14 ก.ค. 2019 เวลา 02:32 • ธุรกิจ
BEEREE NOTE😇BEM
#ค่าโง่.. 100,000 ล้าน หรือต่อสัมปทาน 30 ปี
ค่าโง่ BEM 100,000 ล้านบาท...?!
โง่จริงหรือไม่?
หลังจากวันที่ 12 กค. 2562 มีแรงเทขาย BEM.กว่า 3,000 ล้านบาท หุ้น BEM ลงกว่า 3.64%. จาก 11 บาทเป็น 10.6 บาท
หลังข่าวแลกสัมปทานทางด่วน 30 ปี ของ BEM กับการยุติข้อพิพาทกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย มูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาทส่อเค้ายืดเยื้อ หลังมีส.ส.ยื่นเสนอญัตติด่วนให้ตั้งคณะกรรมาธิการสอบ ขุดเรื่องค่าโง่มาดูใหม่!
ค่าโง่คืออะไร
คำว่า “ค่าโง่” ณ ที่นี้ หมายถึง รายรับหรือรายจ่ายที่ไม่เป็นปกติของโครงการรัฐ จนทำให้ชาวบ้านทั่วไปรับฟังแล้วต้องโกรธ รับไม่ได้ แต่เกิดจริง จ่ายจริง และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ....
“ค่าโง่” แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ “ค่าโง่เงียบๆ” จ่ายไปเรื่อยๆไม่มีข่าวใหญ่โต หรือฟ้องร้องกัน และ“ค่าโง่สว่าง” ต้องเป็นข่าวใหญ่โต ฟ้องร้องกันแล้วจึงจ่ายกัน ...
ขออธิบายดังนี้....
แหล่งกำเนิดค่าโง่ต่างๆของโครงการที่เป็นลักษณะสัมปทานระยะยาวๆๆ หลายสิบปี
ทั้งไฟฟ้า ประปา ทางด่วน รถไฟ รถไฟฟ้า สนามบิน ...
....... โครงการของรัฐกลุ่มนี้เป็นการให้บริการสาธารณะที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยโน้น หน่วยนี้ มีภารกิจต้องทำ แต่ด้วยเหตุว่า ไม่มีทุน ไม่มีเทคโนโลยี ด้อยประสิทธิภาพ ก็เลยเปิดให้เอกชนมาร่วมทุนร่วมงาน (PPP ... Public Private partnership)
โดยทฤษฎีแล้วเป็นเรื่องดี และเป็นเครื่องมือทำให้พัฒนาได้เร็ว ....
..... แต่ๆๆๆ.... บ้านเราใช้วิธีเจรจาตกลงเบ็ดเสร็จทุกเรื่องล่วงหน้าแล้วกำหนดเป็นเงื่อนสัญญาแต่วันเริ่มต้น ในขณะที่หลายประเทศใช้สูตรคำนวนตามจริงแปรผันรายปี หรืออาจผสมกัน
“รากเง้าของค่าโง่” ถือกำเนิดจากดีลข้อตกลงล่วงหน้านี้เอง การเจรจาอนาคตอาจไกลถึง 30 ปี ระยะยาวมาก ซับซ้อนทั้งข้อกฎหมายและวิธีการแบ่งผลประโยชน์ ...
...... ที่เหนื่อยที่สุดก็คือ ขนาดโครงการใหญ่มาก ใช้ทุนสูง ทำให้คู่แข่งน้อยราย และคู่เจรจาฝ่ายเอกชนย่อมไม่ธรรมดา ....
1. ความใหญ่ของโครงการ
2. ระยะเวลาของสัญญาที่ยาวนาน
3. เอกชนน้อยราย
เป็นเหตุให้ ...
........ “ค่าโง่” จากต้นทุนทางการเงิน จึงเริ่มสอดใส่เข้ามาได้ตั้งแต่เริ่มเจรจาผ่านสมมติฐาน เงินลงทุนที่สูงกว่าปกติ ค่าใช้จ่ายดำเนินการที่มากกว่าปกติ (มักมาพร้อมเหตุผลของคำว่า เทคโนโลยี และมาตรฐานสากล)
...... พออัดฉีดด้วย อัตราดอกเบี้ยที่แม้มากกว่าจริงเพียงเล็กน้อย ด้วย 3 ปัจจัยนี้ ก็ทำให้ค่าโง่มากมายได้ คนที่เคยผ่อนบ้านผ่อนรถคงนึกภาพได้......
....... คนดีมีมากมาย แต่ในมุมธุรกิจ หากเอกชนมีหนทางที่จะเข้าถึงโครงการแต่แรกเริ่มได้ (Nursery Project) ค่าโง่ก็จะมาก นิ่ง และเงียบ ...
...... เรื่องรัฐประกันตวามเสี่ยงของรายได้/รายจ่ายของเอกชน ก็จะแปรเป็น “ค่าโง่” ได้มากและง่ายอีก อาทิเช่น สัญญาประกันรายได้ขั้นต่ำของเอกชน (Minimum Guarantee)
..... แนวจ่ายเต็มราคาขายทุกเม็ดแม้จะไม่ผลิตอะไร การกำหนดอัตราค่าบริการแบบเปิดเงื่อนไขให้เรียกเพิ่มสารพัด และการปรับเพิ่มอัตราค่าบริการที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงของบริการสาธารณะ หลายสัญญาให้เพิ่มทุกปีตามดัชนีผู้บริโภค หรือ CPI แต่ความจริง มีต้นทุนที่เคลื่อนเพียงบางส่วน และตาม CPI non food เท่านั้นไม่ใช่ทั้งหมด ท้ายสุดเจรจาประมาณรายรับต่ำเตี้ยติดดิน หาเงินชดเชยขาดทุนเป็นขวัญถุง......
....... เงื่อนสัญญาก็นำไปสู่ “ค่าโง่” เป็นไปได้ทั้งประเด็น ส่งมอบพื้นที่ช้าก็ได้ เปลี่ยนแปลงแบบก็ได้ เงื่อนไขการปฏิบัติระหว่างก่อสร้างและเวลาก็ได้ ได้ทุกเม็ดเลย
... ที่เห็นๆคือ การกำหนดเงื่อนไขไม่แข่งขัน ซึ่งทำได้ยากมากในการให้บริการสาธารณะของรัฐ
.... ท้ายสุดก็เป็นเรื่อง การต่อสัญญาเมื่อสิ้นสุดสัญญาเดิม อันนี้น่าจะ ค่าโง่ขั้นร้ายแรง เพราะสัญญาล้วนเป็นการลงทุนทางด้าน Infrastructure เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ตลอดสัญญาจนอิ่มแล้ว
.... วันที่หมดสัญญา ... รัฐน่าจะให้ชาวบ้านใช้กันฟรี หรือเก็บถูกๆ แต่ปล่อยให้ต่อสัญญา เก็บเท่าเดิม โตเท่าเดิม นานเท่าเดิม....
... อันนี้แหล่ะ ของจริง ...
เอกชนเอาประเด็นมาฟ้องรัฐเป็นรายประเด็น เสียหายโน่น นี่ นั่นมากมายกายกอง ... สัญญา PPP ตกลงกันภายใต้ เงื่อนไข และสมมติฐานมากมายนับสิบรายการที่ผูกกัน ได้ก็เยอะ เสียก็มี
... รัฐต้องสู้ ต้องพิสูจน์ ว่า สัญญานั้นๆ เอกชนไม่ได้เสียหาย กำไรเยอะแยะ โคตรรวยแบบไม่พอกัน
... เอกชน แหวกเอาเฉพาะบางประเด็นมาฟ้องกัน จริงๆไม่ใช่ผู้เสียหายในสัญญา
... รัฐสู้ เป็นรายประเด็นก็แพ้สิ
... หรือจะเรียกว่า "รัฐ" ว่า "ไม่รู้? "ก็ได้...
โฆษณา