19 ก.ค. 2019 เวลา 12:46 • ธุรกิจ
ทำการบ้านหุ้น RPH รพ.ราชพฤกษ์
(ความลึกระดับ 1⭐)
คนขอนแก่นจะรู้ดีกว่าที่นี่คือ รพ.ที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ด้วยการตกแต่ง วัสดุ โทนสี ด้วยคำขวัญว่า ถึงกายป่วย แต่ใจไม่ป่วย
คำว่าใจไม่ป่วย นั้นยังรวมไปถึงบิลค่ารักษาพยาบาลที่ออกมาไม่ทำให้เครียดด้วย เพราะ RPH เป็นรพ.เอกชนที่คิดค่ารักษาต่ำที่สุดในบรรดารพ.เอกชนทั้งหมดในจ.ขอนแก่น
ภาพ rph.co.th
รพ.เอกชนในจังหวัดขอนแก่น มีทั้งหมด 3 ร.พ. คือ
1. ขอนแก่นราม (ลงทุนโดยเครือรพ.RAM)
มี capacity รองรับผู้ป่วยในได้มากสุด 240 เตียง
2. ราชพฤกษ์ ปัจจุบันขยายเป็น 171 เตียง
3 . รพ.กรุงเทพ ขอนแก่น ( BDMS มา take over ) มี 120 เตียง
ปล. นอกจากนี้มีคลีนิคนอกเวลาของรพ.รัฐ (รพ.ศรีนครินทร์)
เดิมที RPH มีเตียงรองรับผู้ป่วยได้แค่ 50 เตียง แต่ทันทีที่ย้ายมาเปิดตึกใหม่ ด้วยจำนวนเตียง 117 เตียงในเดือน ส.ค.61 ปรากฏว่าเต็มทันทีตั้งแต่วันแรก
ธ.ค.61 RPH ขยายจำนวนเตียงอีกครั้งเป็น 144 เตียง และไตรมาส 2 ปี 62 จะเพิ่มเป็น 171 เตียง
และยังมีห้องที่ furnish รอขยายให้เป็น 200 เตียงเอาไว้แล้ว
ภาพ rph.co.th
สโลแกนอีกอันของผบห.คือ คนไข้ไม่ใช่ลูกค้า หมอ พยาบาล ต้องเป็นอิสระ
ค่ารักษาของ RPH มุ่งหวังให้หายป่วยในราคาที่ย่อมเยาว์ ส่วนรายได้ตรวจของแพทย์จะไม่ถูกรพ.หักหัวคิว
การที่ค่ารักษาถูก จะได้กำไรอย่างไร ในเมื่อตึกใหม่ ก็ตกแต่งสวย ไหนจะค่าเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่อีก ?
การที่มีราคาถูก ทำให้ Volume ของคนที่มารักษา มีเยอะมาก จนทำให้ Occupancy Ratio ของ RPH สูงสุดในทุกร.พ.
ภาพ rph.co.th
ผู้บริหารบอกว่านี่คือ model แบบใหม่ที่ควรเอาไปใช้เป็นต้นแบบ เขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่ต้องทำราคาแพงก็กำไรได้ ด้วยยอดคนใช้บริการที่เพิ่มขึ้น
แนวทางการบริหารจะค่อนข้าง conservative อะไรที่ลงทุนสูงมากไป เช่น ศูนย์โรคหัวใจ RPH จะยังไม่ลงทุน แต่ใช้การส่งคนไข้ต่อไปยัง รพ. ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เป็นศูนย์โรคหัวใจอยู่แล้ว
ปัจจุบันค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเสื่อม แม้จะเพิ่มขึ้นมามากจากการลงทุนตึกใหม่ แต่ RPH ก็ยังคงไม่ขึ้นค่ารักษาไปจากเดิมมากนัก ปรับล่าสุด 3-5% ขึ้นมาเท่านัน
ภาพ rph.co.th
งบกำไร Q1/19 เห็นการเติบโตได้อย่างชัดเจน YoY เติบโตกว่า 60% เรียกได้ว่า phase ของการลงทุนหนักได้ผ่านพ้นไปแล้ว ตอนนี้กำลังเข้าสู่ช่วงแสดงผลประกอบการ
ปัจจุบัน market cap RPH อยู่ที่ราวๆ 3000 ล้าน ถือเป็นหุ้นรพ. small cap หน้าใหม่ ที่คนส่วนมากยังไม่ค่อยให้ความสนใจ
เอาล่ะเรามาลองทำการบ้านหุ้น RPH ด้วยกันตอนต่อไปครับ
1) คุณภาพ&ที่มาของรายได้และกำไรของบริษัท
รพ.มีรายได้มาจากผู้ป่วยสัดส่วน IPD : OPD ดังนี้ สังเกตุว่าพอมีการสร้างตึกใหม่ (ปิดตึกเดิม) รพ.สามารถรองรับคนไข้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะจำนวนเตียงที่มากขึ้น ทำให้สัดส่วน IPD เพิ่มขึ้นมาก
แต่อย่างไรก็ดี งบปี 2561 ยังไม่สะท้อนความเป็นจริงทั้งปีได้ทั้งหมด เพราะเปิดตึกใหม่ตอนเดือน ส.ค. สัดส่วน IPD : OPD เต็มปีจริงๆ อาจจะเพิ่มขึ้นก็ได้
รายงานประจำปี 2561
อัตราการเติบโตรายได้ของผู้ป่วยดีขึ้นทั้งคู่ แต่ IPD มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า จากปริมาณคนไข้ที่รองรับได้เยอะขึ้นใน 2561
ในงบปี 2561 สังเกตุที่สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเพิ่มขึ้นอยากมาก นั่นคือ ตึกและอุปกรณการแพทย์
รายงายประจำปี 2561
segment ของลูกค้า RPH นั้นมีตั้งแต่ระดับบน(A) ลงไปถึงระดับผู้มีรายได้ไม่มาก (C) ในขณะที่คู่แข่งอย่าง RAM , BDMS ขอนแก่นเน้นระดับ A&B เท่านั้น
นั่นอาจจะบ่งบอกได้ว่าความแน่นอนของรายได้ มี stability สูง เนื่องจากลูกค้าระดับล่าง ผู้มีงบจำกัด ต้องมาด้วยความจำเป็น คุณภาพรายได้ของ RPH จึงไม่ใช่กระแสแฟชั่นใดใด รวมไปถึงอนาคตการปรับเพิ่มค่ารักษาพยาบาลยังมี room ทำได้อีกเยอะมาก
แม้ว่าปริมาณเตียงของ RPH จะไม่ได้เยอะที่สุด (เป็นอันดับ2 รองจากของแก่นราม) แต่ Opccupancy Rate ของ RPH นั้นดีที่สุด
1
รายงานประจำปี 2561
2) ผู้บริหาร
สัดส่วนการถือหุ้นของ CEO ถือว่าเยอะเลยทีเดียว เชื่อใจได้ว่า wealth หลักของตระกูลอยู่ในรพ.แห่งนี้
นอกจากนี้ในรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งหมด จะมี 2 ตระกูลหลักๆ คือ ตระกูล"ศรีนัครินทร์" ของ CEO และตระกูล "เหล่าไพบูลย์"
รายงานประจำปี 2561
รายงานประจำปี 2561
ปัจจุบันรพ. RPH ยังไม่ได้มีการออกแถลงผลประกอบการใน OppDay จึงยากที่จะติดตามได้ทุกไตรมาส เท่าที่มีสัมภาษณ์ก็มีแต่ของรายการ Money Talk Weekly ตอนเดือน มิ.ย. 62 กับ ต.ค. 61
สิ่งที่เราพอจะตีความการทำงานของ CEO ได้ก็คือกำหนดการเปิดตึกนั้น เป็นไปตามแผนงานที่ตั้งไว้
ส่วนการตัดสินใจชะลอการลงทุนในเรื่องที่ไม่คุ้มค่า เช่น ศูนย์หัวใจ หรือ การ furnish 200 เตียงรอไว้แต่ยังไม่ซื้อเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว และอุปกรณ์ในห้อง ถือเป็นการใช้เงินลงทุนที่คุ้มค่า
CEO บอกว่าค่อนข้างระมัดระวังในการลงทุน ทุกอย่างที่ลงเงินไปต้องคุ้มค่าจริงๆ (เพราะ RPH ไม่ได้เก็บค่ารักษาแพง ต้องแน่ใจว่าคนใช้งานคุ้มจริงๆ)
คลิป youtube money talk weekly ที่สัมภาษณ์ CEO RPH
ที่ชอบที่สุดคือ ทันทีที่เปิดตึกใหม่เดือนส.ค. คนไข้เต็มทันทีในวันแรก เตียงไม่พอเลย
ซึ่งปกติแล้วรพ.ที่สร้างตึกใหม่ส่วนใหญ่ต้องขาดทุนกันไปก่อนอย่างน้อย 1-3 ปี เนื่องจากคนไข้ยังเพิ่มไม่ทันรายจ่ายที่แบกรับ
3) สถาณการ์ปัจจุบันและการเติบโต
เดือนธ.ค.61 มีการขยายเตียงเพิ่มเป็น 144 เตียง ส่งผลให้ปริมาณคนไข้ที่รับได้ใน Q1 เพิ่มขึ้น
ส่งผลให้รายได้ไตรมาส 1 ปี 62 เติบขึ้น
จาก 109ล -> 204ล
คิดเป็น revenue growth 87% เกือบเท่าตัว
ในขณะที่ต้นทุนกิจการโรงพยาบาล เพิ่มขึ้น
จาก 71ล -> 137ล
ในส่วนนี้การเพิ่มขึ้นของคชจ.ก็สูงขึ้นเกือบเท่าตัวด้วย
ส่งผลให้อัตราส่วนกำไรขั้นต้น(Gross Profit Margin) ลดลงนิดหน่อย
67.2/204.5 = 32.8%
จากเดิมปีที่แล้ว GPM
37.6/109.2 = 34.4%
งบกำไรขาดทุนไตรมาส 1 ปี 62
คชจ.การบริหารเป็นต้นทุนสำคัญอีกส่วน ที่เพิ่มเท่าตัว
14.2ล -> 28.7ล
บวกลบกลบกันแล้ว growth ของกำไรบรรทัดสุดท้ายเลยโตน้อยกว่า revenue growth
กำไร 19.1 ล -> 30.7 ล
คิดเป็น growth 60.7%
อาจจะบอกว่าได้ economy of scale ของ RPH ยังมาไม่เต็มที่ ต้องให้มีการเปิดใช้งานมากกว่านี้ เราถึงจะเห็น net profit growth% โตมากกว่า revenue growth
ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะต้นทุนค่าเสื่อมของตึกใหม่นั้นเพิ่มขึ้นมามากเหมือนกัน จาก 2.8ล -> 21ล
งบกระแสเงินสดไตรมาส 1 ปี 62
ตาม seasonal แล้ว Q1 & Q4 เป็นไตรมาสที่กลางๆของรพ.
high season คือ Q3 และ Low คือ Q2
จุดด้อย ณ ปัจจุบัน
เท่าที่มองดูก็คือ ความดีของ CEO ที่ยังไม่ปรับเพิ่มค่ารักษาโหดๆ แบบรพ.อื่นเขาเนี่ย อาจเป็นทั้งจุดด้อย ที่รายได้หลังจากเปิดเต็มครบ 200 เตียง ต่อไปจะโตช้าหรือเปล่า
นี่ก็เป็นทั้งจุดด้อย เป็นทั้งโอกาส ให้ปรับเพิ่มในอนาคต
ไว้มาติดตามการทำการบ้าน RPH ระดับ 2ดาว⭐⭐ ที่เราต้องประเมิณการเติบโตในอนาคตและราคาเหมาะสมกันครับ
ขอบคุณที่ติดตาม GMH Blockdit

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา