห่งมิลาน บทเทศน์ของท่านทำให้ออกัสตินรู้สึกประทับใจในคำสอน จนทำให้เขากลับมาสนใจในคริสต์ศาสนาอีกครั้งหนึ่งและเริ่มศึกษาคำสอนจาก ท่านอัมโบรสด้วยตัวเอง
ในวัย 33 ปี ออกัสตินได้ประกาศตนว่าเป็น ว่าเป็นคริสต์ชน และเข้าพิธีล้างบาปอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 25 เมษายน 387 ซึ่งสร้างความปลื้มปิติ ให้กับมารดาของเขาเป็นอย่างยิ่ง เพราะเฝ้ารอเวลานี้มาตลอด
หลังจากนั้นไม่นาน มารดาของเขาก็เสียชีวิตลง
เมื่อจบพิธีศพของมารดา เขาก็ตั้งใจที่จะอุทิศชีวิตให้กับคริสต์ศาสนาอย่างจริงจัง เขาเดินทางกลับมาที่บ้านเกิดของเขา และคอยเทศนาหลักธรรมต่างๆ ให้กับผู้คน จนมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก สุดท้าย ได้รับการอภิเษกให้เป็นพระสังฆราชแห่งเมืองฮิปโป ตลอดระยะเวลาที่ได้ท่านเป็นพระสงฆ์และพระสังฆราชท่านได้อุทิศตนเองเพื่อ เป็นนายชุมพาบาลที่ดี ช่วยเหลือคนยากจน และดูแลผลประโยชน์ของพระศาสนจักร รับฟังความทุกร้อนของสัตบุรุษ และปลอบประโลมจิตใจพวกเขา เมื่อท่านอายุย่างเข้าสู่ปีที่ 76 ท่านออกัสตินได้ถวายวิญญาณของท่านคืนแก่พระเจ้าในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 430
เหตุใดพระเจ้าจึงต้องยอมให้โลกนี้มีความชั่วร้าย??
นี่คือคำถามที่ตัวเขาได้สงสัยในศาสนาคริสต์ ตั้งแต่แรก และยังมิได้คำตอบ จนเข้าไปอยู่ในลัทธิ มานิเชียนเป็นเวลาถึง 10 ปี จนได้กลับเข้ามาศึกษาศาสนาคริสต์อีกครั้ง กับ ท่านอัมโบรส ในขณะที่ศึกษาศาสนาคริสต์นั้น เขาก็ได้ศึกษา ปรัชญาทฤษฎีของเพลโต จากแนวคิด เพลโตนิยมใหม่ นำไปสู่ความคิดที่ว่า "ความชั่วไม่ใช่ความจริง แต่เป็นภาวะของความขาดแคลนของความดี" แนวคิดเพลโตนิยมใหม่ ทำให้ท่านออกุสตินข้ามพ้นจากปรัชญาแห่งความสงสัย (skepticism) ปรัชญาวัตถุนิยม (materialism) และปรัชญาทวินิยม (dualism) ไปได้ปรัชญาของเพลโตช่วยให้ท่านเข้าใจในหลักศรัทธาของศาสนาคริสต์ อย่างมีเหตุมีผล
โดยคำตอบที่เขาได้นั้น ก็ตั้งอยู่บนฐานเรื่องการดำรงอยู่ของเจตจำนงเสรี(Free will) อันเป็นความสามารถของมนุษย์ที่สามารถเลือกได้ว่าจะทำอะไรต่อไป ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถเลือกได้ที่จะอ่านประโยคต่อไป หรือว่าจะไม่อ่าน ไม่ได้มีใครบังคับให้คุณอ่านต่อ ถ้าคุณอ่านต่อก็เป็นการเลือกของคุณเอง ออกัสตินคิดว่าการมีเจตจำนงเสรีเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันทำให้เราปฎิบัติตนตามจริยธรรม เราเลือกที่จะเป็นคนดีได้ ซึ่งนั่นคือการที่สามารถจะเลือกทำสิ่งที่ขั่วร้าย หรือไม่ชั่วร้าย ซึ่งบางครั้งอารมณ์จะมีส่วนในการตัดสินมากกว่าเหตุผล ซึ่งหากว่าบุคคลใดเป็นคนที่ดีพอ ก็จะใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์นั่นเอง ด้วยการที่เรามีอำนาจในการเลือกโดย ที่พระเจ้าไม่ได้กำหนดโปรแกรมมาให้เลือกแต่สิ่งที่ดีโดยอัตโนมัติ จึงทำให้ เกิดความชั่วร้าย ซึ่งความชั่วร้ายก็มาจากผลของการตัดสินใจที่ผิดพลาดนั่นเอง เช่นเดียวกับการตัดสินใจของอดัมและอีฟที่ตัดสินใจ​ กินผลไม้ของพระเจ้า
-ผลงาน-
ผลงานที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักอย่างมากและดำรงอยู่ถึงปัจจุบัน นั้นมีอยู่ 2 ชิ้น คือ
1.Confessions(คำสารภาพ) มีทั้งหมด 13 เล่ม
เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวของอัตชีวิประวัติ ของออกัสตินเอง โดยบันทึกอย่างละเอียด และเป็นเหมือนคำสารภาพบาปที่เขาได้ทำไว้ ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันที่เขาเขียน(อายุประมาณ 40 ปี) แต่เนื้อหายังแฝงถึงเรื่องราว ข้อคิด ปรัชญา การใช้ชีวิต ต่างๆมากมาย ที่เขาได้พบเจอมาตลอด ซึ่งจะได้เห็นถึงการเติบโตของชีวิต และจิตวิญญาณของเขาในแต่ละช่วงวัย อีกด้วย
1
2.City of God (เมืองของพระเจ้า)
เป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก
วรรณกรรมทางศาสนา ที่สำคัญ คือ เทวนคร โดยนักบุญออกัสติน เป็นเรื่องราวการสร้างโลกตามคติศาสนา มหาเทววิทยา โดยนักบุญทอมัส อะไควนัส เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความเชื่อ และศรัทธาในคริสต์ศษสนาอย่างมีเหตุผล ใช้สอนวิชาเทววิทยาในมหาวิทยาลัย
วรรณกรรมทางโลก แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ 1. มหากาพ epic 2. นิยายวีรคติหรือนิยายโรมานซ์ romance 3. คีตกานท์ lyric 4. นิทานฟาลิโอ 5. นิทานสัตว์
The city of god ออกัสตินแบ่งสังคมของมนุษย์ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ครอบครัว เมืองพื้นโลกและมนุษย์บนโลก และจักรวาล จากคำว่าเมือง ออกัสตินแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ครอบครัว เมืองพื้นโลกและมนุษย์บนโลก และจักรวาล
จากคำว่าเมือง ออกอัสตินแบ่งเป็น 2 ประเภทคือเมืองของพระเจ้ากับเมืองมนุษย์ หัวใจของเรื่องคือ การเปรียบเทียบจักรวรรดิโรมันซึ่งเป็นอาณาจักรทางฆารวาส และ city of god หมายถึงถึงศาสนจักร เคน เป็นผู้ก่อตั้งเมืองแรก ดังนั้จึงเป็นเมืองชั่วร้าย ส่วน ซิตี ออฟ ก็อท เป็นอาณาจักรทางศาสนาของพระเจ้า ศาสนตักรมีรากฐานตากพระเจ้าและเป็นภาพสะท้อนของอาณาจักรบนสวรรค์ เขาสรุปว่า โลกนีประกอบด้วยเมืองสัญลักษณ์ 2 เมือง คือเมืองแห่งความดีและเมืองแห่งความชั่ว โดยเมืองแห่งความดีคือตัวแทนแห่งพระเจ้า เมืองแห่งความชั่วคือเมืองของปีศาจ
หนังสือสองเล่มนี้ เป็นที่ถกเถียงกันในวงกว้าง และเป็นที่พูดถึง ศึกษาในอดีตจนมาถึงปัจจุบัน
-Quote-
No man can be a good bishop if he loves his title but not his task.
“ไม่มีใครเป็นสังฆราชที่ดีได้ หากเขารักเพียงตำแหน่ง ไม่ใช่ภาระหน้าที่” – City of God
It was pride that changed angels into devils; it is humility that makes men as angels.
“ความยิ่งโยโสเปลี่ยนเทวดาให้เป็นปีศาจ ความสุภาพถ่อมตนทำให้คนเป็นเทวดา”
Love and then what you will, do.
“จงรักและทำสิ่งที่ท่านปรารถนาจะทำ”
จบไปแล้วอีก 1 คนนะครับ สำหรับ นักปรัชญาในสมัยโรมัน
ตอนหน้าจะขอพูดถึง 1 บุคคลที่ไม่ใช่นักปรัชญา แต่เป็นนักประวัติศาสตร์ คนสำคัญของโลก ผู้ จารึก เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์คนแรกของโลก
ที่มา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา